ความหมายของธรรมะที่ถูกตรงถูกต้องตามครรลองพระสัจธรรม
ของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึงเครื่องชำระล้าง
ฟอกขัดเกลาจิตวิญญาณ
เพราะฉะนั้น
คนมีธรรมะก็เหมือนมีเครื่องฟอก เครื่องชำระล้าง
เครื่องดูดฝุ่นในตัว ฝุ่นมันเกิดขึ้นตรงไหนก็ดูดมันออก
ตรงไหนเป็นขยะก็เก็บมันทิ้ง
ตรงไหนมีคราบแสงสีเสียงกลิ่นก็ชำระมันออก
นั่นคือคนมีธรรมะ คนมีธรรมะไม่ใช่ยายแก่แร้งทึ้ง
คนมีธรรมะไม่ใช่ตาเฒ่าหัวหงอก
คนมีธรรมะไม่ใช่คนที่ทำตัวล้าหลังในสังคม
คนมีธรรมะไม่ใช่คนเป็นคนที่เคร่งเครียดแล้วกลายเป็น
คนที่น่าเกลียดในสังคม แต่ความหมายของคนมีธรรมะ
จะเป็นคนที่ใหม่และทันสมัยเสมอ ต่อทุกสภาวะ
ทุกสถานะ และทุกถิ่นทุกที่และทุกเรื่องที่ทำ คนที่มีธรรมะมีศักยภาพ
และสมรรถนะ และวิถีคิด วิถีงาน วิถีจิต วิถีชีวิตที่
เป็นวิถีพุทธ
คือรู้ตื่น และเบิกบาน ตามกระบวนการของการดำรงชีวิต
ผู้มีธรรมะย่อยชาญฉลาดทุกสถาน
ผู้มีธรรมะย่อมมีชัยชนะทุกถิ่นทุกที่ทุกทางที่ตนอยู่อาศัย
ผู้มีธรรมะย่อมมีสันติ สงบสุข ร่มเย็น ในขณะที่คนอื่นทุกข์ร้อน
เศร้าหมอง ขุ่นมัว
ผู้มีธรรมะ
จะรู้จักปล่อยว่าง สลัดหลุด และไม่ปล่อยให้อะไรมาฉุดรั้ง
ผู้มีธรรมะย่อมมีพระอยู่ในใจ ผู้มีธรรมะย่อมต้องรู้จักพอ
หรือถ้าต้องการก็รู้จัก หยุด ธรรมะจึงเป็น
สัญลักษณ์ของ
คนที่
ฉลาด สะอาด สว่าง และสงบ
ธรรมะ
จะดัดกายวาจาใจของเราให้กลายเป็นบุคคล
ที่ซื่อตรงต่อตนเอง ซื่อตรงต่อคนอื่น ซื่อตรงต่อสังคมส่วนรวม
ความซื่อตรงนี่เหละ คือคุณลักษณะของคน
มีธรรมะ
และความซื่อตรง
มันเกิดขึ้นได้ จากการที่ต้องเรียนรู้ธรรมะ
มักจะมีคำพูดว่า พระพุทธเจ้าถ้าสอนให้เป็นคนเชื่องช้า
พระองค์ก็คงไม่ใช่ศาสดาเอกของโลก
เป็นแน่
เพราะคนที่ช้า
ย่อมตกเป็นทาสของคนที่ว่องไว
และรวดเร็ว คนที่อ่อนแอย่อมตกเป็นทาสของคนที่เข้มแข็ง
คนที่โง่เขลาย่อมตกเป็นทาสของคนฉลาด
และรู้มาก
เพราะฉะนั้น
ธรรมะอยู่กับใคร คนนั้นจะไม่เป็น
คนที่อ่อนแอ จะไม่เป็นคนที่ล่าช้า จะไม่เป็นคนที่เหลวไหล
และจะไม่เป็นคนที่โง่เขลา แต่จะทำ
ให้ผู้นั้น
มีความ
ตระหนักสำนึก รู้จักความถูกต้อง และไม่บกพร่อง
ในหน้าที่
จากบทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ธรรมลีลา เล่มที่ 72
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น