...ถึงเวลาแล้วเมื่อมัจจุราชถามหาเรา เราคงปฏิเสธไม่ได้ แต่เราสามารถจะเกี่ยงได้ เมื่อตอบปฏิเสธไม่ได้ แต่เกี่ยงได้ ยื่นข้อเสนอได้ สิ่งที่จะยื่นเสนอต่อมัจจุราชได้ เกี่ยงต่อ มัจจุราชได้ ต่อรองกับมัจจุราชได้ นั่นคือ ความดี ความว่างเปล่า แล้วก็อิสระเสรีภาพของตัวเราที่เรามี เมื่อมัจจุราชสอบถามเราว่า เมื่อเรามีชีวิต เรามีอะไรที่ทำไม่ให้ชีวิตเราประมาทพลาดพลั้ง บ้าง ทำอะไรที่เป็นทุนกำไรให้แก่ตัวเราเองบ้าง อะไรเป็นส่วนแห่งความฉลาดเรียกว่ากุศล อะไรคือส่วนแห่งความโง่ที่เรียกว่า อกุศล สิ่งเหล่านี้เราละเว้น
แล้วเราเจริญขึ้นได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าเราสามารถตอบมัจจุราช ทำให้เรามีชีวิตยืนยง หรือถ้าไม่ยืนยงก็อาจจะยืนยาวในความสุข ความสมบูรณ์ของสันติ มีสุคติเป็น ที่ไป อบายภูมิและนรกก็ต้องปิดตัวตาย เพราะไม่กล้าที่จะรับเรา ลงไปได้ แล้วที่แน่ๆ อายุเราก็แก่ปูนนี้แล้ว ถ้าเราไม่รู้จักวางอะไร ซะบ้าง จะมายึดถือโดยเฉพาะมานะทิฐิ ถือตัวถือตน ความทระนงจองหอง ยโสโอหัง อวดดี ช้างชูงวง ทำตัวเป็นปูชูก้าม ถ้า ไม่ยอมทำตัวเป็นปูก้ามตก ช้างงวงหล่น วันข้างหน้าเราจะอยู่อย่าง สันติไม่ได้ ตายอย่างสุขก็ไม่ได้แล้วไปเกิดที่ใดๆ ก็มีแต่ความลำบากตลอดกาล เหมือนดั่งที่พระศาสดาทรงสอนพระอานนท์ สอนพระมหาโมคคัลลานะว่า ให้รู้จักลดงวงลง อย่าหยิ่ง อย่าผยอง อย่าอวดดี ว่าเราสามารถยกงวงที่เราชูขึ้นลด ลงได้แล้วนี่ นั่นคือ ความอ่อนน้อมถ่อมตนความไม่หยิ่งทระนง ความไม่ยโสโอหัง ความไม่อวดดี ถือ ว่าเป็นสิ่งดีๆ สำหรับชีวิตที่เราจะเรียนรู้ในบทต่อๆ ไปที่เราจะมี
ใน บทความสำหรับความหยิ่งความอวดดีนี่เป็นเรื่องที่เราจะต้องทำความเข้าใจ ผมมีนิทานเรื่องหนึ่งอยากจะฝากเอาไว้ว่ามีศิษย์กับอาจารย์เดินทางไปในถิ่น ทุรกันดาร มีก้อนข้าวก้อน หนึ่งมันจำเป็นจะต้องกินเพราะมันหิว แต่มันมีก้อนเดียว มีคนตั้งสองคน อาจารย์ก็เลยเอ่ยว่า เรามาดูกันว่าใครอ่อนน้อมที่สุด ผู้ใดที่มีความอ่อนน้อมที่สุดถือว่ามีคุณค่าควรแก่การได้กินอาหารก้อนนี้ เมื่ออาจารย์กล่าวดังนั้น ศิษย์ก็พยักหน้ารับ ขอรับกระผม ศิษย์แสดงความอ่อนน้อมก่อนเลย อาจารย์ก็เลยบอกว่า อย่างนั้นข้าก็ต้องเป็นลาโง่ที่หัวโตตัวใหญ่แต่ใช้การอะไรไม่ได้ท่านอาจารย์ แสดงความอ่อนน้อมเปรียบประดุจตนเป็นลาโง่ ศิษย์ก็บอกว่า อย่างนั้นข้าต้องเป็นตูดของลาแสดงว่าเลวกว่าตัวลาอีก อาจารย์ก็เลยบอกว่า ถ้าอย่างนั้นข้าต้องเป็นขี้ลา ศิษย์ก็เลยทำไปทำมาก็ตอบขึ้นมาว่า ข้าก็ต้องเป็นตัวหนอนที่ไชขี้ลาหรือกินขี้ลา อาจารย์ก็หมดที่ไปแล้วหันมาถามว่า อย่างนั้นเอ็งเป็นหนอนที่อยู่ในขี้ เอ็งทำอะไรอยู่ กำลังร้องด้วยความสุข และสมบูรณ์ อาจารย์ได้ฟังดังนั้นก็คว้าก้อนข้าวเข้าปากเคี้ยวแล้วก็ยิ้ม ข้าชนะ
ถ้า ทำตัวเหมือนกับปริพา-ชกผู้เฒ่าที่เข้ามาบวชเมื่อยามแก่ เมื่อตอนอายุ 60 คือ สุพันธะ ถ้าเราว่านอนสอนง่ายอย่างนั้น กระทำตนจนเป็นคนที่ยอมรับอะไรง่ายๆ อย่างนั้น ชีวิตของเราก็คงไม่สับสนวุ่นวายจึงอยากจะบอกสรุปรวบยอดว่า เกิดมา จนปูนนี้ อายุปาก็เข้าไป 70 กว่า ถ้าเรามาถามตัวเองว่าเราได้อะไรไปบ้าง ถ้าผมจะเป็นคนบอก หลวงตาจะต้องบอกว่า ผมไม่เห็นหลวงตาได้อะไร แต่ผมว่าสิ่งที่ท่องจำได้ สิ่งที่รู้แล้วพูดให้ใคร ๆ ฟัง แต่เราทำไม่ได้จะถือว่าเราได้อะไรได้ยังไง มันเป็นเพียงแต่กิริยาอาการที่สร้างสมมันเป็นสัญญาไม่ใช่ปัญญา มันเป็นความทรงจำของมันเอง แต่ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้เราเป็นทุกข์
เมื่อ ใดที่เราเผชิญกับปัญหา ความโกรธ ความโลภ ความหลง เผชิญกับศัตรูตัวร้าย ที่คอยกัดกินทำลายหัวใจเราให้เศร้าหมอง เรา เอาชนะมันไม่ได้แสดงว่าเราได้อะไรมาจนอายุป่านนี้
แต่ ถ้าเมื่อใดที่เราเอาชนะทุกอย่างได้ ความโกรธเกิดขึ้น เรา ก็ทำลายมันลงไปได้ ในพริบตา ความโลภเกิดขึ้นเราทำลายมันได้ ไม่ทำให้เกิดขึ้นในตัวเรา ความโมโหฉุนเฉียวอาฆาตพยาบาท อิจฉาริษยา เมื่อเราไม่ยอมรับเราปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ ถ้าไม่ทำให้เรา ลื่นไหลไปตามมัน แสดงว่าเราได้อะไรในชีวิต เกิดมาไม่เสียชาติ เกิด แสดงว่าเราแก่พร้อมกับสติปัญญาแก่ความรู้ที่มีอยู่ในตัวเรา กางกั้นภัยพิบัติทั้งหลายได้ แต่ถ้าเมื่อใดเรายังเอาชนะมารร้ายแห่ง อารมณ์เหล่านี้ไม่ได้ และอารมณ์ร้ายที่พัดกระหน่ำเราแล้วเราต้าน ทานไม่ได้ ก็แสดงว่าเรายังแก่ไม่จริง เรายังเป็นเด็กอ่อน เด็กน้อยๆ อยู่ ก็เหมือนอย่างที่ผมบอกกับสมภารว่าอย่างสมภารน่ะเหรอ จะมาเป็นลูกศิษย์ผมตั้งแต่หัวจรดตีนยังไม่เห็นมีอะไรดี แล้วอย่างนี้จะมาเป็นลูกศิษย์ผมได้ยังไงเพราะเพชรแท้มองยังไงก็ยังเป็นเพชร ตกไปหลุมขี้ก็ยังเป็นเพชร อย่างที่ผมพูดกับทหารเมื่อวานนี้ว่า
เทวดา น่ะถ้าเป็นเทวดาโดยสายเลือด โดยกำเนิด โดยชีวิตวิญญาณ และเทวดาโดยคุณธรรม ใครจะถีบลงไปในหลุมขี้มันก็ทำให้หลุมขี้เป็นบ่อทองคำ เพราะมันกระทำตนเป็นเทวดา แต่ถ้า เทวดาแบบปลอมๆ เทวดาแบบหยิ่งผยอง เทวดาแบบความรู้ที่ริมฝีปากแล้วสมองจดจำ เทวดาแบบทรงเครื่องล่ะก็ เทวดาแบบลิเกแบบโขน ใครเขาถีบลงบ่อขี้ มันก็เป็นขี้อยู่วันยังค่ำ ลงบ่อทองคำบางทีทำตัวระยำ ทำให้ทองคำหมดไปได้เหมือนกัน
ผม จึงบอกได้เต็มปากเต็มคำว่ายังเด็กอยู่เพราะผมรู้ว่าเทวดาจริงๆ เป็นอย่างไร ก็อยากฝากบอกว่า เมื่อเราอยู่ด้วยกัน สิ่งที่เรามีอยู่ด้วยความเมตตา เกื้อกูล อนุเคราะห์ ก็ให้แก่กันด้วยความเมตตา เกื้อกูลอนุเคราะห์แก่กัน ซึ่งชีวิตผมไปอยู่ที่ใดก็ปรารถนา ให้เกิดความสุขสมบูรณ์ในที่นั้นๆ ใครที่อยู่ใกล้ก็อยาก ให้รับประโยชน์จากสิ่งที่มีบ้าง เมื่อเขามีประโยชน์ผมก็จะขอเขาบ้างขอตัวนี้ไม่ใช่เป็นคนขี้ขอจนกลายเป็นความ น่าเกลียด แต่ขอความรู้คุณธรรมที่เขามีเอามาฝึกปรืออบรมจิตใจตนเอง นี่คือนิสัย ผม แต่ถ้าผมมีมากกว่าเขาก็จะให้เขาด้วยความเอื้ออาทร แต่ความ เอื้ออาทรอันนั้น แน่นอนว่านิสัยผมไม่ชอบจะไปยัดให้ใคร ไม่ใส่พานถวายให้ใคร ผมถือว่าศิษย์ที่มีดีนั้นไม่พึงมีโดยการหยิ่งผยอง ศิษย์ที่ดีจะต้องเรียกหาครูที่ดีเพื่อมาสอนสิ่งที่ดีๆ ให้แก่ชีวิตตนและต้องเตรียมการสำหรับชีวิตดีๆ ที่จะต้องเรียนรู้ ไม่ใช่มานั่งรอครูสอนตลอดกาล
ฉะนั้นถ้าเราไม่ใช่ศิษย์ ที่ไม่ดี เตรียมพร้อมไม่ได้ ใครเป็นครู เขาก็ไม่อยากจะสอนสั่งเรา เขาจะเบื่อหน่ายเหมือนกับถังขยะข้างถนน ที่ใส่ขยะลงไปเท่าไรก็ไม่อยู่ หรือโยนเพชรโยนพลอยลงไปก็คงจะเน่าตลอดกาลเอาน้ำหอมเทใส่ก็เหม็นอยู่อย่าง นั้นที่ถูกก็คือต้องล้างขยะในตัวเองให้หมดอย่างที่ผมว่ากิจในพระศาสนานี้มี อะไรบ้าง พระพุทธเจ้าอาจจะบอกกล่าวและทรงแสดงไว้ว่าทำความดี ทำกุศลให้ถึงพร้อม ทำใจให้ผ่องใสหรือว่าศีล สมาธิ ปัญญาแต่ผมขออนุญาตพระศาสดาบอกกล่าวว่า กิจของศาสนาที่เป็นประโยชน์ และเป็นหัวใจสำคัญมี 3 ประการก็คือ ชำระของเก่าไม่เพิ่มขยะใหม่ และทำของดีที่มีอยู่แล้วให้ผ่องใส ไม่ใช่รู้กว่าพระพุทธเจ้า
สาม คำนี่มันได้ใจความกะทัดรัดเป็นความหมายที่รู้สึกในส่วนลึกๆ ของเราได้ว่าเรายังมีขยะอยู่นะ เป็นการบอกเตือนกระ-ตุ้นให้รู้ว่าเราไม่ใช่คนสะอาดนัก จะไม่หยิ่งทระนง ไม่ยโส อวดดีกับ สิ่งอัปรีย์ที่มีอยู่ การไม่เพิ่มของเก่าเป็นเครื่องบอกให้รู้ว่าเราก็คือตัวถังขยะตัวหนึ่งที่ เต็มไปด้วยขยะพร้อมมูล แล้วถ้าเราจะเพิ่มของ ขึ้น มันจะได้ดีอะไร สิ่งที่ควรทำเวลานี้ก็คือควรเทขยะให้หมดไป แล้วล้างถังขยะให้ผ่องใสไม่เพิ่มขยะใหม่ทำของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ผ่องใส ชีวิตของเราก็ไม่เศร้าสำหรับการมีลมหายใจความเสื่อม อันใดก็ไม่สามารถกระชากเราให้ตกเป็นทาสของมันได้ ลมปากใคร ก็ไม่สามารถชักจูง เราให้ชั่วให้เลวตามความอยากได้ เราเป็นเอก-เทศ มีอิสรเสรีภาพแก่ตัวเรา มีจุดยืนของเรา คนอื่นๆ ก็ช่วยเหลือเราไม่ได้ เราต่างหากที่ช่วยเหลือตัวเราเอง ก็คือถึงที่สุดแห่ง ความมีชีวิตแล้ว นี่จึงถือว่าเป็นคนแก่ แก่ความรู้ใช่อยู่นาน เป็นคนแก่ที่ควรแก่การสักการะกราบไหว้เคารพยอมรับ ระลึกถึง และเรียกหา
ถ้า เราไม่มีอย่างนี้อยู่ มันก็เป็นคนแก่ที่น่ารังเกียจ ไม่ต่างอะไรกับขยะกองโตที่สะสมมานานอักโข ใครอยู่ใกล้ก็กลายเป็นควายที่โง่เขลาตามไปด้วย ฉะนั้นอย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งที่เป็นมหา เปรียญหรือสิ่งที่สะสมมาแต่อดีตนั้นตั้งแต่เด็กจนแก่ จะเป็นสิ่ง ที่ดีๆ ที่ทำลายความอัปรีย์ในตัวเราลงไปได้ แต่จะทำยังไงเรื่องนี้ต้องฝากให้ไปทำ
ท้าย ที่สุดนี้ก็ต้องบอกว่าอะไร ๆ ที่ผมล่วงเกินไปด้วยกาย วาจา ใจ ด้วยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ จริงๆ แล้วไม่ได้มีความตั้งใจจะล่วง เกินใคร แม้แต่คำตำหนิติติงตักเตือน กล่าวว่าหรือแซวอย่างเจ็บช้ำหรืออย่างไรก็ตามผมทำไปด้วยความเอื้ออาทรทั้ง นั้น ด้วยความปรารถนาสุข อยากชี้ให้รู้ว่าขุมทรัพย์ที่บริสุทธิ์อยู่ตรงไหน ด้วยความ เตือนสติให้รู้ว่าควายที่กำลังเดินไปข้างหน้านั้นกำลังจะตกเหว ตก ร่อง ตกรู เพื่ออยากจะบอกความเอื้ออาทรในชีวิตของความเป็นครู เพื่อให้ศิษย์ได้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเป็นโทษเป็นภัย เมื่อเราชะงักหยุดรอมันได้ เราก็เจริญ ก็อย่าถือโทษโกรธเคืองอะไร ๆ ที่ทำให้ไม่สบายใจกันเลย ก็แค่นี้ล่ะ
วันนี้ถือเป็นวัน พิเศษๆ ข้างหลังได้ยินไหม เพราะถ้าใช้ไมค์แล้วมันจะอู้อี้ เสียงหล่อดีๆ จะหายไปซะ วันนี้ถือเป็นวันพิเศษที่ได้มาสวดมนต์ร่วมกันภาษาวิชาการ เขาต้อง เรียกว่า "เจริญพระพุทธมนต์" สำหรับคำว่า "สวด" ใช้กับ "งานอวมงคล" เช่น งานศพ งานทำบุญกระดูกแต่ชาวบ้านเขาก็พูดกันติดปาก แต่ถ้าในงานมงคลใช้คำว่าเจริญ "เจริญ พระพุทธมนต์" วันนี้ก็คือว่าเรามาร่วม "เจริญพระพุทธมนต์" เพราะมันเป็นมงคล มันจะเป็นมลคงได้ก็ต่อเมื่อเราทำอะไรๆ ให้ดูแล้วดี มีเสน่ห์ต่อผู้พบเห็นและฟัง
บหลวงปู่แล้วนิยมทำอะไรให้ มีศิลปะ ถ้าให้เลือก ระหว่างคำต่างๆ และระหว่างพิธีการพิธีกรรมต่างๆ ที่จะปรากฏขึ้น หลวงปู่ชอบที่จะเลือกใช้ประโยคและถ้อยคำที่พูดว่าศิลปะเพราะในศัพท์นี้มัน บรรจุไว้หลายๆ อย่าง มากมาย หลายแขนงวิชาอยู่ในคำว่าศิลปะ
ที่ พูดที่คิดที่แสดงหรือทำอะไรอย่างมีศิลปะถือว่าเป็นคนมีเสน่ห์ โบราณเขาบอกว่า คนที่มีเสน่ห์คือคนที่ไปลงนะหน้าทอง นะหน้าเงินปลุกเสกเลขยันต์ จริงๆ แล้วไม่ใช่ คำว่าเสน่ห์ของ คนโบราณคือ ทำอะไรให้มีศิลปะเป็นที่ชอบใจ เป็นที่เจริญหู เจริญตา เจริญใจต่อผู้ได้พบเห็น ช่น พูด คำพูดมีศิลปะก็ทำให้ผู้ฟังไม่เบื่อ มีเสียงทุ้มเสียงหนัก เสียงเบา เสียงยาว เสียงสั้น เสียงแหลม ฟังแล้วไม่เบื่อ ใช้เสียงอักขระวิธีการให้ตรงถูกต้องวรรณยุกต์ลักษณะและสมัยของภาษานั้นๆ ถ้าคน เหล่านั้นพูดได้อย่างนี้ พระพุทธเจ้าเรียกเสียงนี้ว่าเสียงของท้าวมหาพรหม เพราะฟังแล้วไม่ต้อง ระทมกับการต้องมาแปล คือฟังแล้วรู้เรื่อง เข้าใจได้ใจความได้ความหมาย ฟังแล้วทำให้เราซึมสิงเข้าไปในหัวใจ สมองและทำได้ด้วย ถือว่าเป็นการพูดอย่างมีศิลปะ
นักร้องก็เหมือนกัน ถ้าร้องเพลงใดๆ แล้วเป็นที่เชิดหน้าชูตา คนทั้งหลายนิยมรักใคร่ โปรดปราน ก็ต้องยอมรับว่านักร้องผู้นั้นเป็นผู้ร้องเพลงอย่างมีศิลปะ เช่น ใช้วรรณยุกต์ ใช้ภาษาร้อง และท่วงทำนองที่ไพเราะเสนาะหู จำง่าย เด็กก็สามารถร้องตามและฟังรู้เรื่อง รวมความแล้วคำว่าศิลปะนอกจากบรรลุประยุกต์ในบทความ คำพูด บรรลุการร้องก็ยังบรรลุในศิลปะการแสดง ดาราคนใดถ้าสามารถแสดงบทต่างๆ ได้อย่างแนบเนียนละเอียดอ่อน ที่เขาใช้ภาษาดาราหรือชาวโลกว่า ตีบทแตก แสดงว่านักแสดงผู้นั้นแสดงอย่างศิลปะ เรียนรู้จบหลักสูตรศิลปะการแสดง
นัก วาดเขียน นักแต่งกลอน แต่งบทกวี สิ่งเหล่านี้รวมความว่าเป็นศิลปะ มันรวมไปถึงการมีชีวิต การแต่งบทเพลง การบรรเลงเครื่องดนตรี และศิลปะอย่างนี่ไม่มีเฉพาะชาวโลก สำหรับศาสนาแล้ว ศาสดาของเราเป็นยอดแห่งศิลปะ
เมื่อสมัย 2,000 กว่าปีก่อน พระองค์เรียนรู้ศิลปศาสตร์หลายวิชาจบหลักสูตรหลายแขนง เช่น ศิลปะการต่อสู้ ศิลปะการแต่งบทกวี ศิลปะการวาดรูป ศิลปะการยิงธนู ศิลปะการกล่าวกลบท คือการกล่าวบทปริศนาธรรม ศิลปะการต่อปากต่อคำ นั่นคือถามแล้ว ปุจฉาและวิสัชนา ศิลปะของความเป็นผู้นำ ศิลปะกระบี่กระบอง เพลงไม้พลองและดั้งเหล่านี้โบราณเรียกว่าศิลปะ ถ้าใครทำได้ก็เป็นที่เชิดหน้าชูตา เจริญหูเจริญตาต่อผู้พบเห็น
เมื่อ พระองค์เข้ามาบวชในพุทธศาสนา บรรลุอนุตรสัมมาสัม-โพธิญาณใฝ่หาพระธรรมจนสำเร็จมรรคผล นิพพานได้ พระองค์ก็สั่ง สอนมหาชน อย่างมีศิลปะ เช่นถ้อยคำที่ทรงพูดกับคนบางคน บางประเภท บางขณะบางลักษณะ บางสังคม บาง หัวเมือง บางประเทศ พระองค์จะทรงใช้ถ้อยคำและน้ำเสียงคล้ายๆ และกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมและสังคมนั้นๆ ทำให้คนเหล่านั้นฟัง แล้วเจริญหู เจริญตาเจริญใจ ถึงขนาดมีคนเห็นพระองค์ทรงเดินไป บิณฑบาต บวชใหม่ๆ เหล่าแม่ยก แม่ยาย และแม่ใหญ่ทั้งหลายสาวแก่แม่ม่าย พ่อเฒ่าพ่อแก่เห็นองค์พระศาสดา ทรงเดินยุรยาตร ออกไปหาภิกขาจารคือหาอาหารในยามเช้า ถึงกับปรารภกันให้อึง มี่ว่า บุรุษผู้นี้ถ้าเป็นสามีใคร เมียก็ได้เป็นนิพพาน ถ้าเป็นลูกเต้าเหล่าใคร พ่อแม่ก็นิพพาน แปลว่าดับแล้วก็เย็น เพราะเป็นผู้เจริญ หูเจริญตาเจริญใจแก่ผู้พบเห็นข้อนี้ พิสูจน์ได้ว่าพระองค์ทรงมีศิลปะ แม้กระทั่งการเดิน ขณะเดินชาวบ้านก็ยังชมว่าถ้าเป็นผัวใครเมียก็ สบายใจ ถ้าเป็นลูกใครพ่อแม่ก็สบายใจ ถ้าเป็นพี่น้องของใคร ญาติ พี่น้องก็สบายใจ แสดงว่าสมัยก่อนไม่ได้มุ่งสอนเฉพาะศิลปะขับร้อง ฟ้อนรำ วาดรูป ต่อสู้ เขารวมไปถึงการมุ่งสอนศิลปะของการเดิน ยืน นั่ง และนอน คนโบราณๆ เวลาทำอะไรจึงมองดูแล้วองอาจ สง่าผึ่งผาย และกล้าหาญ ไม่หลบๆ ซ่อนๆ เปิดเผย สิ่งเหล่านี้ได้มาจากการสืบทอดเรียนรู้ศิลปะการมีชีวิตอยู่
เมื่อ เป็นอย่างนี้ เราได้ชื่อว่าเป็นสาวกของพระพุทธศาสนา มี ศาสดาเป็นเจ้าแห่งศิลปศาสตร์ทั้งปวง เพราะชาวโลกยอมรับพระองค์ว่าเป็นจอมปราชญ์แห่งศิลปะทั้งปวง เป็นจอมราชันแห่งโลก ทั้งปวง เป็นศาสดาเอกของโลกทั้งปวง พระองค์เป็นโลกวิทูผู้รู้แจ้ง ก็แสดงว่าพระองค์รอบรู้ศิลปศาสตร์ทั่วโลก แล้วเมื่อเราเป็นศากย-บุตร เป็นพุทธชิโนรสเป็นลูกหลาน แห่งศากยะก็ถือว่าเป็นลูกหลาน แห่งพระศาสดาผู้รอบรู้แห่งศิลปศาสตร์
เพราะ ฉะนั้นการมีชีวิตอยู่ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ต้อง เต็มไปด้วยศิลปะ เต็มไปด้วยความรอบรู้ รู้แจ้งไม่ใช่เพียงแค่รู้จำ รู้จริงต้องทำได้ด้วยแต่ถ้ารู้จำมันทำไม่ได้ เมื่อเรารู้ว่าเราไม่ใช่คนสามัญธรรมดา เราทั้งหลายที่มานั่งที่นี่เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของพระ ศากยะคือผู้อาจผู้กล้า ผู้ยิ่งใหญ่เป็นลูกหลานโลกวิทูรผู้รู้แจ้งโลก ทั้งหลาย ก็แสดงว่าเราเป็นลูกหลานของจอมปราชญ์แห่งศิลป ศาสตร์ทั้งปวงแล้วก็ควรจะได้รับอะไรดีๆ เข้ามาบ้างซึ่งควรจะได้ มาจากการฝึกปรือเรียนรู้และครูผู้ใจอารีคอยอบรมสั่งสอน ..................................
ศาสนาพุทธในประเทศ ไทยมันยังไงก็ไม่รู้ เพราะเวลาศาสนาพุทธ เข้าศาสนาญี่ปุ่น ก็เปลี่ยนภาษาพูด เป็นภาษาญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นเวลาสวดมนต์ก็รู้ว่าสวดเรื่องอะไร ว่าอย่างไร และก็ทำได้ตามนั้น ศาสนาพุทธเข้าประเทศจีนมันก็เปลี่ยนบทสวดเป็นภาษาจีน เข้าประเทศฝรั่งก็เปลี่ยนบทสวดเป็นภาษา ฝรั่ง เข้าประเทศลาวก็เปลี่ยนบทสวดเป็นภาษาลาว แต่เข้าประเทศไทยมันเปลี่ยนไม่ได้ เพราะกลัวไม่ศักดิ์สิทธิ์
รุ่นพ่อรุ่นแม่เราว่านะโมมา ตั้งแต่เกิดยังไม่รู้เลยว่าแปลว่าอะไร เมื่อไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร ก็ไม่รู้จะสวดทำไม เพราะยิ่งสวดก็ยิ่งโง่ ถ้าสวดอย่างนี้เรียกว่าสวดแบบไม่มีศิลปะ ถ้าสวดแบบมีศิลปะต้องสวดแบบผู้รู้ ผู้ตื่นรู้ในบทสวดที่เราเจริญนั้น แล้วจำทำได้ด้วย แล้วในเสียงที่เปล่งออกไปในการสวด
ในทิเบตถือนักหนาใน เรื่องเสียง บทที่สวดออกไปจะต้องเปล่ง ออกมาจากลำคอ และต้องสูงต้องทุ้มต้องต่ำ ต้องแหลมตามวรรณ ยุกต์ และภาษาอักขระวิธี ไม่ใช่ตะเบ็งออกมาเหมือนเสียงควายออกลูก แล้วไม่รู้ว่ามันจะจบหรือไม่จบ ไม่ได้ฟังใครเขาทั้งนั้น ฉะนั้น สำหรับหลวงปู่แล้วชอบที่จะทำชีวิตให้มีศิลปะ
สำหรับชาว พุทธ ศาสนาสอนให้เรารู้ว่าการนับถือศาสนา การเรียนรู้ ทำให้ชีวิตคนมีศิลปะทำอะไรทุกอย่างเป็นศิลปะ ซึ่งมันก็จะตรงกับหลักมัชฌิมาปฏิปทา ที่สรุปลงท้ายว่าความรู้ชอบ ความเพียรชอบความ เจริญสติชอบการเรียนรู้ชอบ การพูดชอบ การตั้งใจชอบ การประกอบ อาชีพชอบ ทุกข้อลงท้ายว่าชอบ คน ดูก็ชอบ คนทำก็ชอบ คนลงมือก็ชอบ ช่วยกันทำต่างคนต่างก็ชอบ อย่างนี้ ถือว่ามีชีวิตเต็มไปด้วยความชอบ เต็มไปด้วยศิลปะ วันนี้คนสวดจึงจำเป็นต้องชอบ ไม่ใช่ชอบด้วยการบังคับ แต่ชอบด้วยสมัครใจชอบที่จะสวดและเปล่งเสียงให้ถูกอักขระ วิธีการและวรรณยุกต์ คนฟังเราสวดเขาก็ชอบด้วยความรู้สึกสำนึกว่ามันเป็นบทสวดของผู้เจริญ ผู้มีศิลปะสวด ถ้าสวดอย่างมีศิลปะโบราณๆ นี่ พระไตรปิฎก บอกไว้ว่า พระเณรที่สวดมนต์ในถ้ำ เจริญพระพุทธมนต์อยู่ในถ้ำ สวดอย่าง มีศิลปะ เสียงทุ้มเสียงต่ำ เสียงแหลม ค้างคาวที่เกาะอยู่บนผนังถ้ำ 500 กว่า ตัว ได้ฟังเสียงสวดเพลิน ถึงขนาดพร้อมใจกันปล่อยตีนที่เกาะจากผนังถ้ำด้วยความเผลอหัวโหม่งพื้นตาย ทั้งหมดในทีเดียว แต่เพราะเสียงสวดที่จับจิตจับใจค้างคาวทั้งหลาย ทำให้บทสวดนั้นๆ เป็นกุศลส่งให้วิญญาณให้จิตไปเกิดในชั้นดุสิตได้เป็นเทวดาเป็นเทพบุตรได้
เรา เองก็เหมือนกัน ชาวบ้านเขามาฟังเราสวดมนต์ โดยเฉพาะเราเป็นลูกหลานของชาวศิลปศาสตร์ เป็นลูกหลานของจอมราชันย์แห่งศิลปะในโลกและจักรวาล การสวดมนต์ก็ควรจะมีศิลปะ หลวงปู่สังเกตฟังมาหลายมื้อแล้วบางทีมันก็มากันคนละวง เวลาจบจะไม่พร้อมกัน ข้างหน้าขึ้นนะโม ข้างหลังยังไม่ตัสสะเลย ไม่รู้ว่าอะไรกัน มั่วไปหมด ทำเป็นคลื่นซัดฝั่ง แสดงว่าเราไม่รู้ศิลปะในการสวด...
ไง เมื่อคืนไม่ได้นอนหรือ นี่เห็นไหม พูดอย่างมีศิลปะ พูดจนลิงหลับได้ด้วย ฉะนั้นเดี๋ยวเรามาสวดมนต์กันแล้วก็สวดให้มีศิลปะ
การสวดมนต์ให้มีศิลปะแบบพุทธะก็คือ
ใช้ ใจ สวดให้มันซึมเข้าไปในหัวใจ สวดแล้วให้เกิดปีติสุขในใจ สวดแล้วเกิดตามสงบ และสันติภายใน เรียกว่าสวดอย่างมีศิลปะ ถ้ายิ่งสวดแล้วยิ่งง่วง ยิ่งมึน ยิ่งโง่ นอนดีกว่า อย่าไปสวดเลย แสดงว่าเราสวดไม่เป็น
หลวง ปู่ชอบที่จะสวดมนต์แล้วก็สวดมากๆ ยิ่งสวดมนต์ก็ยิ่งทำให้เราสว่าง สะอาด สงบ จิตใจเยือกเย็นมากขึ้น นั่นเรียกว่าภาวนามัยเป็นกุศลเดี๋ยวเราลองมาสวดกันอย่างชนิดที่เป็นพุทธะ สวดแบบค่อยๆ สวดแบบเรื่อยๆ ให้ชัดถ้อยชัดคำและสบายๆ อย่างผู้รอบรู้ในศิลปะการสวดมนต์ แล้วสิ่งที่เราได้ก็คือจิตใจที่กล้าแข็ง ...............................
...มีเรื่องอะไรมากมาย ที่จะคุยให้ฟัง แต่ก็คงจะไม่ใช่กาลไม่ใช่สมัยที่สมควร เพราะต่างคนต่างก็นั่งกันมานานมากแล้ว แต่มีเรื่องนิดหน่อยอยากจะฝากเอาไว้สำหรับหนูๆ ทั้งหลายที่อุตส่าห์ตะกายกันขึ้นมาสวดมนต์บนนี้ แล้ว ก็ตะกายลงไปนอนในป่า
อยาก จะเตือนพวกเราให้รู้ว่า อย่าทำตนเป็นทัพพีคนแกงเพราะมันอยู่ในหม้อก็คนแกงก็มั่วอยู่ในน้ำแกงคน จนกระทั่งสึกงอและพังไปในที่สุด แต่มันไม่เคยรับรสแกงเลย
เรา ทั้งหลายที่อยู่ในพระธรรมวินัย นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์อยู่ในพระศาสนา ถ้ามันไม่รู้เรื่องอะไรในพระธรรมวินัยที่นำไปปฏิบัติก็ไม่ต่างอะไรกับทัพพี คนแกง โดยไม่ได้ประโยชน์อะไร คือประเด็นที่หนึ่ง อีกประเด็นหนึ่งก็คือที่พวกเราอุตส่าห์ออกมาจากหัวเมืองเข้ามาอยู่ในป่า ซึ่งมีทั้งป่าชัฏ ป่าช้า อะไรก็แล้วแต่ ซึ่งถ้าเราไม่โง่เกินไปก็คงจะได้อะไรๆ ให้มันเบาๆ ออกไปจากตัวเราบ้าง เพราะ ในป่าเขาลำเนาไพรมันมีกลิ่นอายของธรรมชาติ ของสรรพสิ่งที่ไร้มายากล มีกลิ่นอายของสติและความสงบ สดชื่นของความมีชีวิตวิญญาณ ซึ่งเราควรจะ รู้อะไรๆ จากสิ่งเหล่านี้บ้าง ควรได้สิ่งดีๆ ความสงบสดชื่น เบิกบานแจ่มใส สิ่งใดๆ ที่เป็นธรรมชาติ ควรจะซึมสิงเข้าไปในหัวใจซะบ้างเพราะมันจะทำให้จิตใจปลอดโปร่ง ไม่หงุดหงิดไม่ฟุ้งซ่าน รำคาญ หรือเป็นโกรธง่าย ความสงบ และสันติเกิดขึ้นภายใน แสดงว่าเราไม่ใช่ทัพพีคนแกง แต่เรากลายเป็นสำลีที่ดูดรสน้ำแกงได้ ถือว่าเราได้ประโยชน์จากการมาครั้งนี้
ทัพพี ประเภทที่สามคือครูบาอาจารย์ อบรมสั่งสอนของดีไปมามากมายมหาศาล ถ้าเราไม่ได้ทำให้มันเกิดประโยชน์อะไรขึ้นมา ก็ไม่ต่างกับทัพพีคนแกง หรือว่าสากกะเบือตำน้ำพริก ซึ่งไม่รู้รสชาติของพริกที่มันตำ ไม่รู้รสแกงที่มันคน ครูอุตส่าห์อบรมขัดเกล้าให้อยู่ในพระธรรมวินัยให้ออกไปเป็นลูกที่ดีของพ่อ แม่ เป็นพี่ที่ดีของน้อง เป็นเยาวชนที่ดีของชาติ เพียงเพื่อจะอบรมให้เราเป็นคนดี แต่ถ้าเราไม่รับฟัง ฟังแล้วไม่ทำตาม ก็ไม่ต่างกับสากกะเบือที่มีไว้ตำน้ำพริกหรือทัพพีคนแกง ไม่ต่างอะไรกับไม้พายที่ใช้กวนขนม คนจนไม้พายหัก ก็ยังไม่รู้รสขนมที่ตัวเองลงไปกวนเลย เพราะฉะนั้นหวังว่าทุกคนคงจะไม่เป็นดังนี้ มาอยู่ตรงนี้ก็สงบ ถ้าเราซึมซับก็จะรู้ว่าได้อะไรดีๆ ให้กับเราเรามาอยู่ ในป่าเขาลำเนาไพร พระ ชี ก็มาอยู่ เพราะต้องการซึมซับอิงแอบอำนาจของป่า เขาลำเนาไพร ป่ามันมีพลังอำนาจในตัว นั่นคือความเงียบกับความสงบ ซึ่งสามารถทำให้เราสยบ ผวาหวาดกลัวได้ทุกเวลานาที ถ้าเราเป็นคนสงบและเงียบ ยิ่งกว่าป่าก็จะกล้าเดินคนเดียวในป่าอย่างรื่นเริงบันเทิงใจไม่ต้องกลัวใคร เหยียบ ย่ำบีฑา เพราะเราสงบจริงๆ จึงกล้าอยู่ในป่าคนเดียว โดยไม่หวาดผวาและยุ่งเกี่ยวกับอะไร
แต่ถ้าเมื่อใดที่เรา รู้สึกกลัวและหวาดผวา แสดงว่าใจเราไม่กล้าทำให้เกิดความไม่สงบ และไม่เคยคบหากับความสันติ ความสว่างและความสะอาดของใจเลย ฉะนั้นเราต้องการสยบป่าให้อยู่ใต้มือใต้เท้าเราก็ต้องทำตัวเราให้เงียบ และ สงบ มีสันติในใจ ถ้าทำได้อย่างนี้เราก็ไม่ใช่ทัพพีคนแกง แต่เป็นสำลีที่ ซึมซับทุกๆ อย่างได้ ก็อยากฝากไว้ตรงนี้แค่นี้
...เรามี ใจที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อนาทรต่อ ชาวบ้านจริง ๆ สิ่งนี้จะเป็นผล ตอบสนองมาสู่เรา ทำให้เราได้รับประ-โยชน์จากการนั้นๆ อย่างยิ่ง ใหญ่ ก็อยากฝากบอกพวกท่านไว้ว่า ถ้าหวังความสำเร็จและความเจริญในชีวิต โดยเฉพาะผู้เป็น เจ้าอาวาส จะต้องเป็นตัวแทนนำศรัทธาของ ชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นระดับไหน เมื่อนั้นเราก็จะเป็นพระในหัวใจของเขาเป็นผู้ควรแก่การเคารพกราบไหว้ของทุก ชนชั้น สังเกตดูว่าอย่างหลวงปู่ไปอยู่ที่ไหน ไม่มีใครตั้งข้อรังเกียจ ถึงไม่เข้าใจก็ไม่เข้าใจได้ไม่นาน ถ้า ความรู้สึกที่ เราแสดงออกถึงความสำนึกและยอมรับถึง แม้ว่าปากหลวงปู่จะพูดไม่เพราะไม่นิ่มนวล แต่ในใจของ หลวงปู่ นั้นซื่อตรงยุติธรรม และบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา ขอเพียงจิตใจที่สะอาดแล้วสัจธรรมอันสะอาดก็จะปรากฏแล้วความเจริญก็จะเกิดแก่ ท่านและวัดของท่าน ตามความปรารถนา
เอาล่ะ ท้ายที่สุดนี้ก็ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสามโลกและสากลโลก จง อภิบาลปกปักษ์รักษา
คุณ งามความดีอันใด...ด้วยความผาสุกสวัสดี ขอ สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นจงรวมกัน... เดชะ บารมี ดลบันดาล ให้เจ้าอาวาสวัด...และชาว...รวมทั้งลูกวัดทั้งหลายจงอยู่ ในพระธรรมวินัย ร่มเย็นเป็นสุข มีความเจริญในพระศาสนาธรรมและพรหมจรรย์ในศาสนายิ่งๆ ขึ้นไปตลาด กาลนานเทอญ ..............................
ท่าน ทั้งหลายจำไว้ว่าพหูสูตและบัณฑิต ปราชญ์ ที่แท้จริงนั้น ก่อนที่เขาจะเป็นผู้รู้ที่ดีต้องเริ่มต้นจากการ เป็นผู้ฟังที่ดีก่อน ถ้ายังเป็นผู้ฟังที่ดีไม่ได้ก็จะรู้เรื่องดีๆ ของใครไม่ได้ ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องเหลวไหลอย่างไร เขาย่อมรู้จักเลือกในสิ่งที่เขาควรจะฟัง
ตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้าทรงยกพระอานนท์ว่าเป็นพหูสูต ผู้เลิศในความทรงจำ และสรรพรู้ รอบรู้ทุกๆ สูตรที่พระองค์ทรงแสดง เหตุผลที่พระอานนท์ได้รับยก ย่องอย่างนี้ก็เพราะว่า พระอานนท์มีคุณธรรมชนิดหนึ่งก็คือเป็นผู้ฟังที่ดี จึงได้รับยกย่องว่าเป็นพหูสูต เป็นปราชญ์ราชบัณฑิต
ผม นี่ไม่ว่าจะไปที่ไหน ผมเป็นผู้ฟังที่ดี ฟังเขาด่าก็ยังนั่งพรมมือ ฟังอย่างดี เป็นผู้ฟังที่ดีเสมอ ทั้งๆ ที่สิ่ง เขาด่ามันไม่จริง แต่เมื่อใดที่ควรจะแสดง และพูด คนที่ เขาพูดให้ผมฟังเขาก็ต้องฟังผมได้ เพราะผมแสดงให้เขา ดูว่าผมเคารพในเหตุผลที่เขาแสดงก่อน เมื่อใดที่ผมอยากพูดออกมา เขาก็ต้องเคารพในเหตุผลของผมและ ยอมรับฟังด้วย แต่ถ้าผมทำตัวไม่เคารพในเหตุผลของใครก่อน ถึงผมจะมีเหตุผลที่ดี เขาจะมาฟังผมได้ยังไง นี่คือ หัวใจของปราชญ์ราชบัณฑิต จะสอนใครตัวเองต้อง เป็นผู้โดนสอนอย่างดีมาก่อนคือต้องเป็นผู้รับฟังเรื่องต่างๆ ของชาวบ้านด้วยใจเป็นกลางและมีศิลปะและปัญญา
ก่อนที่พวก ท่านจะเป็นปราชญ์เป็นครูสอนใคร ท่าน ต้องเป็นผู้รับการสอนที่ดีก่อน เมื่อถึงเวลาที่จะแสดงต่อ ใครหรือแสดงต่อคนที่สอนท่าน เขาก็จะฟังและเคารพท่านอย่างดีเหมือนที่ท่านฟังและเคารพเขาและได้ประ-โยชน์ จากการฟังของเราด้วย
ฉะนั้นพวกท่านจงจำไว้ คิดจะเป็นครูเขา เป็นบัณฑิตคิดจะสอนใครท่านต้องยอมโดนอบโดนรมให้ได้ก่อน
การ ที่ผมสามารถรู้โรคของเขา รู้ทุกข์สุขของเขา เพราะผมเป็นผู้ฟังที่ดีไม่ใช่ฟังเฉพาะหู ผมรับฟังทั้งลูกตา จมูก หู บางสัมผัสและบางอิริยาบถของเขา ผมจึงสามารถ วิเคราะห์ใคร่ครวญพิจารณาสิ่งที่เขาเป็นเขามี แล้วแก้ไขสิ่งที่เขาบกพร่องได้ วิชาอย่างนี้พระพุทธเจ้าเรียกว่า อาเทศนาปาฏิหาริย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น