จริงๆแล้วทุกคนหายใจได้ แต่รู้บ้างมั้ยว่า เรายังหายใจกันไม่เป็น มาดูกันว่าชีวิตที่มันยืนยาว กับชีวิตที่สั้น มีลมหายใจต่างกันอย่างไรลอง สังเกตดูว่า ไม่ว่าจะเป็นนกก็ดี หมูก็ดี หนูก็ดี ปลาก็ดี ไก่ก็ดี หมาก็ดี แมวก็ดี มันจะมีลมหายใจถี่และไม่เป็นจังหวะเข้า-ออก ที่สม่ำเสมอ
ทาง วิทยาศาสตร์ถือว่า ลมหายใจที่เข้า มันสูดเอาสิ่งดีๆเข้าไป เพื่อจะปรุงเป็นโลหิต ไปหล่อเลี้ยงร่างกายให้มีพลัง การหายใจยาวๆหมายถึง การได้สูดเอาของดีๆ ให้เข้าไปขับไล่ของเสียออกมาจากการหายใจออก ในขณะเดียวกันมันก็ทำหน้าที่ปรุงพลังให้กับร่างกาย
มีเรื่องพิสูจน์ ยืนยันได้ว่า การหายใจเข้า-ออก ยาวกว่าคนปกติธรรมดา จะมีชีวิตยืนยาวได้เป็น ๓๐๐-๔๐๐ ปี หรือไม่ตายแม้กระทั่งฝังทั้งเป็น อย่างในประเทศอินเดีย มีโยคีนอกศาสนาเรียนวิชาโยคะ วิชาโยคะมี ๓๘ ท่า ในท่าสุดท้ายจะมีวิธีการฝังตัวและหายใจแบบกบ เรียกว่า กบจำศีล มีอาจารย์โยคะท่านหนึ่ง สามารถที่จะฝังตัวเองได้เป็นสิบปี เมื่อถึงเวลาแล้วลูกศิษย์ไปขุดดู ปรากฏว่าอาจารย์ยังสบายดี ไม่ตาย ทั้งนี้ก็ได้มาจากการหายใจ ความละเอียดอ่อนของลมหายใจ และการรู้จักขั้นตอนในการระบายลมเข้าและออก
ฉะนั้น "ลมหายใจ" นอกจากจะมีประโยชน์ในการให้พลังต่อร่างกายแล้ว มันยังหล่อเลี้ยงให้เรามีชีวิต มีพลังความคิด และมีอำนาจต่างๆเกิดขึ้นมากมาย จากการที่คนหายใจเป็น สัตว์หายใจเป็น
แต่ ผู้ที่หายใจไม่เป็น สัตว์ที่หายใจไม่เป็น เราจะเห็นว่า อายุจะสั้น เช่น แมวตายก่อนหมา หมาตายก่อนควาย ควายตายก่อนวัว วัวตายก่อนช้าง ช้างตายก่อนปลาวาฬ อะไรเหล่านี้ จะเห็นว่ามันมีการหายใจต่างกัน
ถ้าถามว่าเกี่ยวกับระบบสรีระด้วยรึเปล่า? เกี่ยวกับปอด เกี่ยวกับถุงลม เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ด้วยรึเปล่า?
สิ่ง เหล่านี้ไม่ใช่เกิดขึ้นโดยกรรมพันธุ์อย่างเดียว แต่มันเกิดขึ้นโดยการกระทำด้วยเหมือนกัน เช่น ถ้าเราฝึกปรือให้เด็๋กทารกรู้จักหายใจเข้ายาว ออกยาว เป็นจังหวะ มันก็สามารถที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมทางร่างกาย เปลี่ยนแปลงกรรมพันธุ์ทางร่างกายได้อย่างน่าอัศจรรย์ทีเดียว
เช่นใน กรณีของคนที่มีพันธุ์หน้าอกเล็ก ปอดเล็ก ถุงลมเล็ก ถ้าเราฝึกให้รู้จักหายใจเป็น หายใจเข้าและออกยาวตั้งแต่เล็กๆ มันจะสามารถขยายทรวงอก ขยายโครงสร้างของร่างกาย และขยายอวัยวะต่างๆในร่างกายให้ทำงานได้เหมือนกับคนที่มีร่างกายแข็งแรงใหญ่ โต เรื่องนี้เป็นเรื่องทางวิทยาศาสตร์
หลวงปู่เคยใช้วิชาหายใจรักษาคน ที่เป็นโรคปอด เป็นมะเร็งในปอด จนปอดเหลือข้างเดียว ตอนนั้นเค้าอายุ ๔๐ กว่า จนอยู่มาได้ถึง ๗๐ กว่า ด้วยวิธีการค่อยๆผ่อนลมหายใจให้เป็นปกติ
การ หายใจเข้าลึกๆและผ่อนคลายออกยาวๆ นั้น มันจะสามารถขับความร้อนในกายที่เกิดจากการเสียดสีของการทำงาน มันจะขับของเสียที่มีอยู่ในกายออกไป ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องออกมาเป็นเหงื่อ
แน่ นอนละ ทางการแพทย์ย่อมรู้ว่า การขับเหงื่อออกมาเป็นการดี เพราะสามารถจะระบายของเสียในร่างกาย แต่ของเสียในร่างกาย มิใช่ออกมาจากเหงื่ออย่างเดียว มันออกมาจากลมได้ก็มี
พวกเราจะสังเกต เห็นว่า หลวงปู่ไม่มีเหงื่อหยดติ๋งๆ ไม่ใช่เพราะว่าต่อมต่างๆมันอุดตัน แต่หลวงปู่จะใช้วิธีการหายใจ ระบายของเสียโดยลม แต่ไม่ยอมให้ร่างกายเสียน้ำ เพราะถ้าเสียน้ำมากจะเพลียมากกว่าเสียลม คนที่เหงื่อออกมากๆ ในเวลาทำงานนั้น เมื่อเลิกทำงานจะรู้สึกเพลียและกะปลกกะเปลี้ยไปหมด คือว่าร่างกายเสียน้ำ ขาดน้ำ แต่หลวงปู่พยายามทำให้เหงื่อออกน้อยที่สุด แล้วพยายามระบายลมให้คงที่ เป็นปกติ ความเหนื่อยของเราก็จะผ่อนคลายออกมากับลมหายใจที่พ่นออก พลังเราก็จะเข้าไปกับลมหายใจที่สูดเข้า และเมื่อถึงเวลา เราจะระบายของเสียอีกประเภทหนึ่งออกมา ก็คือ ปัสสาวะ ถ้าเราเหนื่อยจัด หรือว่ามีของเสียมาก เราจะรู้สึกปวดปัสสาวะ นี่คือเทคนิคของผู้ที่มีศิลปะในการกำจัดของเสีย
พวกที่รู้จักการหายใจ มีศิลปะในการระบายลมหายใจ นอกจากร่างกายจะมีพลังปกติ โคจรได้อย่างสมบูรณ์ ยังมีเคล็ดวิเศษในวิชานี้อีก คือ สามารถดูดพลังจากธรรมชาติได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ถ้าไม่เชื่อ ลองถามลูกหลานที่เคยอยู่ใกล้หลวงปู่ว่า ถ้าหลวงปู่เป็นลมล้มลงไป จะไล่ทุกคนออกจากห้องทั้งหมด ขอเพียงอยู่ลำพังสัก ๓ - ๑๐ นาที หลวงปู่สามารถลุกขึ้นมาทำงานได้เป็นปกติทุกอย่างเหมือนมีพลังเท่าเดิม เพราะสามารถจะดูดพลังจากไอของความชื้น ความร้อน สุริยัน จันทรา และสิ่งแวดล้อมได้
ใครจะปฏิเสธมั้ยว่า ผิวหนังสามารถจะหายใจและระบายของเสีย พร้อมๆ กับสูดเข้าได้ ถ้าปฏิเสธตรงนี้ ก็ต้องบอกว่า ถ้าอย่างนั้นเชื้อโรคและของที่เป็นพิษเข้าทางผิวหนังได้อย่างไร นี่แหละศิลปะในการหายใจ ทำให้เราสามารถหายใจทางผิวหนังได้ สูดของเสียและระบายของเสียออกจากผิวหนังได้ ในขณะเดียวกันก็สูดอากาศเข้าสู่ผิวหนังได้ ก็อย่างที่เล่าว่าโยคีที่ฝังตัวเองไว้เป็น ๑๐ ปียังไม่ตาย เค้าหายใจทางไหน ได้รับน้ำกับความชื้นจากอะไร ก็จากผิวหนัง นี่คือศิลปะการสูดลมหายใจเป็นปกติและเทคนิคพิเศษ
พระศาสดาจึงยกย่องว่า
"ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอันใด อันเลิศเท่าอานาปานะ
ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอันใด อันเลิศเท่ากับการเจริญสติในลมหายใจ
ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอันใดเลิศเท่ากับการรู้จักจะผ่อนคลายลมหายใจให้เป็นจังหวะ สำหรับการมีชีวิตอย่างมีพลังและผาสุก"
เทคนิค ของลมหายใจ มิใช่เพียงแค่จะสามารถสัมผัสกับพลังพิเศษๆจากธรรมชาติอย่างเดียว มันสามารถซึมซับพลังพิเศษๆจากธรรมชาติได้ด้วย ในขณะเดียวกันเทคนิคของการหายใจเข้ายาวและออกยาวนั้น สามารถทำให้เราขับไล่พลังร้าย อารมณ์ร้าย แล้วก็พิษร้ายๆในร่างกายได้อีก ซึ่งเราไม่คิดว่ามันจะทำได้ แต่มันก็ทำได้ผลจริงๆเสียด้วย
หลวงปู่เคย ใช้วิชาลมหายใจขับพิษงูสามเหลี่ยมออกจากกาย สยบพิษตัวต่อ ๑๔ ตัว ไม่ให้เข้าหัวใจ ใช้วิชาลมหายใจสกัดจุด โดยการระบายลม เดินลม ๗ ฐาน ให้เลือดเสียออกมาทางจมูกและปาก พยายามบังคับพิษไม่ให้ซึมเข้าสู่ในสมอง ในสายเลือด ในการหมุนเวียนของเลือด แล้วก็ควบคุมรักษาความสมดุลของหัวใจและการทำงานของสมอง นอกนั้นก็ปล่อยให้พิษซ่านไปตามผิวหนัง เพราะแค่คุม ๒ จุดนี้ร่างกายของเราสามารถอยู่ได้ เราจะมีสติรู้ว่า หัวใจเราปกติมั้ย สมองปกติมั้ย พิษถึงสมองหรือเปล่า
ฉะนั้นอำนาจของการหายใจ มิใช่เพียงแค่เราจะซึมซับพลังธรรมชาติ อณูของบรรยากาศเท่านั้น แต่ยังทำให้เราขจัดอำนาจของพิษร้ายที่เกิดจากภัยของสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์มีพิษทั้งหลายได้ และมันทำให้เราพร้อมที่จะตายอย่างเป็นผู้กล้าได้ด้วย
มี อยู่ครั้งหนึ่งหลวงปู่ป่วย ไอเป็นเลือดตลอดเดือนเต็มๆ แล้วมีเสลดหนา ไออยู่อย่างนั้น จนกระทั่งเสลดไปอุดหลอดลมไม่ให้หายใจ จึงหายใจไม่ออก ขลุกขลักๆ ร้องเรียกใครก็ไม่มีใครได้ยิน ตอนนั้นมันหมิ่นเหม่กับมัจจุราช แล้วความตายมันใกล้เคียงกันถึงขนาดเส้นผมบังเท่านั้นเอง แต่ด้วยพลังของลมหายใจที่เคยฝึกปรือจนเป็นปกติ จึงใช้หลักการหายใจขับเอาพลังเสลดให้ไหลย้อนกลับลงไปในลำไส้ แล้วก็สูดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง พ่นออกมาเป็นก้อนๆ ตั้งแต่นั้นมาก็หายไอ
ศิลปะ การหายใจที่เป็นปกติ เข้ายาวและออกยาว ตอนฝึกใหม่ๆเราจะรู้สึกอึดอัดและปวดหัว ทำให้หัวใจเต้นแรงแล้วก็เหนื่อย แต่อย่าไปเครียดกับการฝึก เราต้องสูดลมหายใจเข้าลึกๆช้าๆ แล้วก็ค่อยๆผ่อนออกมาช้าๆ เป็นระบบ
จริงๆแล้วพวกทหารสอนวิธีนี้ แต่เป็นการสอนแบบชนิดที่ไม่รู้ว่ามันได้ประโยชน์อะไร สอนเพียงแค่จะให้ยกอกขึ้น ให้สูดลมหายใจเพียงแค่จะแบะอก แต่ศิลปะการหายใจมิใช่เพียงแค่ให้แบะอก คนที่หายใจเข้ายาวออกยาวนั้น โครงสร้างของร่างกายจะผึ่งผาย ด้วย จะทำให้โครงสร้างดี ถ้าฝึกตั้งแต่เด็กๆ
ที นี้ ทำอย่างไรถึงจะหายใจเป็น ก็เริ่มต้นจากการฝึกหายใจเป็นปกติเสียก่อน เราเคยรู้มั้ยว่าเราหายใจปกติอย่างไร เข้ากี่ที ออกกี่ที ใน ๑ นาทีเข้ากี่ครั้ง ออกกี่ครั้ง เมื่อเรานับได้รู้ได้ว่า ๑ นาทีเข้ากี่ครั้ง ออกกี่ครั้ง ก็ทำให้มันช้าลงกว่านั้น แล้วเราจะรู้เทคนิคของมันเองว่า จะช้าได้อย่างไร ถ้าเราทำให้ยาวแล้ว มันก็จะยาวเป็นปกติ
หลังจากที่ เราเริ่มหายใจเป็นเพียงแค่หนึ่งชั่วโมงในหนึ่งวัน มันจะมีสิ่งผิดปกติในร่างกายของเราบ่งบอกให้เห็น ลูกตาจะเป็นประกาย สีหน้าจะมีแสงสว่าง ถ้าเรามีดวงตาอันสว่างไสวและมองเห็น จับได้ จะสามารถรู้สัมผัสว่า รัศมีรอบกายจะสว่างรุ่งเรืองแค่ไหน มันอยู่ที่การเดินลมหายใจ เรียกว่า "ฉัพพรรณรังสี"
พระพุทธเจ้า พระศาสดา พระสาวก มี "ฉัพพรรณรังสี" เพราะการฝึกปรือลมหายใจ วิชานี้ถ้าใครฝึกปรือได้ ก็จะสามารถเปล่งพลังแสงในร่างกายให้สว่าง การเปล่งนั้นคนสามัญจะสัมผัสและจับไม่ได้ แต่คนที่มีตาวิเศษ มีหูวิเศษ มีการสัมผัสทางกายที่วิเศษ จะสามารถรู้ได้ว่า คนคนนี้สะอาดแค่ไหน บริสุทธิ์อย่างไร เหมือนกับคนที่รู้จักตัวหิ่งห้อยบินมาในความมืด คนที่ไม่รู้จักตัวหิ่งห้อยก็จะมองว่า เอ๊ะ...นั่นแสงอะไร แต่สำหรับคนที่เคยเห็นตัวหิ่งห้อย ก็จะบอกได้ทันทีว่า นั่นแสงหิ่งห้อย
เมื่อ เราสามารถหายใจยาว เข้าออกยาว จนสามารถสกัดจุดต่างๆในร่างกายได้ สกัดพิษได้ และทำให้ร่างกายสดชื่นในขณะที่สูญเสียพลังได้ เราจะแก่เพียงแค่อายุ เส้นผม ผิวหนัง สายตา แต่สิ่งแวดล้อมในตัวเราจะไม่แก่ตาม ร่างกายและสุขภาพเราจะยังสดใส มีพลัง มีสมดุล พอสมควรที่จะทำกิจกรรมได้
ศิลปะ การหายใจไม่ใช่เพียงให้เรามีอำนาจพิเศษเพียงแค่นี้ มันยังทำให้เราสามารถสำรวจและสัมผัสรังสีที่เกิดจากคลื่นกระแสของความคิดที่ ชาวบ้านมีต่อเรา คือ อิจฉา โกรธ โลภ หลง รัก ชอบ ชัง ยอมรับและปฏิเสธ เราสามารถที่จะสัมผัสได้ละเอียดอ่อนถึงอย่างนี้ในอารมณ์ของคนอื่น เราจะรู้ได้ทันทีว่า คนที่มาหาเราจะมีความรู้สึก ความคิดอย่างไร สมองกำลังทำอะไร มีอารมณ์ปกติหรือผิดปกติอย่างไร โกรธหรือว่าชอบ รักหรือชัง การสัมผัสด้วยลมหายใจอันละเอียดอ่อน มันจะทำให้เราเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น อย่างทรงสติ แล้วเมื่อใดที่เราเหนื่อยอ่อน เมื่อยล้าจากการทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยและเจ็บปวดในอวัยวะทั้งหลายในบางที บางที่ บางตำแหน่ง บางส่วนของร่างกาย เราสามารถจะใช้ลมหายใจเข้าไปผ่อนคลายความเครียดตรงนั้นให้คลายความเจ็บปวด คลายความทุกข์ทรมานลงได้ จนเกือบที่จะหายสนิททีเดียว
หลายครั้งที่ หลวงปู่ใช้ศิลปะในการเดินลมหายใจเข้ามาผ่อนคลายความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ หรือจากการเบียดเบียนของสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น ตอนที่หลวงปู่ทำศาลา แล้วเกือบโดนหินกระแทก ตอนนั้นหลวงปู่ต้องทำมือให้ลีบแล้วก็เกร็งพลังเพื่อที่จะต้านพลังของหินสอง ก้อนที่มากระทบกัน ซึ่งมีมือเราอยู่ตรงกลาง มันเป็นศิลปะที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ ไม่ได้กำหนดโดยสมอง ไม่ใช่สมองสั่งงาน เรียกว่าเป็นอิริยาบถอัตโนมัติทันที เหตุเพราะเราได้ฝึกปรือลมหายใจจนเป็นปกติ เพราะฉะนั้นทุกอย่างมันจะเป็นอัตโนมัติของมัน ถ้าเราฝึกถึงขั้นหนึ่งแล้ว
ถ้า เรายังไม่รู้ว่าการหายใจของเรานั้น เข้ายาวหรือออกสั้น เข้าสั้นหรือออกยาว ก็แสดงว่า เราไม่ได้ควบคุมการหายใจ เราก็ไม่ใช่ผู้ฝึกสมาธิ เราไม่เป็นสมาธิ ไม่รู้จักสมาธิ และนั่นก็ไม่ใช่สมาธิด้วย
แต่ถ้าเมื่อใดที่เราสามารถ ระลึกรู้ได้ว่า ในขณะที่เรากำลังหายใจและการหายใจของเรามันสั้นหรือยาว ออกยาวหรือสั้น เราระลึกรู้ได้และตามติดมันได้ มันจะสามารถบอกเราได้ทันทีว่าความสงบ สันติ จะเกิดขึ้น นั่นแหละคือสมาธิ เป็นสมาธิโดยไม่มีอะไรเข้ามาวุ่นวาย และคิดสับสนในขณะนั้น
คำว่า "สมาธิ" ตัวนี้ แปลว่า ความคิดต้องรวมเป็นหนึ่ง หลวงปู่เคยสอนวิชานิรรูป ให้ลูกหลานรวมกายกับใจ ผนึกรวมกันเป็นหนึ่ง เหมือนกับน้ำที่วิ่งแยกออกไปคนละสายสองสายในสายท่อเดียวกัน น้ำที่วิ่งออกจากตาเห็นรูป เป็นพลังที่สูญเสีย วิ่งจากหูฟังเสียง เป็นพลังที่สูญเสีย วิ่งจากลิ้นที่รับรส เป็นพลังที่สูญเสีย วิ่งออกจากกายไปต้องสัมผัส เป็นพลังที่สูญเสีย ถ้าสายน้ำในท่อไหลแยกออกที่รูรั่วตามจุดต่างๆ ๕ แห่ง มันคงจะไหลไปถึงเป้าหมายอย่างอ่อนแรงเป็นแน่ แต่ถ้าเราอุดรูรั่วทั้งห้าให้หมด แล้วปล่อยให้มันไหลตรงๆไปข้างหน้า แน่ละมันย่อมทะลวง ทำลาย และก็ทลายภูเขา หินผา ที่อยู่ข้างหน้า เพราะมีพลังที่แรงและมั่นคง
ฉันใดก็ฉันนั้น พลังสมาธิของเราก็เหมือนกัน ถ้าปล่อยให้มันลื่นไหลไปกับความรู้สึกอื่นๆ ซึ่งจัดว่าเป็นอารมณ์ นั่นไม่ใช่สมาธิ เราจะสูญเสียพลัง
พวกเรา ฝึกปรือและเรียนรู้ที่จะใช้พลัง แต่ไม่ฝึกปรือที่จะทำให้เกิดพลัง ตลอดชีวิตที่ผ่านมา เราพยายามที่จะเค้นเอาพลังจากส่วนนั้นส่วนนี้มาใช้ แต่เราไม่รู้ว่าพลังเหล่านี้เกิดมาจากอะไร เราจะอ้างว่าพลังเกิดจากร่างกาย แต่จริงๆ แล้วพลังไม่ใช่เกิดจากร่างกายโดยตรง มันเป็นผลทางอ้อมทั้งนั้น ไม่ว่าพลังจะเกิดจากอาหาร เกิดจากการผ่อนคลาย เกิดจากการพักผ่อน ไม่ใช่โดยตรง แต่พลังที่สุดยอดนั้นมันเกิดจากหัวใจที่รวมเป็นหนึ่งกับกายและพักผ่อนได้ อย่างสนิท เวลาเราง่วง เพลีย เราก็อยากจะพัก ใจมันก็อยากจะพัก สมองก็อยากจะพัก แต่เราไม่เคยพักใจพักสมอง เพราะแม้แต่ตอนนอนก็ยังฝัน ใครจะปฏิเสธว่าไม่จริง
เพราะฉะนั้นพลังที่ควรจะได้ ไม่ใช่ได้จากอาหารอย่างเดียว ไม่ใช่ได้จากการนอนหลับพักผ่อนอย่างเดียว ไม่ใช่ได้จากการที่ต้องไปดูหนังดูละคร พักผ่อนเล่นดนตรีอย่างเดียว แต่มันต้องได้มาจากความสงบและสันติของจิต ซึ่งไม่มีอะไรมากระทบรบกวน เรียกว่า "สมาธิ" นั่นแหละเป็นพลัง เราไม่ค่อยฝึกปรือที่จะสร้างพลัง มีแต่ฝึกปรือที่จะใช้พลัง และเพียรพยายามที่จะเค้นเอาพลัง ทั้งๆที่บางทีก็ไม่มีพลัง
ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงต้องทรงสอนให้เราพยายามเข้าถึงจุดกำเนิดแห่งพลัง และในจุดกำเนิดแห่งพลังอันนั้นก็คือ "ศิลปะของการหายใจ"
เรา รู้กันมาแล้วว่า คนที่หายใจสั้น สัตว์ที่หายใจสั้น จังหวะสั้น เป็นคนที่ไร้พลัง เป็นสัตว์ที่ชีวิตสั้น เป็นผู้มีอายุสั้น คนที่หายใจยาว สัตว์ที่หายใจยาว มีจังหวะเข้ายาวออกยาว เป็นคนมากพลัง มีชีวิตอันยาวไกล
เมื่อ รู้อย่างนี้ เราก็ต้องกลับมาสร้างพลังให้เกิดขึ้นภายใน เรียกภาษาโบราณของจีนว่า กำลังภายในพลังปราณ เมื่อเรามีกำลังภายในเกิดขึ้น มันจะทำให้เกิดผลสะท้อนออกมาถึงพลังภายนอกอย่างกล้าแข็ง
ลูกศิษย์ของ หลวงปู่คนหนึ่ง เรียนลัทธิเต๋า ตอนหลังมาศึกษาวิชาชี่กง แต่ก็ยังไม่เข้าถึงขุมพลังแห่งร่างกาย ต่อมาหลวงปู่สอนให้เค้าเดินลม จนสามารถที่จะตบกำแพงตึกห้องที่หนึ่ง สะเทือนไปถึงกำแพงตึกห้องที่สิบ คนอยู่ห้องที่สิบได้ยินเสียงตบด้วยฝ่ามือ กำแพงไม่ได้ทะลุหรอกนะ แต่มันกระเทือนไปถึงตรงนั้นได้ ซึ่งคนธรรมดาตบแล้วกระเทือนไม่ได้ เอาฆ้อนตียังกระเทือนไม่ได้ กระแทกจนกำแพงทะลุก็ยังกระเทือนไม่ถึงห้องที่สิบ
พลังชนิดนี้ มันเป็นพลังแฝงที่อยู่ภายใน เรียกว่า "พลังพันธาริณี" เป็นภาษาสันสกฤตโบราณ คนโบราณในอินเดียรู้จักจะฝึกปรือพลังชนิดนี้เอามาใช้เมื่อยามจำเป็น เช่น นักมวยปล้ำ พวกที่ต้องจับช้าง สู้กับเสือ กับกระทิง พวกนี้จะฝึกปรือพันธาริณี เพื่อที่จะสยบช้าง สยบสิงโต สยบเสือ ด้วยมือเปล่า ไม่ใช่ด้วยอาวุธ
พลังพันธาริณี ก็คือ ศิลปะการหายใจ มีการฝึกอย่างพิสดาร คือ ไม่นั่ง ไม่นอน ได้แต่ยืนดูดาว มองฟ้า มองดิน และก็พยายามจะทำการหายใจสั้น หายใจยาวอยู่ตลอด เอาพระจันทร์เข้ามาโคจรไว้ในกาย ดึงเอาดวงอาทิตย์เข้ามาไว้ในลูกตา จนตาบอดไปก็มี นี่คือ วิธีฝึกของการเข้าถึงพลังพันธาริณี แต่เราไม่ต้องไปเรียนหรอก เพราะเรียนแล้วก็มิได้ทำให้พ้นทุกข์ ไม่มีครูคอยแนะคอยสอนก็กลายเป็นคนบ้าบอไปก็มี
เอ้า...ทีนี้ เราจะทำลมหายใจเข้าปกติยาว ออกปกติยาว โดยไม่เครียดและไม่เหนื่อยได้อย่างไร วิธีก็คือ
เริ่มสูดลมหายใจเข้าลึกๆ
...แล้วก็ผ่อนคลายออกยาวๆ...
...สูดเข้าลึกๆ...
...แล้วก็ผ่อนออกยาวๆ...
...ทำอย่างนี้ ...อย่างเนิบนาบ... อย่างเชื่องช้า ...อย่างมีศิลปะ ผ่อนคลาย เบาสบาย
แล้วก็รอบรู้ในระบบการเดินลม
ต้อง หายใจปกตินะ ไม่ใช่ถี่เป็นหมาหอบแดด หายใจให้เป็นปกติ แล้วจับเวลาดู ต่อมาก็พยายามทำลมหายใจให้ยาวกว่าปกติบ้าง เข้าและออกปกติบ้าง สลับสับเปลี่ยนกันไป เพื่อไม่ให้เหนื่อยและเครียด คอยจับเวลาไว้ ดูว่าเราเหนื่อยมั้ย ถ้าเหนื่อยก็พัก ถ้าไม่เหนื่อยก็ทำต่อไป
ในขณะ ที่คุมลมหายใจให้เข้ายาวออกยาวนั้น เราจะต้องเอาความรู้สึกทั้งปวงจับที่ลมหายใจ ไม่มีอารมณ์อื่นใดปรากฏเลย แล้วเมื่อใดที่มีอารมณ์ปรากฏ เราจะลืมหายใจ ก็แสดงว่า ระบบการหายใจเราจะล่มสลาย หรือไม่ได้ผลทันที เมื่อมันไม่ได้ผลก็แสดงว่า เราทำไม่สำเร็จ
ถ้าเราทำสำเร็จ เราจะรู้สึกว่า สุขภาพเรา ความเหนื่อยในการทำงาน ความเครียด ความเมื่อย ความล้า ความเพลีย จะผ่อนคลายได้ด้วยระบบลมหายใจ
เวลาที่หลวงปู่ทำงานเหนื่อยๆอ่อนระโหย โรยแรง ขอเพียงเหนื่อยนักพักหน่อยก็หาย ร้อนนักอาบน้ำก็สบาย หิวนักกินข้าวก็หาย กระหายนักดื่มน้ำก็คลาย แต่สำหรับสามัญชน หิวก็กิน แต่บางทีกินก็ไม่หาย เหนื่อยพักก็ยังไม่คลาย อาบน้ำก็ยังไม่สบาย เพราะมันไม่รู้จักดื่มด่ำต่อธรรมชาติที่กำลังจะเกิดขึ้นในการสัมผัสนั้นๆ เช่น อาบน้ำ กิน นั่งพัก มันดื่มด่ำไม่ได้ มันรับสัมผัสอย่างละเอียดอ่อนไม่ได้ ได้ครึ่งทิ้งครึ่ง คุณค่าของอาหาร คุณภาพของความเย็นฉ่ำแห่งน้ำ ความโปร่งเบาสบายแห่งลม ความอบอุ่น หวั่นไหวของไฟ ความมั่นคง มั่งคั่งแห่งดิน คุณค่าของเวลาที่สูญเสีย เราอาจจักได้ประโยชน์ไม่เท่าเสีย แต่พวกที่รู้จักวิธีการฝึกปรือลมหายใจ จะได้อย่างคุ้มค่า คุ้มราคา อย่างหลวงปู่นี่ถ้าเหนื่อยก็จะนั่งพัก หรือจะนอน แต่เป็นการนอนนิดหน่อย ไม่ใช่นอนนาน แค่หลับตาให้สายตามันพัก แล้วก็ผ่อนคลายลมหายใจ เราจะตื่นมาอย่างกระปรี้กระเปร่า สดชื่น เหมือนคนที่นอนมาแล้ว ๒ ชั่วโมงอย่างสบาย
ถ้าถามว่าจำเป็นต้องมีท่า ทางไหม ตอบว่าไม่จำเป็น กิริยาอย่างไรทำได้เสมอ นั่งอย่างไรก็ได้ เพราะนั่งก็หายใจ นอนก็หายใจ เดินก็ต้องหายใจ เพียงแค่เราคุมมันให้เข้ายาวและออกยาวเท่านั้นเอง เราก็สามารถจะผ่อนคลายอารมณ์ได้ แล้วมันจะทำให้เรามี ความคิด มีสติปัญญา สมาธิ ที่สดชื่น อยู่ตลอดเวลา เป็นคนที่ควรค่าต่อการอนุรักษ์ เพราะมีค่าต่อการกระทำและความคิด
ดังนั้น ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง และนอน ถ้าเรามีสติในการกำกับลมหายใจให้มันเป็นขั้น เป็นตอน และผ่อนคลายพอดีๆ มันจะมีพลังคงที่ ในขณะที่เราทำงาน มันจะเป็นความผาสุก ความเพลิดเพลิน และความสนุก ถ้าเรารู้จักระบายลมหายใจเป็น สูดลมหายใจเป็น และวิธีแก้ปัญหาที่เกิดจากการงานและหน้าที่ ไม่มีอะไรดีเท่ากับการเดินลมหายใจ
เพราะฉะนั้น จงหาเวลาว่างอย่างน้อยสัก ๕ นาที ต่อการทำงานที่แสนยุ่ง ออกมานอกสถานที่ แล้วสูดลมหายใจเข้าช้าๆ ออกช้าๆ ๔-๕ ครั้ง หรือ ๑๐-๒๐ ครั้ง ในขณะที่เราเลิกจากการผ่อนคลายลมหายใจ เราจะมีความกระชุ่มกระชวย รู้สึกกระฉับกระเฉง สดชื่น กระปรี้กระเปร่า อยากจะทำงานอย่างขยันและชาญฉลาด จะมีแต่ความสุขสมบูรณ์ต่อการมีชีวิต ในขณะเดียวกันเมื่อเราเผชิญต่อปัญหาบีบคั้นทางอารมณ์ ทางเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เราสามารถเอาชนะมันได้ทุกขั้นตอน อย่างเป็นผู้ฉลาด สะอาด เราจะเป็นคนอารมณ์ดี หัวเราะได้ง่าย และผ่อนคลายทุกที่อย่างสบายๆ และก็ไม่ตะกาย ไม่ทะยานอยากอะไร ชีวิตเราจะมั่งคั่ง มั่งมีต่อความสุขเฉพาะตัวอันเสรี
ศิลปะการเดินลมหายใจ ทำให้สมองเรากระฉับกระเฉง ว่องไว สดชื่น สั่งงานอวัยวะทั้ง ๓๒ ได้อย่างมีคุณภาพและมีพลัง จะสังเกตว่าหลวงปู่ไม่เคยมึน ไม่เคยงงต่อปัญหา ไม่เคยล่าช้าต่อการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของใคร มาอย่างไร ถามเรื่องอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ใครเป็นคนถาม ไม่เคยมีปัญหาอะไรที่ตอบไม่ได้ ถ้าอยากจะตอบ แต่ถ้าไม่อยากตอบ ต่อให้เทวดาถามก็ไม่ตอบ
เพราะฉะนั้นศิลปะการหายใจและผ่อนคลาย มันทำให้เรามีพลังต่อการที่จะโต้ตอบ มีอำนาจ มีตบะ มีสมาธิที่อยู่เฉพาะหน้า ที่เราจะเผชิญต่อปัญหานั้นๆ แล้วชีวิตเราก็จะมีค่า มีราคา มีสาระ ที่ทำให้คนเรียกถามและเคารพบูชา
ทาง วิทยาศาสตร์ถือว่า ลมหายใจที่เข้า มันสูดเอาสิ่งดีๆเข้าไป เพื่อจะปรุงเป็นโลหิต ไปหล่อเลี้ยงร่างกายให้มีพลัง การหายใจยาวๆหมายถึง การได้สูดเอาของดีๆ ให้เข้าไปขับไล่ของเสียออกมาจากการหายใจออก ในขณะเดียวกันมันก็ทำหน้าที่ปรุงพลังให้กับร่างกาย
มีเรื่องพิสูจน์ ยืนยันได้ว่า การหายใจเข้า-ออก ยาวกว่าคนปกติธรรมดา จะมีชีวิตยืนยาวได้เป็น ๓๐๐-๔๐๐ ปี หรือไม่ตายแม้กระทั่งฝังทั้งเป็น อย่างในประเทศอินเดีย มีโยคีนอกศาสนาเรียนวิชาโยคะ วิชาโยคะมี ๓๘ ท่า ในท่าสุดท้ายจะมีวิธีการฝังตัวและหายใจแบบกบ เรียกว่า กบจำศีล มีอาจารย์โยคะท่านหนึ่ง สามารถที่จะฝังตัวเองได้เป็นสิบปี เมื่อถึงเวลาแล้วลูกศิษย์ไปขุดดู ปรากฏว่าอาจารย์ยังสบายดี ไม่ตาย ทั้งนี้ก็ได้มาจากการหายใจ ความละเอียดอ่อนของลมหายใจ และการรู้จักขั้นตอนในการระบายลมเข้าและออก
ฉะนั้น "ลมหายใจ" นอกจากจะมีประโยชน์ในการให้พลังต่อร่างกายแล้ว มันยังหล่อเลี้ยงให้เรามีชีวิต มีพลังความคิด และมีอำนาจต่างๆเกิดขึ้นมากมาย จากการที่คนหายใจเป็น สัตว์หายใจเป็น
แต่ ผู้ที่หายใจไม่เป็น สัตว์ที่หายใจไม่เป็น เราจะเห็นว่า อายุจะสั้น เช่น แมวตายก่อนหมา หมาตายก่อนควาย ควายตายก่อนวัว วัวตายก่อนช้าง ช้างตายก่อนปลาวาฬ อะไรเหล่านี้ จะเห็นว่ามันมีการหายใจต่างกัน
ถ้าถามว่าเกี่ยวกับระบบสรีระด้วยรึเปล่า? เกี่ยวกับปอด เกี่ยวกับถุงลม เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ด้วยรึเปล่า?
สิ่ง เหล่านี้ไม่ใช่เกิดขึ้นโดยกรรมพันธุ์อย่างเดียว แต่มันเกิดขึ้นโดยการกระทำด้วยเหมือนกัน เช่น ถ้าเราฝึกปรือให้เด็๋กทารกรู้จักหายใจเข้ายาว ออกยาว เป็นจังหวะ มันก็สามารถที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมทางร่างกาย เปลี่ยนแปลงกรรมพันธุ์ทางร่างกายได้อย่างน่าอัศจรรย์ทีเดียว
เช่นใน กรณีของคนที่มีพันธุ์หน้าอกเล็ก ปอดเล็ก ถุงลมเล็ก ถ้าเราฝึกให้รู้จักหายใจเป็น หายใจเข้าและออกยาวตั้งแต่เล็กๆ มันจะสามารถขยายทรวงอก ขยายโครงสร้างของร่างกาย และขยายอวัยวะต่างๆในร่างกายให้ทำงานได้เหมือนกับคนที่มีร่างกายแข็งแรงใหญ่ โต เรื่องนี้เป็นเรื่องทางวิทยาศาสตร์
หลวงปู่เคยใช้วิชาหายใจรักษาคน ที่เป็นโรคปอด เป็นมะเร็งในปอด จนปอดเหลือข้างเดียว ตอนนั้นเค้าอายุ ๔๐ กว่า จนอยู่มาได้ถึง ๗๐ กว่า ด้วยวิธีการค่อยๆผ่อนลมหายใจให้เป็นปกติ
การ หายใจเข้าลึกๆและผ่อนคลายออกยาวๆ นั้น มันจะสามารถขับความร้อนในกายที่เกิดจากการเสียดสีของการทำงาน มันจะขับของเสียที่มีอยู่ในกายออกไป ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องออกมาเป็นเหงื่อ
แน่ นอนละ ทางการแพทย์ย่อมรู้ว่า การขับเหงื่อออกมาเป็นการดี เพราะสามารถจะระบายของเสียในร่างกาย แต่ของเสียในร่างกาย มิใช่ออกมาจากเหงื่ออย่างเดียว มันออกมาจากลมได้ก็มี
พวกเราจะสังเกต เห็นว่า หลวงปู่ไม่มีเหงื่อหยดติ๋งๆ ไม่ใช่เพราะว่าต่อมต่างๆมันอุดตัน แต่หลวงปู่จะใช้วิธีการหายใจ ระบายของเสียโดยลม แต่ไม่ยอมให้ร่างกายเสียน้ำ เพราะถ้าเสียน้ำมากจะเพลียมากกว่าเสียลม คนที่เหงื่อออกมากๆ ในเวลาทำงานนั้น เมื่อเลิกทำงานจะรู้สึกเพลียและกะปลกกะเปลี้ยไปหมด คือว่าร่างกายเสียน้ำ ขาดน้ำ แต่หลวงปู่พยายามทำให้เหงื่อออกน้อยที่สุด แล้วพยายามระบายลมให้คงที่ เป็นปกติ ความเหนื่อยของเราก็จะผ่อนคลายออกมากับลมหายใจที่พ่นออก พลังเราก็จะเข้าไปกับลมหายใจที่สูดเข้า และเมื่อถึงเวลา เราจะระบายของเสียอีกประเภทหนึ่งออกมา ก็คือ ปัสสาวะ ถ้าเราเหนื่อยจัด หรือว่ามีของเสียมาก เราจะรู้สึกปวดปัสสาวะ นี่คือเทคนิคของผู้ที่มีศิลปะในการกำจัดของเสีย
พวกที่รู้จักการหายใจ มีศิลปะในการระบายลมหายใจ นอกจากร่างกายจะมีพลังปกติ โคจรได้อย่างสมบูรณ์ ยังมีเคล็ดวิเศษในวิชานี้อีก คือ สามารถดูดพลังจากธรรมชาติได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ถ้าไม่เชื่อ ลองถามลูกหลานที่เคยอยู่ใกล้หลวงปู่ว่า ถ้าหลวงปู่เป็นลมล้มลงไป จะไล่ทุกคนออกจากห้องทั้งหมด ขอเพียงอยู่ลำพังสัก ๓ - ๑๐ นาที หลวงปู่สามารถลุกขึ้นมาทำงานได้เป็นปกติทุกอย่างเหมือนมีพลังเท่าเดิม เพราะสามารถจะดูดพลังจากไอของความชื้น ความร้อน สุริยัน จันทรา และสิ่งแวดล้อมได้
ใครจะปฏิเสธมั้ยว่า ผิวหนังสามารถจะหายใจและระบายของเสีย พร้อมๆ กับสูดเข้าได้ ถ้าปฏิเสธตรงนี้ ก็ต้องบอกว่า ถ้าอย่างนั้นเชื้อโรคและของที่เป็นพิษเข้าทางผิวหนังได้อย่างไร นี่แหละศิลปะในการหายใจ ทำให้เราสามารถหายใจทางผิวหนังได้ สูดของเสียและระบายของเสียออกจากผิวหนังได้ ในขณะเดียวกันก็สูดอากาศเข้าสู่ผิวหนังได้ ก็อย่างที่เล่าว่าโยคีที่ฝังตัวเองไว้เป็น ๑๐ ปียังไม่ตาย เค้าหายใจทางไหน ได้รับน้ำกับความชื้นจากอะไร ก็จากผิวหนัง นี่คือศิลปะการสูดลมหายใจเป็นปกติและเทคนิคพิเศษ
พระศาสดาจึงยกย่องว่า
"ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอันใด อันเลิศเท่าอานาปานะ
ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอันใด อันเลิศเท่ากับการเจริญสติในลมหายใจ
ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอันใดเลิศเท่ากับการรู้จักจะผ่อนคลายลมหายใจให้เป็นจังหวะ สำหรับการมีชีวิตอย่างมีพลังและผาสุก"
เทคนิค ของลมหายใจ มิใช่เพียงแค่จะสามารถสัมผัสกับพลังพิเศษๆจากธรรมชาติอย่างเดียว มันสามารถซึมซับพลังพิเศษๆจากธรรมชาติได้ด้วย ในขณะเดียวกันเทคนิคของการหายใจเข้ายาวและออกยาวนั้น สามารถทำให้เราขับไล่พลังร้าย อารมณ์ร้าย แล้วก็พิษร้ายๆในร่างกายได้อีก ซึ่งเราไม่คิดว่ามันจะทำได้ แต่มันก็ทำได้ผลจริงๆเสียด้วย
หลวงปู่เคย ใช้วิชาลมหายใจขับพิษงูสามเหลี่ยมออกจากกาย สยบพิษตัวต่อ ๑๔ ตัว ไม่ให้เข้าหัวใจ ใช้วิชาลมหายใจสกัดจุด โดยการระบายลม เดินลม ๗ ฐาน ให้เลือดเสียออกมาทางจมูกและปาก พยายามบังคับพิษไม่ให้ซึมเข้าสู่ในสมอง ในสายเลือด ในการหมุนเวียนของเลือด แล้วก็ควบคุมรักษาความสมดุลของหัวใจและการทำงานของสมอง นอกนั้นก็ปล่อยให้พิษซ่านไปตามผิวหนัง เพราะแค่คุม ๒ จุดนี้ร่างกายของเราสามารถอยู่ได้ เราจะมีสติรู้ว่า หัวใจเราปกติมั้ย สมองปกติมั้ย พิษถึงสมองหรือเปล่า
ฉะนั้นอำนาจของการหายใจ มิใช่เพียงแค่เราจะซึมซับพลังธรรมชาติ อณูของบรรยากาศเท่านั้น แต่ยังทำให้เราขจัดอำนาจของพิษร้ายที่เกิดจากภัยของสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์มีพิษทั้งหลายได้ และมันทำให้เราพร้อมที่จะตายอย่างเป็นผู้กล้าได้ด้วย
มี อยู่ครั้งหนึ่งหลวงปู่ป่วย ไอเป็นเลือดตลอดเดือนเต็มๆ แล้วมีเสลดหนา ไออยู่อย่างนั้น จนกระทั่งเสลดไปอุดหลอดลมไม่ให้หายใจ จึงหายใจไม่ออก ขลุกขลักๆ ร้องเรียกใครก็ไม่มีใครได้ยิน ตอนนั้นมันหมิ่นเหม่กับมัจจุราช แล้วความตายมันใกล้เคียงกันถึงขนาดเส้นผมบังเท่านั้นเอง แต่ด้วยพลังของลมหายใจที่เคยฝึกปรือจนเป็นปกติ จึงใช้หลักการหายใจขับเอาพลังเสลดให้ไหลย้อนกลับลงไปในลำไส้ แล้วก็สูดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง พ่นออกมาเป็นก้อนๆ ตั้งแต่นั้นมาก็หายไอ
ศิลปะ การหายใจที่เป็นปกติ เข้ายาวและออกยาว ตอนฝึกใหม่ๆเราจะรู้สึกอึดอัดและปวดหัว ทำให้หัวใจเต้นแรงแล้วก็เหนื่อย แต่อย่าไปเครียดกับการฝึก เราต้องสูดลมหายใจเข้าลึกๆช้าๆ แล้วก็ค่อยๆผ่อนออกมาช้าๆ เป็นระบบ
จริงๆแล้วพวกทหารสอนวิธีนี้ แต่เป็นการสอนแบบชนิดที่ไม่รู้ว่ามันได้ประโยชน์อะไร สอนเพียงแค่จะให้ยกอกขึ้น ให้สูดลมหายใจเพียงแค่จะแบะอก แต่ศิลปะการหายใจมิใช่เพียงแค่ให้แบะอก คนที่หายใจเข้ายาวออกยาวนั้น โครงสร้างของร่างกายจะผึ่งผาย ด้วย จะทำให้โครงสร้างดี ถ้าฝึกตั้งแต่เด็กๆ
ที นี้ ทำอย่างไรถึงจะหายใจเป็น ก็เริ่มต้นจากการฝึกหายใจเป็นปกติเสียก่อน เราเคยรู้มั้ยว่าเราหายใจปกติอย่างไร เข้ากี่ที ออกกี่ที ใน ๑ นาทีเข้ากี่ครั้ง ออกกี่ครั้ง เมื่อเรานับได้รู้ได้ว่า ๑ นาทีเข้ากี่ครั้ง ออกกี่ครั้ง ก็ทำให้มันช้าลงกว่านั้น แล้วเราจะรู้เทคนิคของมันเองว่า จะช้าได้อย่างไร ถ้าเราทำให้ยาวแล้ว มันก็จะยาวเป็นปกติ
หลังจากที่ เราเริ่มหายใจเป็นเพียงแค่หนึ่งชั่วโมงในหนึ่งวัน มันจะมีสิ่งผิดปกติในร่างกายของเราบ่งบอกให้เห็น ลูกตาจะเป็นประกาย สีหน้าจะมีแสงสว่าง ถ้าเรามีดวงตาอันสว่างไสวและมองเห็น จับได้ จะสามารถรู้สัมผัสว่า รัศมีรอบกายจะสว่างรุ่งเรืองแค่ไหน มันอยู่ที่การเดินลมหายใจ เรียกว่า "ฉัพพรรณรังสี"
พระพุทธเจ้า พระศาสดา พระสาวก มี "ฉัพพรรณรังสี" เพราะการฝึกปรือลมหายใจ วิชานี้ถ้าใครฝึกปรือได้ ก็จะสามารถเปล่งพลังแสงในร่างกายให้สว่าง การเปล่งนั้นคนสามัญจะสัมผัสและจับไม่ได้ แต่คนที่มีตาวิเศษ มีหูวิเศษ มีการสัมผัสทางกายที่วิเศษ จะสามารถรู้ได้ว่า คนคนนี้สะอาดแค่ไหน บริสุทธิ์อย่างไร เหมือนกับคนที่รู้จักตัวหิ่งห้อยบินมาในความมืด คนที่ไม่รู้จักตัวหิ่งห้อยก็จะมองว่า เอ๊ะ...นั่นแสงอะไร แต่สำหรับคนที่เคยเห็นตัวหิ่งห้อย ก็จะบอกได้ทันทีว่า นั่นแสงหิ่งห้อย
เมื่อ เราสามารถหายใจยาว เข้าออกยาว จนสามารถสกัดจุดต่างๆในร่างกายได้ สกัดพิษได้ และทำให้ร่างกายสดชื่นในขณะที่สูญเสียพลังได้ เราจะแก่เพียงแค่อายุ เส้นผม ผิวหนัง สายตา แต่สิ่งแวดล้อมในตัวเราจะไม่แก่ตาม ร่างกายและสุขภาพเราจะยังสดใส มีพลัง มีสมดุล พอสมควรที่จะทำกิจกรรมได้
ศิลปะ การหายใจไม่ใช่เพียงให้เรามีอำนาจพิเศษเพียงแค่นี้ มันยังทำให้เราสามารถสำรวจและสัมผัสรังสีที่เกิดจากคลื่นกระแสของความคิดที่ ชาวบ้านมีต่อเรา คือ อิจฉา โกรธ โลภ หลง รัก ชอบ ชัง ยอมรับและปฏิเสธ เราสามารถที่จะสัมผัสได้ละเอียดอ่อนถึงอย่างนี้ในอารมณ์ของคนอื่น เราจะรู้ได้ทันทีว่า คนที่มาหาเราจะมีความรู้สึก ความคิดอย่างไร สมองกำลังทำอะไร มีอารมณ์ปกติหรือผิดปกติอย่างไร โกรธหรือว่าชอบ รักหรือชัง การสัมผัสด้วยลมหายใจอันละเอียดอ่อน มันจะทำให้เราเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น อย่างทรงสติ แล้วเมื่อใดที่เราเหนื่อยอ่อน เมื่อยล้าจากการทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยและเจ็บปวดในอวัยวะทั้งหลายในบางที บางที่ บางตำแหน่ง บางส่วนของร่างกาย เราสามารถจะใช้ลมหายใจเข้าไปผ่อนคลายความเครียดตรงนั้นให้คลายความเจ็บปวด คลายความทุกข์ทรมานลงได้ จนเกือบที่จะหายสนิททีเดียว
หลายครั้งที่ หลวงปู่ใช้ศิลปะในการเดินลมหายใจเข้ามาผ่อนคลายความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ หรือจากการเบียดเบียนของสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น ตอนที่หลวงปู่ทำศาลา แล้วเกือบโดนหินกระแทก ตอนนั้นหลวงปู่ต้องทำมือให้ลีบแล้วก็เกร็งพลังเพื่อที่จะต้านพลังของหินสอง ก้อนที่มากระทบกัน ซึ่งมีมือเราอยู่ตรงกลาง มันเป็นศิลปะที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ ไม่ได้กำหนดโดยสมอง ไม่ใช่สมองสั่งงาน เรียกว่าเป็นอิริยาบถอัตโนมัติทันที เหตุเพราะเราได้ฝึกปรือลมหายใจจนเป็นปกติ เพราะฉะนั้นทุกอย่างมันจะเป็นอัตโนมัติของมัน ถ้าเราฝึกถึงขั้นหนึ่งแล้ว
ถ้า เรายังไม่รู้ว่าการหายใจของเรานั้น เข้ายาวหรือออกสั้น เข้าสั้นหรือออกยาว ก็แสดงว่า เราไม่ได้ควบคุมการหายใจ เราก็ไม่ใช่ผู้ฝึกสมาธิ เราไม่เป็นสมาธิ ไม่รู้จักสมาธิ และนั่นก็ไม่ใช่สมาธิด้วย
แต่ถ้าเมื่อใดที่เราสามารถ ระลึกรู้ได้ว่า ในขณะที่เรากำลังหายใจและการหายใจของเรามันสั้นหรือยาว ออกยาวหรือสั้น เราระลึกรู้ได้และตามติดมันได้ มันจะสามารถบอกเราได้ทันทีว่าความสงบ สันติ จะเกิดขึ้น นั่นแหละคือสมาธิ เป็นสมาธิโดยไม่มีอะไรเข้ามาวุ่นวาย และคิดสับสนในขณะนั้น
คำว่า "สมาธิ" ตัวนี้ แปลว่า ความคิดต้องรวมเป็นหนึ่ง หลวงปู่เคยสอนวิชานิรรูป ให้ลูกหลานรวมกายกับใจ ผนึกรวมกันเป็นหนึ่ง เหมือนกับน้ำที่วิ่งแยกออกไปคนละสายสองสายในสายท่อเดียวกัน น้ำที่วิ่งออกจากตาเห็นรูป เป็นพลังที่สูญเสีย วิ่งจากหูฟังเสียง เป็นพลังที่สูญเสีย วิ่งจากลิ้นที่รับรส เป็นพลังที่สูญเสีย วิ่งออกจากกายไปต้องสัมผัส เป็นพลังที่สูญเสีย ถ้าสายน้ำในท่อไหลแยกออกที่รูรั่วตามจุดต่างๆ ๕ แห่ง มันคงจะไหลไปถึงเป้าหมายอย่างอ่อนแรงเป็นแน่ แต่ถ้าเราอุดรูรั่วทั้งห้าให้หมด แล้วปล่อยให้มันไหลตรงๆไปข้างหน้า แน่ละมันย่อมทะลวง ทำลาย และก็ทลายภูเขา หินผา ที่อยู่ข้างหน้า เพราะมีพลังที่แรงและมั่นคง
ฉันใดก็ฉันนั้น พลังสมาธิของเราก็เหมือนกัน ถ้าปล่อยให้มันลื่นไหลไปกับความรู้สึกอื่นๆ ซึ่งจัดว่าเป็นอารมณ์ นั่นไม่ใช่สมาธิ เราจะสูญเสียพลัง
พวกเรา ฝึกปรือและเรียนรู้ที่จะใช้พลัง แต่ไม่ฝึกปรือที่จะทำให้เกิดพลัง ตลอดชีวิตที่ผ่านมา เราพยายามที่จะเค้นเอาพลังจากส่วนนั้นส่วนนี้มาใช้ แต่เราไม่รู้ว่าพลังเหล่านี้เกิดมาจากอะไร เราจะอ้างว่าพลังเกิดจากร่างกาย แต่จริงๆ แล้วพลังไม่ใช่เกิดจากร่างกายโดยตรง มันเป็นผลทางอ้อมทั้งนั้น ไม่ว่าพลังจะเกิดจากอาหาร เกิดจากการผ่อนคลาย เกิดจากการพักผ่อน ไม่ใช่โดยตรง แต่พลังที่สุดยอดนั้นมันเกิดจากหัวใจที่รวมเป็นหนึ่งกับกายและพักผ่อนได้ อย่างสนิท เวลาเราง่วง เพลีย เราก็อยากจะพัก ใจมันก็อยากจะพัก สมองก็อยากจะพัก แต่เราไม่เคยพักใจพักสมอง เพราะแม้แต่ตอนนอนก็ยังฝัน ใครจะปฏิเสธว่าไม่จริง
เพราะฉะนั้นพลังที่ควรจะได้ ไม่ใช่ได้จากอาหารอย่างเดียว ไม่ใช่ได้จากการนอนหลับพักผ่อนอย่างเดียว ไม่ใช่ได้จากการที่ต้องไปดูหนังดูละคร พักผ่อนเล่นดนตรีอย่างเดียว แต่มันต้องได้มาจากความสงบและสันติของจิต ซึ่งไม่มีอะไรมากระทบรบกวน เรียกว่า "สมาธิ" นั่นแหละเป็นพลัง เราไม่ค่อยฝึกปรือที่จะสร้างพลัง มีแต่ฝึกปรือที่จะใช้พลัง และเพียรพยายามที่จะเค้นเอาพลัง ทั้งๆที่บางทีก็ไม่มีพลัง
ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงต้องทรงสอนให้เราพยายามเข้าถึงจุดกำเนิดแห่งพลัง และในจุดกำเนิดแห่งพลังอันนั้นก็คือ "ศิลปะของการหายใจ"
เรา รู้กันมาแล้วว่า คนที่หายใจสั้น สัตว์ที่หายใจสั้น จังหวะสั้น เป็นคนที่ไร้พลัง เป็นสัตว์ที่ชีวิตสั้น เป็นผู้มีอายุสั้น คนที่หายใจยาว สัตว์ที่หายใจยาว มีจังหวะเข้ายาวออกยาว เป็นคนมากพลัง มีชีวิตอันยาวไกล
เมื่อ รู้อย่างนี้ เราก็ต้องกลับมาสร้างพลังให้เกิดขึ้นภายใน เรียกภาษาโบราณของจีนว่า กำลังภายในพลังปราณ เมื่อเรามีกำลังภายในเกิดขึ้น มันจะทำให้เกิดผลสะท้อนออกมาถึงพลังภายนอกอย่างกล้าแข็ง
ลูกศิษย์ของ หลวงปู่คนหนึ่ง เรียนลัทธิเต๋า ตอนหลังมาศึกษาวิชาชี่กง แต่ก็ยังไม่เข้าถึงขุมพลังแห่งร่างกาย ต่อมาหลวงปู่สอนให้เค้าเดินลม จนสามารถที่จะตบกำแพงตึกห้องที่หนึ่ง สะเทือนไปถึงกำแพงตึกห้องที่สิบ คนอยู่ห้องที่สิบได้ยินเสียงตบด้วยฝ่ามือ กำแพงไม่ได้ทะลุหรอกนะ แต่มันกระเทือนไปถึงตรงนั้นได้ ซึ่งคนธรรมดาตบแล้วกระเทือนไม่ได้ เอาฆ้อนตียังกระเทือนไม่ได้ กระแทกจนกำแพงทะลุก็ยังกระเทือนไม่ถึงห้องที่สิบ
พลังชนิดนี้ มันเป็นพลังแฝงที่อยู่ภายใน เรียกว่า "พลังพันธาริณี" เป็นภาษาสันสกฤตโบราณ คนโบราณในอินเดียรู้จักจะฝึกปรือพลังชนิดนี้เอามาใช้เมื่อยามจำเป็น เช่น นักมวยปล้ำ พวกที่ต้องจับช้าง สู้กับเสือ กับกระทิง พวกนี้จะฝึกปรือพันธาริณี เพื่อที่จะสยบช้าง สยบสิงโต สยบเสือ ด้วยมือเปล่า ไม่ใช่ด้วยอาวุธ
พลังพันธาริณี ก็คือ ศิลปะการหายใจ มีการฝึกอย่างพิสดาร คือ ไม่นั่ง ไม่นอน ได้แต่ยืนดูดาว มองฟ้า มองดิน และก็พยายามจะทำการหายใจสั้น หายใจยาวอยู่ตลอด เอาพระจันทร์เข้ามาโคจรไว้ในกาย ดึงเอาดวงอาทิตย์เข้ามาไว้ในลูกตา จนตาบอดไปก็มี นี่คือ วิธีฝึกของการเข้าถึงพลังพันธาริณี แต่เราไม่ต้องไปเรียนหรอก เพราะเรียนแล้วก็มิได้ทำให้พ้นทุกข์ ไม่มีครูคอยแนะคอยสอนก็กลายเป็นคนบ้าบอไปก็มี
เอ้า...ทีนี้ เราจะทำลมหายใจเข้าปกติยาว ออกปกติยาว โดยไม่เครียดและไม่เหนื่อยได้อย่างไร วิธีก็คือ
เริ่มสูดลมหายใจเข้าลึกๆ
...แล้วก็ผ่อนคลายออกยาวๆ...
...สูดเข้าลึกๆ...
...แล้วก็ผ่อนออกยาวๆ...
...ทำอย่างนี้ ...อย่างเนิบนาบ... อย่างเชื่องช้า ...อย่างมีศิลปะ ผ่อนคลาย เบาสบาย
แล้วก็รอบรู้ในระบบการเดินลม
ต้อง หายใจปกตินะ ไม่ใช่ถี่เป็นหมาหอบแดด หายใจให้เป็นปกติ แล้วจับเวลาดู ต่อมาก็พยายามทำลมหายใจให้ยาวกว่าปกติบ้าง เข้าและออกปกติบ้าง สลับสับเปลี่ยนกันไป เพื่อไม่ให้เหนื่อยและเครียด คอยจับเวลาไว้ ดูว่าเราเหนื่อยมั้ย ถ้าเหนื่อยก็พัก ถ้าไม่เหนื่อยก็ทำต่อไป
ในขณะ ที่คุมลมหายใจให้เข้ายาวออกยาวนั้น เราจะต้องเอาความรู้สึกทั้งปวงจับที่ลมหายใจ ไม่มีอารมณ์อื่นใดปรากฏเลย แล้วเมื่อใดที่มีอารมณ์ปรากฏ เราจะลืมหายใจ ก็แสดงว่า ระบบการหายใจเราจะล่มสลาย หรือไม่ได้ผลทันที เมื่อมันไม่ได้ผลก็แสดงว่า เราทำไม่สำเร็จ
ถ้าเราทำสำเร็จ เราจะรู้สึกว่า สุขภาพเรา ความเหนื่อยในการทำงาน ความเครียด ความเมื่อย ความล้า ความเพลีย จะผ่อนคลายได้ด้วยระบบลมหายใจ
เวลาที่หลวงปู่ทำงานเหนื่อยๆอ่อนระโหย โรยแรง ขอเพียงเหนื่อยนักพักหน่อยก็หาย ร้อนนักอาบน้ำก็สบาย หิวนักกินข้าวก็หาย กระหายนักดื่มน้ำก็คลาย แต่สำหรับสามัญชน หิวก็กิน แต่บางทีกินก็ไม่หาย เหนื่อยพักก็ยังไม่คลาย อาบน้ำก็ยังไม่สบาย เพราะมันไม่รู้จักดื่มด่ำต่อธรรมชาติที่กำลังจะเกิดขึ้นในการสัมผัสนั้นๆ เช่น อาบน้ำ กิน นั่งพัก มันดื่มด่ำไม่ได้ มันรับสัมผัสอย่างละเอียดอ่อนไม่ได้ ได้ครึ่งทิ้งครึ่ง คุณค่าของอาหาร คุณภาพของความเย็นฉ่ำแห่งน้ำ ความโปร่งเบาสบายแห่งลม ความอบอุ่น หวั่นไหวของไฟ ความมั่นคง มั่งคั่งแห่งดิน คุณค่าของเวลาที่สูญเสีย เราอาจจักได้ประโยชน์ไม่เท่าเสีย แต่พวกที่รู้จักวิธีการฝึกปรือลมหายใจ จะได้อย่างคุ้มค่า คุ้มราคา อย่างหลวงปู่นี่ถ้าเหนื่อยก็จะนั่งพัก หรือจะนอน แต่เป็นการนอนนิดหน่อย ไม่ใช่นอนนาน แค่หลับตาให้สายตามันพัก แล้วก็ผ่อนคลายลมหายใจ เราจะตื่นมาอย่างกระปรี้กระเปร่า สดชื่น เหมือนคนที่นอนมาแล้ว ๒ ชั่วโมงอย่างสบาย
ถ้าถามว่าจำเป็นต้องมีท่า ทางไหม ตอบว่าไม่จำเป็น กิริยาอย่างไรทำได้เสมอ นั่งอย่างไรก็ได้ เพราะนั่งก็หายใจ นอนก็หายใจ เดินก็ต้องหายใจ เพียงแค่เราคุมมันให้เข้ายาวและออกยาวเท่านั้นเอง เราก็สามารถจะผ่อนคลายอารมณ์ได้ แล้วมันจะทำให้เรามี ความคิด มีสติปัญญา สมาธิ ที่สดชื่น อยู่ตลอดเวลา เป็นคนที่ควรค่าต่อการอนุรักษ์ เพราะมีค่าต่อการกระทำและความคิด
ดังนั้น ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง และนอน ถ้าเรามีสติในการกำกับลมหายใจให้มันเป็นขั้น เป็นตอน และผ่อนคลายพอดีๆ มันจะมีพลังคงที่ ในขณะที่เราทำงาน มันจะเป็นความผาสุก ความเพลิดเพลิน และความสนุก ถ้าเรารู้จักระบายลมหายใจเป็น สูดลมหายใจเป็น และวิธีแก้ปัญหาที่เกิดจากการงานและหน้าที่ ไม่มีอะไรดีเท่ากับการเดินลมหายใจ
เพราะฉะนั้น จงหาเวลาว่างอย่างน้อยสัก ๕ นาที ต่อการทำงานที่แสนยุ่ง ออกมานอกสถานที่ แล้วสูดลมหายใจเข้าช้าๆ ออกช้าๆ ๔-๕ ครั้ง หรือ ๑๐-๒๐ ครั้ง ในขณะที่เราเลิกจากการผ่อนคลายลมหายใจ เราจะมีความกระชุ่มกระชวย รู้สึกกระฉับกระเฉง สดชื่น กระปรี้กระเปร่า อยากจะทำงานอย่างขยันและชาญฉลาด จะมีแต่ความสุขสมบูรณ์ต่อการมีชีวิต ในขณะเดียวกันเมื่อเราเผชิญต่อปัญหาบีบคั้นทางอารมณ์ ทางเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เราสามารถเอาชนะมันได้ทุกขั้นตอน อย่างเป็นผู้ฉลาด สะอาด เราจะเป็นคนอารมณ์ดี หัวเราะได้ง่าย และผ่อนคลายทุกที่อย่างสบายๆ และก็ไม่ตะกาย ไม่ทะยานอยากอะไร ชีวิตเราจะมั่งคั่ง มั่งมีต่อความสุขเฉพาะตัวอันเสรี
ศิลปะการเดินลมหายใจ ทำให้สมองเรากระฉับกระเฉง ว่องไว สดชื่น สั่งงานอวัยวะทั้ง ๓๒ ได้อย่างมีคุณภาพและมีพลัง จะสังเกตว่าหลวงปู่ไม่เคยมึน ไม่เคยงงต่อปัญหา ไม่เคยล่าช้าต่อการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของใคร มาอย่างไร ถามเรื่องอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ใครเป็นคนถาม ไม่เคยมีปัญหาอะไรที่ตอบไม่ได้ ถ้าอยากจะตอบ แต่ถ้าไม่อยากตอบ ต่อให้เทวดาถามก็ไม่ตอบ
เพราะฉะนั้นศิลปะการหายใจและผ่อนคลาย มันทำให้เรามีพลังต่อการที่จะโต้ตอบ มีอำนาจ มีตบะ มีสมาธิที่อยู่เฉพาะหน้า ที่เราจะเผชิญต่อปัญหานั้นๆ แล้วชีวิตเราก็จะมีค่า มีราคา มีสาระ ที่ทำให้คนเรียกถามและเคารพบูชา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น