เคยสงสัยไหมว่า อะไรคือพระธรรม พระธรรมมีเอาไว้ทำไม พระพุทธเจ้าทำไมต้องแสดงพระธรรม เราก็ต้องย้อนกลับไปในอดีตเมื่อ ๒,๐๐๐ กว่าปีก่อน เริ่มต้นจากการมีชีวิตอยู่ของสรรพสัตว์ยุคนั้น จะพิจารณาได้จากการเมืองการปกครอง การแบ่งแยกชั้นวรรณะ ชนเผ่า และสีผิวของบุคคล แบ่งแยกออกเป็น ๔ ประเภท คือ
กษัตริย์ มีหน้าที่ปกครองแผ่นดิน บ้านเมือง
พราหมณ์ มีหน้าที่อบรมสั่งสอนไตรเพท และคัมภีร์คำสั่งสอนของศาสนา รวมทั้งจารีตประเพณี และบางทีบางครั้งก็ทำการปกครองบ้านเมืองด้วย
แพศย์ มีหน้าที่ทำการติดต่อค้าขายกับธุระเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับเกษตรกรรม
ศูทร มีหน้าที่รับจ้างเป็นแรงงาน
และ มีอีกชนชั้นที่เรียกว่า จัณฑาล ที่พ่อกับแม่ต่างวรรณะกันสมสู่กัน ออกลูกมา ถือว่าเป็นคนที่สังคมไม่ยอมรับ เป็นคนชั้นต่ำ เป็นกาลกิณี และไม่จัดเป็นพวกของประเทศ
เมื่อพระศาสดาทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศพระศาสนา อันดับแรกพระองค์เพียงเพื่อจะบอกต่อผู้คนชนทั้งหลายในขณะนั้นว่า การเกิดเป็นทุกข์ การแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ไม่สบายและพลัดพรากจากของรักเป็นทุกข์ และสุดท้ายความตายเป็นทุกข์ แล้วพระองค์ก็ทรงชี้ให้เห็นเหตุแห่งทุกข์ว่ามีอยู่ เกิดขึ้นด้วยอวิชชาคือความไม่รู้ ทรงชี้ทางดับทุกข์ว่ามีอยู่จริง คือถ้าจะดับทุกข์ก็ต้องดับที่เหตุคือทำให้วิชาเกิด อวิชชาก็จะดับ แล้วทรงบอกวิถีแห่งพุทธะคือมรรควิถี หรือข้อปฏิบัติ ๘ อย่าง ได้แก่
ทำความเห็นของตนให้ตรงและถูกต้อง เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
ดำริชอบ ดำริจะพ้นทุกข์ เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
เจรจาชอบ คือเจรจาเพื่อทำให้เกิดความสะอาด ฉลาด สงบ เรียกว่า สัมมาวาจา
การงานชอบ คือการงานที่ทำให้เกิดความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม เรียกว่า สัมมากัมมันตะ
เลี้ยงชีวิตชอบ คือประกอบอาชีพสุจริต โดยไม่คิดเบียดเบียนตนและคนอื่นให้เดือดร้อน เรียกว่า สัมมาอาชีวะ
ความเพียรชอบ คือเพียรละชั่ว เพียรทำดี เพียรทำจิตให้ผ่องใส เรียกว่า สัมมาวายามะ
ความระลึกชอบ คือระลึกที่จะรู้จักตัวเอง ระลึกที่จะเข้าใจตัวเอง แจ่มแจ้งในตัวเอง
เพื่อความไม่หวง ไม่ปรุง ไม่ยึดติด ไม่ตกเป็นทาส เรียกว่า สัมมาสติ
สมาธิ ชอบ อาจมีคำถามว่าถ้าถึงคำว่าสมาธิแล้ว ทำไมต้องมีคำว่า สมาธิชอบและสมาธิไม่ชอบ สมาธิชอบ คือสมาธิที่ทำให้เกิดปัญญา สมาธิที่อยู่ในวิถีแห่งพุทธ สมาธิที่ยังให้เกิดประโยชน์แก่ตนและคนทั้งหลาย เรียกว่าสัมมาสมาธิ ส่วนสมาธิมิชอบ คือสมาธิที่ให้เกิดสัญญา สมาธิที่เกิดแล้วไม่นำผู้เป็นเจ้าของเข้าสู่วิถีพุทธะ
สมาธิมิชอบ เป็นสมาธิที่อาจได้ประโยชน์ตน แต่คนอื่นเดือดร้อนก็ได้ เรียกว่ามิจฉาสมาธิ เช่นโจรตั้งใจปล้น และก็ปล้นได้สำเร็จ ที่สำเร็จได้ก็เพราะโจรมีสมาธิ หมอไสยศาสตร์ใช้สมาธิเสกวัตถุให้ทำร้ายผู้อื่นสำเร็จเช่นนี้ก็ถือว่าเป็นผล มาจากมิจฉาสมาธิ
ครั้นเมื่อพระบรมศาสดาทรงแสดงให้เห็นทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ทางพ้นทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์แล้ว พระองค์ยังทรงมีพระมหากรุณาที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ทุกตน คนทั้งหลาย ด้วยการแก้การปกครองและความเชื่อที่มีมาแต่โบราณแบบผิดๆในเรื่องของการแบ่ง ชนชั้นวรรณะ ตัวอย่างเช่น ถ้าหากพวกกษัตริย์และพราหมณ์เดินมา พวกศูทรและพวกแพศย์จะไปมองหน้าไม่ได้ ถ้ามองหน้าก็จะโดนควักลูกตาทิ้ง เพราะถือว่าลบหลู่เบื้องสูง ต้องก้มหน้ามองได้แต่เท้าเท่านั้น พวกแพศย์พวกศูทรเดินผ่านมา พวกจัณฑาลจะเดินสวนทางไม่ได้ จะต้องเดินหลบไปเสียข้างหนึ่งหรือไม่ก็หยุด ต้องลงไปแอบข้างทาง แล้วทำความเคารพ เราจะเห็นว่ามีการแบ่งแยกชนชั้นวรรณะ อย่างชนิดเหยียดหยามศักดิ์ศรีของความเป็นคน
เมื่อพระพุทธเจ้าทรง ประกาศพระศาสนา อันดับแรกพระองค์เพียงมุ่งหวังให้สรรพสัตว์อยู่ร่วมกันอย่างสันติ อยู่ร่วมกันอย่างชนิดที่เกื้อกูลการุณย์ อนุเคราะห์ อุปถัมภ์ค้ำชูต่อกันและกัน โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ เมื่อเป็นดังนั้นพระองค์มุ่งหวังจะแก้กฎเกณฑ์ของสังคมที่เขานิยมยกย่องกัน ว่า เหยียบย่ำคนต่ำ ยกย่องคนสูง ชมชอบคนขาว ปฏิเสธคนดำ เมื่อพระองค์ทรงประกาศพระศาสนาไปพร้อมกับทรงประกาศอุดมการณ์และความเชื่อใน การอยู่ร่วมกันอย่างไม่เบียดเบียนกัน เป็นนโยบายคำสอนของพระศาสนาอันดับแรกเลย ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มาจากต่างที่ ต่างถิ่น ต่างชั้น ต่างวรรณะ ไม่ว่าจะมาจากกษัตริย์ มาจากพราหมณ์ มาจากแพศย์ มาจากศูทร หรือมาจากจัณฑาล เมื่อเข้ามาอยู่ในศาสนานี้ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มาด้วยการไขว่หาพระธรรม มีธรรมเป็นเครื่องอาศัย ถือว่าเสมอภาคกันโดยพระธรรมที่ตนปฏิบัติได้
จะเห็นว่าพระองค์ทรง ประกาศพระศาสนา เพื่อจะปลดเปลื้องความเดือดร้อนและทุกข์ภัยของสรรพสัตว์ในยุคนั้นอย่างแท้ จริง ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นใด เมื่อเข้ามาอยู่ในศาสนานี้แล้วไซร้ จะไม่มีการแบ่งแยกสี เผ่า และวรรณะ พวกแพศย์ พวกศูทร พวกจัณฑาล ที่เคยตกเป็นทาสของกษัตริย์และพราหมณ์ เมื่อเข้ามาบวชแล้วก็ไม่ต้องเป็นทาสใคร กษัตริย์และพราหมณ์ที่เคยใช้แพศย์ ศูทร และจัณฑาล เป็นขี้ข้าต่างวัวควายนั้น เมื่อเข้ามาบวชอยู่ในศาสนธรรมนี้แล้ว ก็ทำเช่นนั้นไม่ได้ ต้องยอมรับกันโดยเหตุปัจจัยในพระธรรมของตน ซึ่งต่างจากลัทธิและศาสนาอื่นๆ ซึ่งมีถึง ๖๐๐ กว่าลัทธิ ก็ยังยึดถือวรรณะเป็นเกณฑ์ แต่มีศาสนาเดียวในยุคนั้นที่ไม่ยึดถือวรรณะแต่ยึดถือธรรมะ ก็คือศาสนาแห่งพระสมณโคดม
เพราะฉะนั้นหลวงปู่จึงพยายามทำความเข้าใจใน วิญญาณและชีวิตของพระศาสดาที่พระองค์ทรงประกาศพระศาสนา เพื่อให้ศาสนธรรมซึมเข้าไปในหัวใจของสรรพสัตว์ เพื่อจะให้สรรพสัตว์อยู่ร่วมกันโดยสันติ สามัคคีเป็นหนึ่งเดียว และต้องเคารพในธรรมซึ่งกันและกันโดยธรรม โดยไม่แบ่งแยกว่า จะเป็นใครจะมาจากไหน ตระกูลอะไร เกียรติยศระดับใด ยากดีมีจนเสมอกันหมดด้วยพระธรรม
ดูตัวอย่าง "พระมหานามะ" ที่เป็นสุขุมาลชาติ เป็นชาติกษัตริย์ โดยโคตรฝ่ายแม่สมบูรณ์ ฝ่ายพ่อก็บริสุทธิ์ มีความศรัทธาปรารถนามาบวช จึงชวนราชกุมารที่ร่วมอุดมการณ์ พร้อมด้วยคนรับใช้ผู้มีศรัทธาที่คอยจัดเสื้อผ้า ให้มาบวชด้วย เมื่อถึงตอนเข้าบวช ราชกุมารทั้ง ๖ องค์ กลับปฏิเสธที่จะบวชก่อน แต่ให้นายภูษามาลาการที่เป็นขี้ข้าต่ำกว่าตนบวชก่อน ดังนั้น ความที่มีใจคิดที่จะปลดเปลื้องความหยิ่งผยอง ทรนง ยโส โอหัง มานะอวดดี ของ ราชกุมาร พระมหานามะจึงให้นายภูษามาลาการซึ่งมีนามว่า "อุบาลี"ได้บวชก่อน
เมื่อ บวชแล้วท่านผู้นี้เป็นผู้ทรงจำพระวินัยได้อย่างยอดเยี่ยม ได้รับการเคารพกราบไหว้จากมหาชนคนทั้งหลาย แม้ว่าท่านอุบาลีเดิมจะเป็นเพียงคนรับใช้ของพระมหานามะ แต่เมื่อบวชเข้ามาแล้ว พระมหานามะต้องมากราบในฐานะที่ท่านเป็นผู้เฒ่าเป็นผู้อาวุโสโดยธรรม เพราะมีอายุในพระศาสนาก่อนตน
เพราะฉะนั้น ผู้ที่บวชเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นไพร่ฟ้า ข้าราชแผ่นดิน คหบดี เศรษฐี ยาจก หรือพระเจ้าจักรพรรดิจอมราชันย์ เมื่อบวชเข้ามาแล้ว ก็มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีความเสมอกันด้วยธรรมวุฒิ คือมีคุณวิเศษในเรื่องของพระธรรม
พระธรรมไม่สามารถจะมาแจกแจง แสดงออกมาเป็นข้อๆ เป็นเรื่องเป็นราวได้ เหตุผลก็เพราะ พระธรรมคือทั้งหมดของชีวิตที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ มากไปด้วยสรรพประโยชน์
รวม ความแล้วพระธรรม คือ ความหมายของความสำเร็จ คือ ความหมายของส่วนดีๆ ทั้งหลาย คือ ความหมายของหน้าที่ที่สมบูรณ์ คือ ความหมายของแก้วสารพัดนึก พระธรรมเป็นเครื่องยังให้เกิดประโยชน์สุขได้ทุกโอกาส พระธรรมเป็นเครื่องทำให้เกิดชัยชนะ สามารถทำให้กำจัดความโง่เขลา พระธรรมทำให้เรากลายเป็นคนขาวสะอาด พระธรรมทำให้บุคคลที่เข้าถึงมันนั้นได้กลับกลายเป็นยอดมนุษย์ซุปเปอร์แมน และเป็นบุคคลที่สุดวิเศษ ในสายตาสังคมโลก เป็นเอกบุรุษ พระธรรมเป็นสิ่งที่ทำลายความเลวร้ายทั้งปวง และทำให้สิ่งดีๆฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาได้ พระธรรมมีเอาไว้สนับสนุนให้เราทำอะไรที่อยู่รอบข้างให้เต็มไปด้วยความมี ประโยชน์สูงและหยัดสุด ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ คือคุณสมบัติของพระธรรม
พระ ธรรมจึงเป็นสุดยอดของความวิเศษพิสดารที่ไม่อาจปฏิเสธได้ พระธรรมมีค่ามากกว่าแก้วทั้ง ๖ ประการ คือ จักรพรรดิแก้ว นางแก้ว ม้าแก้ว ช้างแก้ว คฑาแก้ว และราชรถแก้ว พระธรรมมีค่าสูงสุดในชีวิตโลกและจักรวาล ถึงขนาดมีคนกล่าวขานแสวงหา และเอาทรัพย์สินศฤงคารมากมายนานัปการมาแลกกับพระธรรม
ตัวอย่าง เช่น อนาถบิณฑกะเศรษฐี คือ มหาเศรษฐีของเมืองพาราณสี แคว้นมคธนั้น ได้สละทรัพย์สมบัติทั้งหมดที่มี ซึ่งเป็นพันโกฏิ เป็นหลายพันเล่มเกวียน แก้ว แหวน เงิน ทอง เพชร นิล จินดา ช้าง ม้า วัว ควาย ที่เรือกสวน ไร่นาทั้งหลาย ถวายให้แก่พระศาสนา สร้างวัดพระเชตวันมหาวิหาร เขาว่ากันว่า วัดนี้ใหญ่กว่าวัดที่พระเจ้าพิมพิสาร ทูลถวายต่อสมเด็จพระศาสดาเสียด้วยซ้ำ เพื่อจะแลกกับประโยคของคำว่า
"ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ถึงธรรมที่ พระองค์ได้ถึงแล้ว" นี่คือคำอธิษฐานของอนาถบิณฑกะเศรษฐี ที่นำทรัพย์ทั้งหมดแลกกับพระพุทธเจ้า เพื่อให้ได้ถึงพระธรรม เพื่อปฎิบัติธรรม อันเป็นสุดยอดของความปรารถนา
ไม่เพียงแต่มหาเศรษฐี อย่างอนาถะบิณฑิกะเท่านั้นที่ต้องการถึงธรรม แม้แต่คนตกอับ ยากจนข้นแค้น เวลาทำบุญสุนทาน ก็มักจะอธิษฐานว่า "ขอให้ถึงซึ่งธรรม ที่พระองค์ทรงถึงแล้ว"
ตัวอย่างเช่น ครั้งหนึ่ง องค์สมเด็จพระศาสดาสัมมาสัมพุทธะ พระองค์ทรงเล็งทิพย์จักษุตรวจสรรพสัตว์ก่อนจะออกบิณฑบาต หรือภิกขาจาร พระองค์ทรงทราบว่า จะมีนางทาสีคนหนึ่งซึ่งเป็นทาสของเศรษฐี กำลังจะออกไปทำสวนทำนา นางผู้นี้ฐานะยากจนข้นแค้นมาก แต่นางมีอุปนิสัยพร้อมที่จะเห็นธรรม บรรลุธรรม เข้าใจในพระธรรมส่วนหนึ่ง แล้วนางก็จะต้องตายภายในวันนี้ พระพุทธองค์จึงตั้งใจเสด็จออกไปเพื่อโปรดนาง
ดัง นั้น องค์สมเด็จพระชิณสีห์พระสุคตเจ้า พระผู้พิชิตมารได้ทั้งสิบทิศ จึงเสด็จออกบิณฑบาตเบื้องหน้าของหญิงยากจนคนนั้น แล้วก็ยืนนิ่งสงบ เหมือนกำลังรอรับบาตร ฝ่ายนางทาสีออกจากบ้านเศรษฐียามเช้ามืดเพื่อไปทำนา เมื่อเดินมากลางทางก็พบกับพระพุทธเจ้ายืนขวางทางอยู่ตรงหน้าด้วยอาการสงบ สำรวม นางได้แลเห็นแสงฉัพพรรณรังสี คือ สีกายของพระพุทธเจ้าสว่างไสว เป็นที่เจริญตา เจริญใจ ยังให้เกิดศรัทธา
นางจึงหันรีหันขวาง หันซ้ายหันขวา มองหาของที่จะถวาย ในมือก็มิได้มีอะไรติดมา ยกเว้นน้ำเต้าที่บรรจุน้ำ นางนึกขึ้นได้ว่านางมีอาหารอยู่หนึ่งมื้อ และก็เป็นมื้อสุดท้ายในวันนี้ คือแป้งจี่ ที่ทำด้วยรำหยาบผสมกับข้าวสาลีหยาบ ซึ่งนางเหน็บไว้ที่ชายพก ด้วยความศรัทธาในพระศาสดาพระสุคตเจ้า นางถึงขนาดปลดชายพกเอาแป้งจี่ออกมา ถวายพระศาสดา แล้วก็อธิษฐานว่า
"ขอข้าพเจ้าจงถึงธรรม ซึ่งพระองค์ได้ทรงถึงแล้ว"
นี่แหละแม้แต่คนอนาถาอดอยาก ยังนำอาหารมื้อสุดท้ายของวันนั้น ทำบุญถวาย เพื่อให้ได้ถึงพระธรรม
แต่ คนสมัยนี้ทำบุญไม่ได้มุ่งหวังพระธรรม กลับมุ่งหวังแต่สิ่งที่อยู่ต่ำๆ กว่าพระธรรม เช่น เจ้าประคู้ณ ขอให้เลขเด็ด ๆ สักทีเถอะน่า ...งวดนี้ขอให้ถูกสักสองตัวเถอะน่า ขอให้ได้อะไรสักหน่อยเถอะน่า... ขอให้ทำมาค้าขึ้นเถอะน่า... ขอให้ได้มีรถ มีบ้านมีเรือนเถอะน่า... ขอให้ได้มีครอบครัวที่เป็นสุขสบายเถอะน่า... ขอให้มีบริวารชายหญิงที่มั่งคั่งสมบูรณ์เถอะน่า... อะไรอย่างนี้ รวมความแล้ว ก็กลายเป็นว่าหนอนขี้หวังที่จะได้ขี้เพิ่มขึ้น
ที่ต้อง พูดอย่างนี้ เพราะคนเดี๋ยวนี้ไม่รู้ตัวเองหรอกว่า ตัวเองกำลังตกอยู่ในหลุมขี้และมูตรคูถที่มากไปด้วยความสกปรกโสโครกและโสมม สับสน และวุ่นวาย ไม่รู้ว่าตัวเองตกเป็นทาสของความเลวร้าย ต้องบอกว่า เป็นทาสของโลกธรรม ๘ ประการ คือ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ สุข ทุกข์ นินทา และสรรเสริญ
เพราะฉะนั้น คนสมัยนี้จึงทำบุญเพียงเพื่อหวังโลกธรรม ไม่ได้มุ่งหวังจะให้ถึงธรรม ปฏิบัติธรรม และเจริญในพระธรรม ผิดกับสมัยก่อนที่คนทำบุญสุนทานกันมากมายมหาศาล ก็เพียงเพื่อปฏิบัติธรรมให้เกิดธรรม แสดงว่าคนโบราณนั้นเป็นคนที่กลัวมัจจุราช ทั้ง ๔ คือ กลัวเกิด กลัวแก่ กลัวเจ็บ แล้วก็กลัวที่จะตาย แต่คนยุคนี้ไม่กลัวเกิด เกิดได้มากยิ่งดี ไม่กลัวจะเจ็บ เพราะมียามหาศาลอย่างดี มากมายที่จะเลือกสรรมาให้ใช้ และไม่กลัวที่จะตาย ถามว่าทำไมไม่กลัวตาย ก็เพราะว่าเขาไม่ได้คิดว่า ทำอย่างไรถึงไม่ให้ตาย เขาคิดว่า ขอให้มีชีวิตอยู่ แล้วขอให้สบายก็ใช้ได้
สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมัยที่พระองค์เป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นผู้มั่งคั่งมากมีไปด้วยทรัพย์สินศฤงคาร แต่พระองค์ก็กลัวการเกิด แทนที่คนที่มีทรัพย์สินมาก มีบริวารมาก มียศมาก มีเกียรติภูมิมาก มีศักดิ์ศรีมาก มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ มีครอบครัวมหาศาล คำว่า "ครอบครัวมหาศาล" คือ มากและแวดล้อมด้วยบริวาร ที่เต็มเปี่ยมและอบอุ่น พระองค์ยังกลัวที่จะเกิด และพระองค์ก็เบื่อหน่ายกับครอบครัวมหาศาล
ส่วนคนสมัยนี้คิดว่า การเกิดเป็นเรื่องดีและก็พากันจมปลักเหมือนหนอนขี้อย่างที่ว่าไปแล้ว หลวงปู่จะเล่าเรื่องชีวิตของหนอนขี้ให้ฟัง
เรื่อง มีอยู่ว่า ชายสองคนเป็นเพื่อนซี้กัน คนหนึ่งชอบทำบุญ แต่อีกคนไม่ชอบทำแถมยังชอบขัดเพื่อนว่า ทำบุญไปทำไม ทำบุญเสียเปล่า ไหว้เจ้าดีกว่า อย่าทำเลย หรือเวลาเพื่อนจะทำทาน ก็ขัดอีกว่า ให้ทำไม เอาเงินไปซื้อเหล้ากินดีกว่า เพื่อนจะไปทอดผ้าป่าถวายทาน อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ ก็เปรยว่า เพื่อนเอ๋ย ทำไปทำไม เสียหายไม่ได้ประโยชน์ อะไรทำนองนี้
เมื่อทั้งสองคนตายไป ไอ้คนที่มุ่งหวังจะทำแต่บุญนั้น ก็ได้ไปเกิดเป็นเทวดา ฝ่ายเพื่อนที่คอยขัด ไม่ให้เพื่อนทำดี และตัวเองก็ไม่ได้ทำดี ก็เกิดเหมือนกัน แต่เกิดเป็นหนอน ที่อยู่ในหลุมขี้
ฝ่ายเทวดาเพื่อนซี้ เมื่อตัวเองได้อัตภาพที่สุขสบาย ก็คิดว่า เราได้อัตภาพที่ดีอย่างนี้ ก็เพราะเราทำดี เราทำบุญ เราปรารภเรื่องบุญ เราจึงมีอัตภาพอันสุขสบาย เอ...แล้วก็เพื่อนเรามันเกิดที่ไหนล่ะ สวรรค์ทุกชั้นเราไปดูมาหมด ก็ไม่เห็นมีเพื่อนเราสักคน ส่วนที่หน้าไม่เหมือนมนุษย์ก็ไปดูมาแล้ว ไม่เห็นมีเลย เทวดาตามหาเพื่อนจนทั่วแผ่นดิน ทั่วโลก ทั่วจักรวาล ก็ไม่เจอเพื่อน จนเหนื่อย สุดท้ายก็มาหยุดพักอยู่ชายทุ่ง เห็นชาวบ้านวิ่งเข้าวิ่งออกอยู่ในพุ่มไม้ ก็เดินย่องไปดูว่าเขามาทำอะไรกัน พอเห็นก็อุทานว่า
"อ้าว! นี่มันหลุมขี้" เอ๊ะ...หรือเพื่อนเราจะอยู่ในหลุมขี้ ทิพยเนตรเราจึงส่องไม่ถึง คิดแล้ว ก็เลยตะโกนเรียกเพื่อน
"ไอ้เกลอ...อยู่ในหลุมขี้รึเปล่า" ฝ่ายเจ้าหนอนขี้ได้ยินเสียงเพื่อนก็จำได้ ร้องตอบว่า
"ยู้ฮู...กูอยู่นี่"
เทวดา ก็แปลกใจ อ้าว! แล้วกัน เพื่อนเรากลายเป็นหนอนขี้ไปเสียแล้ว เทวดาผู้ใจอารีจึงแปลงกายเป็นแมลงวันบินหึ่งอยู่แถวหลุมขี้ แล้วก็ถามสารทุกข์สุขดิบว่า "เป็นไงเพื่อนสบายดีเรอะ"
ฝ่ายเจ้าหนอนขี้ก็ยิ้มแบบภาคภูมิยินดี แต่ก็ทำเป็นนิ่งเฉยไม่ตอบ เพื่อนถามครั้งที่สอง...ครั้งที่สาม ก็เลยบอกไปว่า
"พอ ทนว่ะ เอ็งล่ะ สบายดีไหม" หนอนขี้ถามเทวดา เทวดาก็ดีใจที่หนอนขี้ถาม จึงบรรยายถึงวิมานสวรรค์ และทิพยสมบัติที่ตนมี อย่างภาคภูมิใจ คือ จะคุยอวดหนอนขี้ ให้รู้ว่า สภาพที่เป็นเทวดา มันสุขสบายสมบูรณ์ แบบนึกอะไรก็ได้ คิดอะไรก็ได้...ปุ๊บ เปิดปุ๊บ-ติดปั๊บไปทุกอย่าง
ฝ่ายเจ้าหนอนขี้ได้ฟังดังนั้น จึงร้องบอกว่า
"เฮ้ย! กระจอก สู้ข้าไม่ได้ ข้าไม่ต้องเปิดก็ติด ไม่ต้องนึกก็ได้ ถึงเวลาเขาก็เอามาหย่อนให้กิน ข้าจะกินเปรี้ยว กินหวาน กินมัน กินเผ็ด พร้อมสมบูรณ์แบบ นอนนั่งอยู่ในอาหารชั้นเลิศ" หนอนขี้คุยโอ่
เทวดาตั้งใจจะชวนให้เพื่อนหลุดจากหลุมขี้ แต่เพื่อนไม่ยอมฟัง มันบอกว่าของมันดีอยู่แล้ว ของมันสุขสบายแล้ว
เห็น ไหมว่า คนยุคนี้ ก็เปรียบดั่งหนอนขี้ ที่คิดว่าอัตภาพของตนดีแล้ว ไม่ขวนขวายให้สูงกว่านี้แล้ว เวลาจะทำบุญก็ภาวนาว่า "เจ้าประคู้ณ...งวดนี้ขอให้ได้เลขเด็ด เจ้าประคู้ณ...ขอให้ลูกสอบได้ เจ้าประคู้ณ...ขอให้ชีวิตยืนยาว เจ้าประคู้ณ...ขอให้ขายของได้เยอะๆ ขอให้บริษัทร่ำรวย" อะไรประเภทนั้น ไม่มีใครอธิษฐานว่า "เจ้าประคุ้ณ ขอให้ข้าพเจ้าได้ถึงธรรมที่ท่านได้ถึงแล้ว" ไม่มี...
เมื่อไม่ได้มุ่ง หวังธรรม ไม่ได้ปรารภธรรม อธรรมก็เจริญรุ่งเรือง นักบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาก็มุ่งหวังแค่เพียงว่า เมื่อแสดงธรรมเขาไม่ฟัง ก็แสดงสิ่งที่เป็นอธรรม เช่น โฆษณาประกาศว่าหลวงพ่อรุ่นนี้ รุ่นรวยไม่เลิก แต่คนซื้อมาแขวนแล้ว เจ๊งไม่เลิก ไอ้ที่เลิกก็คือ คนขาย ที่เลิกไปแล้ว เพราะมันรวย แต่ไอ้คนซื้อน่ะ มันเจ๊งไม่เลิก
เรื่องอธรรมนี้ พระศาสดาทรงตรัสกับพระกัสสปะ ว่า
"ดู ก่อน กัสสปะ คราวใดที่อธรรมเจริญรุ่งเรือง ธรรมก็ย่อมเสื่อมทรามลง คราวใดที่ธรรมเจริญรุ่งเรือง อธรรมก็ย่อมต่ำลง เมื่อใดที่ภิกษุ พุทธบริษัท ยกย่องเถระ พระผู้เฒ่าองค์ใดที่ได้ชื่อเสียง ได้เกียรติภูมิ ได้ลาภ สักการะ จากการแสดงอธรรม ผู้คนทั้งหลาย ก็จะพากันยอมรับว่า อธรรมเป็นเรื่องปกติ อธรรมเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ และนับถืออธรรมเป็นพระศาสดาต่อไป"
ซึ่งเวลานี้มันก็เป็นอย่างนั้นแล้ว ผู้คนไปเคารพศรัทธาพระ หรือนักบวช ในศาสนาที่ทำหน้าที่แสดงอธรรม แล้วก็ยกย่องว่าเป็นความถูกต้อง
แต่อธรรมคือ สิ่งที่ไม่ใช่ธรรม ในเมื่อไม่ใช่ธรรม มันก็ต้องโดนเขากระทำเรื่องร้ายๆต่อไปเรื่อยๆไม่จบสิ้น
โดย สรุปแล้ว ถ้าตราบใดที่เราคุยกับคนอื่นว่าเรามีพระธรรม แต่ยังทำอะไรที่เลวร้ายอยู่ตลอดกาล ยังเป็นคนเกียจคร้านสันหลังยาว ยังทำตัวเองเป็นคนทรนง จองหอง อวดดี ไม่ยอมรับเหตุและผลของใครละก็ แสดงว่าเรายังไม่มีพระธรรม ไม่เข้าใจพระธรรม
และถ้าเราใช้อะไรที่มันสุรุ่ยสุร่าย ไม่ใช้มันอย่างคุ้มค่าและเต็มไปด้วยความประหยัด แสดงว่าเราไม่เข้าใจพระธรรม
ถ้าที่ไหนยังมีความคิดแตกแยก มีความเห็นไม่ลงรอย มีความเข้าใจไม่ถูกต้อง จงรู้เถิดว่าคนเหล่านั้นไม่เข้าใจพระธรรม ไม่รู้จักพระธรรม
ถ้า บ้านเมืองใด ประเทศใด วัดใด ยังมีความเห็นเป็นนานาความเห็นอยู่ คือความเห็นที่ไม่กลมเกลียวสมัครสมานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันได้ ก็ถือว่าบ้านนั้น เมืองนั้น ประเทศนั้น วัดนั้น ยังไม่มีพระธรรม
ที่ ผ่านมานี้ก็เป็นการแสดงออกให้เราได้รู้ว่า เราอยู่กันอย่างไม่มีพระธรรม พูดเช่นนี้ก็มิได้หมายถึงจะบังคับให้ทุกคนเห็นเหมือนกัน คิดเหมือนกัน ทำเหมือนกัน เช่นนี้ก็มิใช่ แต่เพราะพระธรรมเป็นกระบวนการทำความเห็นให้ตรงและถูกต้อง ตามความเป็นจริง ก็ในเมื่อทุกคนมีความเห็นที่ถูกต้อง ตามความเป็นจริงแล้ว จะไม่มีใครทำผิด พูดผิด คิดผิด ต่อกันและกัน ทุกคนก็จะตั้งมั่นอยู่ในความถูก ตรง และซื่อสัตย์ต่อกัน ไม่ล่วงเกินก้าวก่ายในสิทธิของกันและกัน สังคมก็จะมีแต่ความสงบร่มเย็น
กษัตริย์ มีหน้าที่ปกครองแผ่นดิน บ้านเมือง
พราหมณ์ มีหน้าที่อบรมสั่งสอนไตรเพท และคัมภีร์คำสั่งสอนของศาสนา รวมทั้งจารีตประเพณี และบางทีบางครั้งก็ทำการปกครองบ้านเมืองด้วย
แพศย์ มีหน้าที่ทำการติดต่อค้าขายกับธุระเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับเกษตรกรรม
ศูทร มีหน้าที่รับจ้างเป็นแรงงาน
และ มีอีกชนชั้นที่เรียกว่า จัณฑาล ที่พ่อกับแม่ต่างวรรณะกันสมสู่กัน ออกลูกมา ถือว่าเป็นคนที่สังคมไม่ยอมรับ เป็นคนชั้นต่ำ เป็นกาลกิณี และไม่จัดเป็นพวกของประเทศ
เมื่อพระศาสดาทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศพระศาสนา อันดับแรกพระองค์เพียงเพื่อจะบอกต่อผู้คนชนทั้งหลายในขณะนั้นว่า การเกิดเป็นทุกข์ การแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ไม่สบายและพลัดพรากจากของรักเป็นทุกข์ และสุดท้ายความตายเป็นทุกข์ แล้วพระองค์ก็ทรงชี้ให้เห็นเหตุแห่งทุกข์ว่ามีอยู่ เกิดขึ้นด้วยอวิชชาคือความไม่รู้ ทรงชี้ทางดับทุกข์ว่ามีอยู่จริง คือถ้าจะดับทุกข์ก็ต้องดับที่เหตุคือทำให้วิชาเกิด อวิชชาก็จะดับ แล้วทรงบอกวิถีแห่งพุทธะคือมรรควิถี หรือข้อปฏิบัติ ๘ อย่าง ได้แก่
ทำความเห็นของตนให้ตรงและถูกต้อง เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
ดำริชอบ ดำริจะพ้นทุกข์ เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
เจรจาชอบ คือเจรจาเพื่อทำให้เกิดความสะอาด ฉลาด สงบ เรียกว่า สัมมาวาจา
การงานชอบ คือการงานที่ทำให้เกิดความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม เรียกว่า สัมมากัมมันตะ
เลี้ยงชีวิตชอบ คือประกอบอาชีพสุจริต โดยไม่คิดเบียดเบียนตนและคนอื่นให้เดือดร้อน เรียกว่า สัมมาอาชีวะ
ความเพียรชอบ คือเพียรละชั่ว เพียรทำดี เพียรทำจิตให้ผ่องใส เรียกว่า สัมมาวายามะ
ความระลึกชอบ คือระลึกที่จะรู้จักตัวเอง ระลึกที่จะเข้าใจตัวเอง แจ่มแจ้งในตัวเอง
เพื่อความไม่หวง ไม่ปรุง ไม่ยึดติด ไม่ตกเป็นทาส เรียกว่า สัมมาสติ
สมาธิ ชอบ อาจมีคำถามว่าถ้าถึงคำว่าสมาธิแล้ว ทำไมต้องมีคำว่า สมาธิชอบและสมาธิไม่ชอบ สมาธิชอบ คือสมาธิที่ทำให้เกิดปัญญา สมาธิที่อยู่ในวิถีแห่งพุทธ สมาธิที่ยังให้เกิดประโยชน์แก่ตนและคนทั้งหลาย เรียกว่าสัมมาสมาธิ ส่วนสมาธิมิชอบ คือสมาธิที่ให้เกิดสัญญา สมาธิที่เกิดแล้วไม่นำผู้เป็นเจ้าของเข้าสู่วิถีพุทธะ
สมาธิมิชอบ เป็นสมาธิที่อาจได้ประโยชน์ตน แต่คนอื่นเดือดร้อนก็ได้ เรียกว่ามิจฉาสมาธิ เช่นโจรตั้งใจปล้น และก็ปล้นได้สำเร็จ ที่สำเร็จได้ก็เพราะโจรมีสมาธิ หมอไสยศาสตร์ใช้สมาธิเสกวัตถุให้ทำร้ายผู้อื่นสำเร็จเช่นนี้ก็ถือว่าเป็นผล มาจากมิจฉาสมาธิ
ครั้นเมื่อพระบรมศาสดาทรงแสดงให้เห็นทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ทางพ้นทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์แล้ว พระองค์ยังทรงมีพระมหากรุณาที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ทุกตน คนทั้งหลาย ด้วยการแก้การปกครองและความเชื่อที่มีมาแต่โบราณแบบผิดๆในเรื่องของการแบ่ง ชนชั้นวรรณะ ตัวอย่างเช่น ถ้าหากพวกกษัตริย์และพราหมณ์เดินมา พวกศูทรและพวกแพศย์จะไปมองหน้าไม่ได้ ถ้ามองหน้าก็จะโดนควักลูกตาทิ้ง เพราะถือว่าลบหลู่เบื้องสูง ต้องก้มหน้ามองได้แต่เท้าเท่านั้น พวกแพศย์พวกศูทรเดินผ่านมา พวกจัณฑาลจะเดินสวนทางไม่ได้ จะต้องเดินหลบไปเสียข้างหนึ่งหรือไม่ก็หยุด ต้องลงไปแอบข้างทาง แล้วทำความเคารพ เราจะเห็นว่ามีการแบ่งแยกชนชั้นวรรณะ อย่างชนิดเหยียดหยามศักดิ์ศรีของความเป็นคน
เมื่อพระพุทธเจ้าทรง ประกาศพระศาสนา อันดับแรกพระองค์เพียงมุ่งหวังให้สรรพสัตว์อยู่ร่วมกันอย่างสันติ อยู่ร่วมกันอย่างชนิดที่เกื้อกูลการุณย์ อนุเคราะห์ อุปถัมภ์ค้ำชูต่อกันและกัน โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ เมื่อเป็นดังนั้นพระองค์มุ่งหวังจะแก้กฎเกณฑ์ของสังคมที่เขานิยมยกย่องกัน ว่า เหยียบย่ำคนต่ำ ยกย่องคนสูง ชมชอบคนขาว ปฏิเสธคนดำ เมื่อพระองค์ทรงประกาศพระศาสนาไปพร้อมกับทรงประกาศอุดมการณ์และความเชื่อใน การอยู่ร่วมกันอย่างไม่เบียดเบียนกัน เป็นนโยบายคำสอนของพระศาสนาอันดับแรกเลย ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มาจากต่างที่ ต่างถิ่น ต่างชั้น ต่างวรรณะ ไม่ว่าจะมาจากกษัตริย์ มาจากพราหมณ์ มาจากแพศย์ มาจากศูทร หรือมาจากจัณฑาล เมื่อเข้ามาอยู่ในศาสนานี้ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มาด้วยการไขว่หาพระธรรม มีธรรมเป็นเครื่องอาศัย ถือว่าเสมอภาคกันโดยพระธรรมที่ตนปฏิบัติได้
จะเห็นว่าพระองค์ทรง ประกาศพระศาสนา เพื่อจะปลดเปลื้องความเดือดร้อนและทุกข์ภัยของสรรพสัตว์ในยุคนั้นอย่างแท้ จริง ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นใด เมื่อเข้ามาอยู่ในศาสนานี้แล้วไซร้ จะไม่มีการแบ่งแยกสี เผ่า และวรรณะ พวกแพศย์ พวกศูทร พวกจัณฑาล ที่เคยตกเป็นทาสของกษัตริย์และพราหมณ์ เมื่อเข้ามาบวชแล้วก็ไม่ต้องเป็นทาสใคร กษัตริย์และพราหมณ์ที่เคยใช้แพศย์ ศูทร และจัณฑาล เป็นขี้ข้าต่างวัวควายนั้น เมื่อเข้ามาบวชอยู่ในศาสนธรรมนี้แล้ว ก็ทำเช่นนั้นไม่ได้ ต้องยอมรับกันโดยเหตุปัจจัยในพระธรรมของตน ซึ่งต่างจากลัทธิและศาสนาอื่นๆ ซึ่งมีถึง ๖๐๐ กว่าลัทธิ ก็ยังยึดถือวรรณะเป็นเกณฑ์ แต่มีศาสนาเดียวในยุคนั้นที่ไม่ยึดถือวรรณะแต่ยึดถือธรรมะ ก็คือศาสนาแห่งพระสมณโคดม
เพราะฉะนั้นหลวงปู่จึงพยายามทำความเข้าใจใน วิญญาณและชีวิตของพระศาสดาที่พระองค์ทรงประกาศพระศาสนา เพื่อให้ศาสนธรรมซึมเข้าไปในหัวใจของสรรพสัตว์ เพื่อจะให้สรรพสัตว์อยู่ร่วมกันโดยสันติ สามัคคีเป็นหนึ่งเดียว และต้องเคารพในธรรมซึ่งกันและกันโดยธรรม โดยไม่แบ่งแยกว่า จะเป็นใครจะมาจากไหน ตระกูลอะไร เกียรติยศระดับใด ยากดีมีจนเสมอกันหมดด้วยพระธรรม
ดูตัวอย่าง "พระมหานามะ" ที่เป็นสุขุมาลชาติ เป็นชาติกษัตริย์ โดยโคตรฝ่ายแม่สมบูรณ์ ฝ่ายพ่อก็บริสุทธิ์ มีความศรัทธาปรารถนามาบวช จึงชวนราชกุมารที่ร่วมอุดมการณ์ พร้อมด้วยคนรับใช้ผู้มีศรัทธาที่คอยจัดเสื้อผ้า ให้มาบวชด้วย เมื่อถึงตอนเข้าบวช ราชกุมารทั้ง ๖ องค์ กลับปฏิเสธที่จะบวชก่อน แต่ให้นายภูษามาลาการที่เป็นขี้ข้าต่ำกว่าตนบวชก่อน ดังนั้น ความที่มีใจคิดที่จะปลดเปลื้องความหยิ่งผยอง ทรนง ยโส โอหัง มานะอวดดี ของ ราชกุมาร พระมหานามะจึงให้นายภูษามาลาการซึ่งมีนามว่า "อุบาลี"ได้บวชก่อน
เมื่อ บวชแล้วท่านผู้นี้เป็นผู้ทรงจำพระวินัยได้อย่างยอดเยี่ยม ได้รับการเคารพกราบไหว้จากมหาชนคนทั้งหลาย แม้ว่าท่านอุบาลีเดิมจะเป็นเพียงคนรับใช้ของพระมหานามะ แต่เมื่อบวชเข้ามาแล้ว พระมหานามะต้องมากราบในฐานะที่ท่านเป็นผู้เฒ่าเป็นผู้อาวุโสโดยธรรม เพราะมีอายุในพระศาสนาก่อนตน
เพราะฉะนั้น ผู้ที่บวชเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นไพร่ฟ้า ข้าราชแผ่นดิน คหบดี เศรษฐี ยาจก หรือพระเจ้าจักรพรรดิจอมราชันย์ เมื่อบวชเข้ามาแล้ว ก็มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีความเสมอกันด้วยธรรมวุฒิ คือมีคุณวิเศษในเรื่องของพระธรรม
พระธรรมไม่สามารถจะมาแจกแจง แสดงออกมาเป็นข้อๆ เป็นเรื่องเป็นราวได้ เหตุผลก็เพราะ พระธรรมคือทั้งหมดของชีวิตที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ มากไปด้วยสรรพประโยชน์
รวม ความแล้วพระธรรม คือ ความหมายของความสำเร็จ คือ ความหมายของส่วนดีๆ ทั้งหลาย คือ ความหมายของหน้าที่ที่สมบูรณ์ คือ ความหมายของแก้วสารพัดนึก พระธรรมเป็นเครื่องยังให้เกิดประโยชน์สุขได้ทุกโอกาส พระธรรมเป็นเครื่องทำให้เกิดชัยชนะ สามารถทำให้กำจัดความโง่เขลา พระธรรมทำให้เรากลายเป็นคนขาวสะอาด พระธรรมทำให้บุคคลที่เข้าถึงมันนั้นได้กลับกลายเป็นยอดมนุษย์ซุปเปอร์แมน และเป็นบุคคลที่สุดวิเศษ ในสายตาสังคมโลก เป็นเอกบุรุษ พระธรรมเป็นสิ่งที่ทำลายความเลวร้ายทั้งปวง และทำให้สิ่งดีๆฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาได้ พระธรรมมีเอาไว้สนับสนุนให้เราทำอะไรที่อยู่รอบข้างให้เต็มไปด้วยความมี ประโยชน์สูงและหยัดสุด ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ คือคุณสมบัติของพระธรรม
พระ ธรรมจึงเป็นสุดยอดของความวิเศษพิสดารที่ไม่อาจปฏิเสธได้ พระธรรมมีค่ามากกว่าแก้วทั้ง ๖ ประการ คือ จักรพรรดิแก้ว นางแก้ว ม้าแก้ว ช้างแก้ว คฑาแก้ว และราชรถแก้ว พระธรรมมีค่าสูงสุดในชีวิตโลกและจักรวาล ถึงขนาดมีคนกล่าวขานแสวงหา และเอาทรัพย์สินศฤงคารมากมายนานัปการมาแลกกับพระธรรม
ตัวอย่าง เช่น อนาถบิณฑกะเศรษฐี คือ มหาเศรษฐีของเมืองพาราณสี แคว้นมคธนั้น ได้สละทรัพย์สมบัติทั้งหมดที่มี ซึ่งเป็นพันโกฏิ เป็นหลายพันเล่มเกวียน แก้ว แหวน เงิน ทอง เพชร นิล จินดา ช้าง ม้า วัว ควาย ที่เรือกสวน ไร่นาทั้งหลาย ถวายให้แก่พระศาสนา สร้างวัดพระเชตวันมหาวิหาร เขาว่ากันว่า วัดนี้ใหญ่กว่าวัดที่พระเจ้าพิมพิสาร ทูลถวายต่อสมเด็จพระศาสดาเสียด้วยซ้ำ เพื่อจะแลกกับประโยคของคำว่า
"ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ถึงธรรมที่ พระองค์ได้ถึงแล้ว" นี่คือคำอธิษฐานของอนาถบิณฑกะเศรษฐี ที่นำทรัพย์ทั้งหมดแลกกับพระพุทธเจ้า เพื่อให้ได้ถึงพระธรรม เพื่อปฎิบัติธรรม อันเป็นสุดยอดของความปรารถนา
ไม่เพียงแต่มหาเศรษฐี อย่างอนาถะบิณฑิกะเท่านั้นที่ต้องการถึงธรรม แม้แต่คนตกอับ ยากจนข้นแค้น เวลาทำบุญสุนทาน ก็มักจะอธิษฐานว่า "ขอให้ถึงซึ่งธรรม ที่พระองค์ทรงถึงแล้ว"
ตัวอย่างเช่น ครั้งหนึ่ง องค์สมเด็จพระศาสดาสัมมาสัมพุทธะ พระองค์ทรงเล็งทิพย์จักษุตรวจสรรพสัตว์ก่อนจะออกบิณฑบาต หรือภิกขาจาร พระองค์ทรงทราบว่า จะมีนางทาสีคนหนึ่งซึ่งเป็นทาสของเศรษฐี กำลังจะออกไปทำสวนทำนา นางผู้นี้ฐานะยากจนข้นแค้นมาก แต่นางมีอุปนิสัยพร้อมที่จะเห็นธรรม บรรลุธรรม เข้าใจในพระธรรมส่วนหนึ่ง แล้วนางก็จะต้องตายภายในวันนี้ พระพุทธองค์จึงตั้งใจเสด็จออกไปเพื่อโปรดนาง
ดัง นั้น องค์สมเด็จพระชิณสีห์พระสุคตเจ้า พระผู้พิชิตมารได้ทั้งสิบทิศ จึงเสด็จออกบิณฑบาตเบื้องหน้าของหญิงยากจนคนนั้น แล้วก็ยืนนิ่งสงบ เหมือนกำลังรอรับบาตร ฝ่ายนางทาสีออกจากบ้านเศรษฐียามเช้ามืดเพื่อไปทำนา เมื่อเดินมากลางทางก็พบกับพระพุทธเจ้ายืนขวางทางอยู่ตรงหน้าด้วยอาการสงบ สำรวม นางได้แลเห็นแสงฉัพพรรณรังสี คือ สีกายของพระพุทธเจ้าสว่างไสว เป็นที่เจริญตา เจริญใจ ยังให้เกิดศรัทธา
นางจึงหันรีหันขวาง หันซ้ายหันขวา มองหาของที่จะถวาย ในมือก็มิได้มีอะไรติดมา ยกเว้นน้ำเต้าที่บรรจุน้ำ นางนึกขึ้นได้ว่านางมีอาหารอยู่หนึ่งมื้อ และก็เป็นมื้อสุดท้ายในวันนี้ คือแป้งจี่ ที่ทำด้วยรำหยาบผสมกับข้าวสาลีหยาบ ซึ่งนางเหน็บไว้ที่ชายพก ด้วยความศรัทธาในพระศาสดาพระสุคตเจ้า นางถึงขนาดปลดชายพกเอาแป้งจี่ออกมา ถวายพระศาสดา แล้วก็อธิษฐานว่า
"ขอข้าพเจ้าจงถึงธรรม ซึ่งพระองค์ได้ทรงถึงแล้ว"
นี่แหละแม้แต่คนอนาถาอดอยาก ยังนำอาหารมื้อสุดท้ายของวันนั้น ทำบุญถวาย เพื่อให้ได้ถึงพระธรรม
แต่ คนสมัยนี้ทำบุญไม่ได้มุ่งหวังพระธรรม กลับมุ่งหวังแต่สิ่งที่อยู่ต่ำๆ กว่าพระธรรม เช่น เจ้าประคู้ณ ขอให้เลขเด็ด ๆ สักทีเถอะน่า ...งวดนี้ขอให้ถูกสักสองตัวเถอะน่า ขอให้ได้อะไรสักหน่อยเถอะน่า... ขอให้ทำมาค้าขึ้นเถอะน่า... ขอให้ได้มีรถ มีบ้านมีเรือนเถอะน่า... ขอให้ได้มีครอบครัวที่เป็นสุขสบายเถอะน่า... ขอให้มีบริวารชายหญิงที่มั่งคั่งสมบูรณ์เถอะน่า... อะไรอย่างนี้ รวมความแล้ว ก็กลายเป็นว่าหนอนขี้หวังที่จะได้ขี้เพิ่มขึ้น
ที่ต้อง พูดอย่างนี้ เพราะคนเดี๋ยวนี้ไม่รู้ตัวเองหรอกว่า ตัวเองกำลังตกอยู่ในหลุมขี้และมูตรคูถที่มากไปด้วยความสกปรกโสโครกและโสมม สับสน และวุ่นวาย ไม่รู้ว่าตัวเองตกเป็นทาสของความเลวร้าย ต้องบอกว่า เป็นทาสของโลกธรรม ๘ ประการ คือ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ สุข ทุกข์ นินทา และสรรเสริญ
เพราะฉะนั้น คนสมัยนี้จึงทำบุญเพียงเพื่อหวังโลกธรรม ไม่ได้มุ่งหวังจะให้ถึงธรรม ปฏิบัติธรรม และเจริญในพระธรรม ผิดกับสมัยก่อนที่คนทำบุญสุนทานกันมากมายมหาศาล ก็เพียงเพื่อปฏิบัติธรรมให้เกิดธรรม แสดงว่าคนโบราณนั้นเป็นคนที่กลัวมัจจุราช ทั้ง ๔ คือ กลัวเกิด กลัวแก่ กลัวเจ็บ แล้วก็กลัวที่จะตาย แต่คนยุคนี้ไม่กลัวเกิด เกิดได้มากยิ่งดี ไม่กลัวจะเจ็บ เพราะมียามหาศาลอย่างดี มากมายที่จะเลือกสรรมาให้ใช้ และไม่กลัวที่จะตาย ถามว่าทำไมไม่กลัวตาย ก็เพราะว่าเขาไม่ได้คิดว่า ทำอย่างไรถึงไม่ให้ตาย เขาคิดว่า ขอให้มีชีวิตอยู่ แล้วขอให้สบายก็ใช้ได้
สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมัยที่พระองค์เป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นผู้มั่งคั่งมากมีไปด้วยทรัพย์สินศฤงคาร แต่พระองค์ก็กลัวการเกิด แทนที่คนที่มีทรัพย์สินมาก มีบริวารมาก มียศมาก มีเกียรติภูมิมาก มีศักดิ์ศรีมาก มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ มีครอบครัวมหาศาล คำว่า "ครอบครัวมหาศาล" คือ มากและแวดล้อมด้วยบริวาร ที่เต็มเปี่ยมและอบอุ่น พระองค์ยังกลัวที่จะเกิด และพระองค์ก็เบื่อหน่ายกับครอบครัวมหาศาล
ส่วนคนสมัยนี้คิดว่า การเกิดเป็นเรื่องดีและก็พากันจมปลักเหมือนหนอนขี้อย่างที่ว่าไปแล้ว หลวงปู่จะเล่าเรื่องชีวิตของหนอนขี้ให้ฟัง
เรื่อง มีอยู่ว่า ชายสองคนเป็นเพื่อนซี้กัน คนหนึ่งชอบทำบุญ แต่อีกคนไม่ชอบทำแถมยังชอบขัดเพื่อนว่า ทำบุญไปทำไม ทำบุญเสียเปล่า ไหว้เจ้าดีกว่า อย่าทำเลย หรือเวลาเพื่อนจะทำทาน ก็ขัดอีกว่า ให้ทำไม เอาเงินไปซื้อเหล้ากินดีกว่า เพื่อนจะไปทอดผ้าป่าถวายทาน อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ ก็เปรยว่า เพื่อนเอ๋ย ทำไปทำไม เสียหายไม่ได้ประโยชน์ อะไรทำนองนี้
เมื่อทั้งสองคนตายไป ไอ้คนที่มุ่งหวังจะทำแต่บุญนั้น ก็ได้ไปเกิดเป็นเทวดา ฝ่ายเพื่อนที่คอยขัด ไม่ให้เพื่อนทำดี และตัวเองก็ไม่ได้ทำดี ก็เกิดเหมือนกัน แต่เกิดเป็นหนอน ที่อยู่ในหลุมขี้
ฝ่ายเทวดาเพื่อนซี้ เมื่อตัวเองได้อัตภาพที่สุขสบาย ก็คิดว่า เราได้อัตภาพที่ดีอย่างนี้ ก็เพราะเราทำดี เราทำบุญ เราปรารภเรื่องบุญ เราจึงมีอัตภาพอันสุขสบาย เอ...แล้วก็เพื่อนเรามันเกิดที่ไหนล่ะ สวรรค์ทุกชั้นเราไปดูมาหมด ก็ไม่เห็นมีเพื่อนเราสักคน ส่วนที่หน้าไม่เหมือนมนุษย์ก็ไปดูมาแล้ว ไม่เห็นมีเลย เทวดาตามหาเพื่อนจนทั่วแผ่นดิน ทั่วโลก ทั่วจักรวาล ก็ไม่เจอเพื่อน จนเหนื่อย สุดท้ายก็มาหยุดพักอยู่ชายทุ่ง เห็นชาวบ้านวิ่งเข้าวิ่งออกอยู่ในพุ่มไม้ ก็เดินย่องไปดูว่าเขามาทำอะไรกัน พอเห็นก็อุทานว่า
"อ้าว! นี่มันหลุมขี้" เอ๊ะ...หรือเพื่อนเราจะอยู่ในหลุมขี้ ทิพยเนตรเราจึงส่องไม่ถึง คิดแล้ว ก็เลยตะโกนเรียกเพื่อน
"ไอ้เกลอ...อยู่ในหลุมขี้รึเปล่า" ฝ่ายเจ้าหนอนขี้ได้ยินเสียงเพื่อนก็จำได้ ร้องตอบว่า
"ยู้ฮู...กูอยู่นี่"
เทวดา ก็แปลกใจ อ้าว! แล้วกัน เพื่อนเรากลายเป็นหนอนขี้ไปเสียแล้ว เทวดาผู้ใจอารีจึงแปลงกายเป็นแมลงวันบินหึ่งอยู่แถวหลุมขี้ แล้วก็ถามสารทุกข์สุขดิบว่า "เป็นไงเพื่อนสบายดีเรอะ"
ฝ่ายเจ้าหนอนขี้ก็ยิ้มแบบภาคภูมิยินดี แต่ก็ทำเป็นนิ่งเฉยไม่ตอบ เพื่อนถามครั้งที่สอง...ครั้งที่สาม ก็เลยบอกไปว่า
"พอ ทนว่ะ เอ็งล่ะ สบายดีไหม" หนอนขี้ถามเทวดา เทวดาก็ดีใจที่หนอนขี้ถาม จึงบรรยายถึงวิมานสวรรค์ และทิพยสมบัติที่ตนมี อย่างภาคภูมิใจ คือ จะคุยอวดหนอนขี้ ให้รู้ว่า สภาพที่เป็นเทวดา มันสุขสบายสมบูรณ์ แบบนึกอะไรก็ได้ คิดอะไรก็ได้...ปุ๊บ เปิดปุ๊บ-ติดปั๊บไปทุกอย่าง
ฝ่ายเจ้าหนอนขี้ได้ฟังดังนั้น จึงร้องบอกว่า
"เฮ้ย! กระจอก สู้ข้าไม่ได้ ข้าไม่ต้องเปิดก็ติด ไม่ต้องนึกก็ได้ ถึงเวลาเขาก็เอามาหย่อนให้กิน ข้าจะกินเปรี้ยว กินหวาน กินมัน กินเผ็ด พร้อมสมบูรณ์แบบ นอนนั่งอยู่ในอาหารชั้นเลิศ" หนอนขี้คุยโอ่
เทวดาตั้งใจจะชวนให้เพื่อนหลุดจากหลุมขี้ แต่เพื่อนไม่ยอมฟัง มันบอกว่าของมันดีอยู่แล้ว ของมันสุขสบายแล้ว
เห็น ไหมว่า คนยุคนี้ ก็เปรียบดั่งหนอนขี้ ที่คิดว่าอัตภาพของตนดีแล้ว ไม่ขวนขวายให้สูงกว่านี้แล้ว เวลาจะทำบุญก็ภาวนาว่า "เจ้าประคู้ณ...งวดนี้ขอให้ได้เลขเด็ด เจ้าประคู้ณ...ขอให้ลูกสอบได้ เจ้าประคู้ณ...ขอให้ชีวิตยืนยาว เจ้าประคู้ณ...ขอให้ขายของได้เยอะๆ ขอให้บริษัทร่ำรวย" อะไรประเภทนั้น ไม่มีใครอธิษฐานว่า "เจ้าประคุ้ณ ขอให้ข้าพเจ้าได้ถึงธรรมที่ท่านได้ถึงแล้ว" ไม่มี...
เมื่อไม่ได้มุ่ง หวังธรรม ไม่ได้ปรารภธรรม อธรรมก็เจริญรุ่งเรือง นักบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาก็มุ่งหวังแค่เพียงว่า เมื่อแสดงธรรมเขาไม่ฟัง ก็แสดงสิ่งที่เป็นอธรรม เช่น โฆษณาประกาศว่าหลวงพ่อรุ่นนี้ รุ่นรวยไม่เลิก แต่คนซื้อมาแขวนแล้ว เจ๊งไม่เลิก ไอ้ที่เลิกก็คือ คนขาย ที่เลิกไปแล้ว เพราะมันรวย แต่ไอ้คนซื้อน่ะ มันเจ๊งไม่เลิก
เรื่องอธรรมนี้ พระศาสดาทรงตรัสกับพระกัสสปะ ว่า
"ดู ก่อน กัสสปะ คราวใดที่อธรรมเจริญรุ่งเรือง ธรรมก็ย่อมเสื่อมทรามลง คราวใดที่ธรรมเจริญรุ่งเรือง อธรรมก็ย่อมต่ำลง เมื่อใดที่ภิกษุ พุทธบริษัท ยกย่องเถระ พระผู้เฒ่าองค์ใดที่ได้ชื่อเสียง ได้เกียรติภูมิ ได้ลาภ สักการะ จากการแสดงอธรรม ผู้คนทั้งหลาย ก็จะพากันยอมรับว่า อธรรมเป็นเรื่องปกติ อธรรมเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ และนับถืออธรรมเป็นพระศาสดาต่อไป"
ซึ่งเวลานี้มันก็เป็นอย่างนั้นแล้ว ผู้คนไปเคารพศรัทธาพระ หรือนักบวช ในศาสนาที่ทำหน้าที่แสดงอธรรม แล้วก็ยกย่องว่าเป็นความถูกต้อง
แต่อธรรมคือ สิ่งที่ไม่ใช่ธรรม ในเมื่อไม่ใช่ธรรม มันก็ต้องโดนเขากระทำเรื่องร้ายๆต่อไปเรื่อยๆไม่จบสิ้น
โดย สรุปแล้ว ถ้าตราบใดที่เราคุยกับคนอื่นว่าเรามีพระธรรม แต่ยังทำอะไรที่เลวร้ายอยู่ตลอดกาล ยังเป็นคนเกียจคร้านสันหลังยาว ยังทำตัวเองเป็นคนทรนง จองหอง อวดดี ไม่ยอมรับเหตุและผลของใครละก็ แสดงว่าเรายังไม่มีพระธรรม ไม่เข้าใจพระธรรม
และถ้าเราใช้อะไรที่มันสุรุ่ยสุร่าย ไม่ใช้มันอย่างคุ้มค่าและเต็มไปด้วยความประหยัด แสดงว่าเราไม่เข้าใจพระธรรม
ถ้าที่ไหนยังมีความคิดแตกแยก มีความเห็นไม่ลงรอย มีความเข้าใจไม่ถูกต้อง จงรู้เถิดว่าคนเหล่านั้นไม่เข้าใจพระธรรม ไม่รู้จักพระธรรม
ถ้า บ้านเมืองใด ประเทศใด วัดใด ยังมีความเห็นเป็นนานาความเห็นอยู่ คือความเห็นที่ไม่กลมเกลียวสมัครสมานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันได้ ก็ถือว่าบ้านนั้น เมืองนั้น ประเทศนั้น วัดนั้น ยังไม่มีพระธรรม
ที่ ผ่านมานี้ก็เป็นการแสดงออกให้เราได้รู้ว่า เราอยู่กันอย่างไม่มีพระธรรม พูดเช่นนี้ก็มิได้หมายถึงจะบังคับให้ทุกคนเห็นเหมือนกัน คิดเหมือนกัน ทำเหมือนกัน เช่นนี้ก็มิใช่ แต่เพราะพระธรรมเป็นกระบวนการทำความเห็นให้ตรงและถูกต้อง ตามความเป็นจริง ก็ในเมื่อทุกคนมีความเห็นที่ถูกต้อง ตามความเป็นจริงแล้ว จะไม่มีใครทำผิด พูดผิด คิดผิด ต่อกันและกัน ทุกคนก็จะตั้งมั่นอยู่ในความถูก ตรง และซื่อสัตย์ต่อกัน ไม่ล่วงเกินก้าวก่ายในสิทธิของกันและกัน สังคมก็จะมีแต่ความสงบร่มเย็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น