จริงๆแล้วเรื่องนี้ ตั้งใจจะคุยตั้งแต่ไปเลี้ยงน้ำปานะแก่ผู้ที่อยู่ปริวาสแล้ว แต่ไม่ค่อยมีเวลา หลังจากที่ไปเห็นบรรดาภิกษุปริวาสิกะ ภิกษุที่อยู่ในปริวาสกรรมทั้งหลาย เลยนึกขึ้นมา ได้ว่า พวกเรานี้นอกจากจะมีนิสัย ที่เรียกว่านิสัยสี่ แปลว่าเครื่องอาศัย ก็คือ อยู่โคนไม้ บิณฑบาต ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า แล้วก็นุ่งห่มผ้าบังสุกุลจีวรแล้ว สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นเครื่องอาศัย ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นเครื่องที่อาศัยของกายแต่ส่วนหนึ่งที่เราไม่เข้าใจแล้วก็ลืมมันไปก็คือ เครื่องอยู่ เราเรียนรู้แต่เครื่องอาศัย แต่ไม่รู้ความหมาย ไม่เข้าใจความหมายไม่รู้จักความหมาย ว่าอะไรคือเครื่องอยู่ของจิต เครื่องอยู่ที่ทำให้จิตตั้งอยู่ได้ เครื่องที่ทำให้ตัวเองตั้งอยู่ได้โดยไม่หวั่นไหวไม่โยกคลอนไปตามกระบวนการ บีบคั้น ฉุดกระชาก ชักจูงหรือทำให้เราลื่นไหลถลาไปกับสิ่งใดๆ
จริงๆ แล้วเครื่องอาศัยกับเครื่องอยู่มันต่างกัน เครื่องอาศัยก็เพียงแค่ อาศัยไปวันๆ อาศัยมันชั่วคราว แต่เครื่องอยู่นี้ มันเป็นที่ตั้ง เป็นเครื่องที่ทำให้เราตั้งมั่นทั้ง กายและจิต แล้วเครื่องอยู่ของภิกษุบริษัททั้งหลาย เครื่องอยู่ ของนักบวชสมณะชีพราหมณ์ทั้งหลาย ก็คือ พระธรรม พวกเราถามตัวเองกันบ้างหรือเปล่าว่า บวชเข้ามาจนป่านนี้ มีพระธรรมอะไรในใจบ้าง อะไรเป็นข้อธรรมที่เป็นเครื่องอยู่ของ ตัวเองบ้าง เรามีอะไรเป็นที่ตั้งแห่งจิตวิญญาณของกายนี้บ้าง เรามีคำว่าธรรมข้อใดข้อหนึ่งอยู่ในกมลสันดานบ้าง ถ้าไม่มี ก็แสดงว่าเราไม่มีเครื่องอยู่ เมื่อไม่มีเครื่องอยู่ มันก็คงไม่ต่างอะไรกับ ไม้หลักปักขี้ควาย หรือไม้หลักปักเลน ก็จะล่มไป เอียงไป เอียงมา มันก็ไม่ต่างอะไรกับปุยนุ่น ที่ลอยไปตามลมพัด ไม่ต่างอะไรกับฝุ่นละอองที่ปลิวไปในอากาศ เพราะเราไม่มีเครื่องอยู่ เราจึงไม่สามารถยืนหยัด ตั้งตระหง่าน ประดุจดังขุนเขาไท้ซาน ที่สามารถต่อต้านพลังลม พายุ หิมะและฝุ่น ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า น้ำท่วม สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ขุนเขาสั่นไหว โยกโคน หรือสั่นคลอน ฉันใด ผู้มีธรรมข้อใด ข้อหนึ่ง เป็นเครื่องอยู่ ย่อมยังให้ท่านผู้นั้นตั้งมั่นในทุกสถานการณ์
เครื่องอยู่ที่นักปราชญ์บัณฑิต ภิกษุ นักบวช สมณะ และพระพุทธเจ้า ทรงอยู่ ทรงเป็น ทรงมี และทรงอบรมสั่งสอนกัน เครื่องอยู่เหล่านั้น ก็คือ พระธรรม ซึ่งคนทั้งหลายเรียกว่า ธรรมะ หรือ ธรรมชาติ ธรรมชาติแห่งความเป็นจริง ของสรรพสิ่ง สรรพวัตถุ สรรพสัตว์ รวมทั้งธรรมชาติของตัวเราเอง ธรรมชาติของจิตวิญญาณ ถ้าเราจะแปลความหมายของคำว่าเครื่องอยู่ ว่าเป็นธรรมชาติ หรือธรรมะ หรือพระธรรม ก็น่าจะแปลได้หลายอย่าง ถ้าจะแปลคำว่า ธรรมะ ก็คือ สภาพที่ทรงไว้ สภาวะที่ดำรงอยู่ สภาพที่เป็นธรรมดา สภาพแห่งธรรมชาติ สภาวธรรมหนึ่งๆ ที่เกิดขึ้นในทุกขณะจิตที่เกิดดับ ความเป็นจริงที่เป็นสัจจะแท้ ที่ทนต่อการพิสูจน์ได้ตลอดกาล เช่น สัจธรรมที่ว่า สรรพสิ่งในโลก เกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวน ในท่ามกลาง แตกสลายในที่สุด ปรากฏการณ์แห่งสภาวะ ที่เกิดจากสติ สมาธิ ปัญญา ความถูกต้องชอบธรรม ความ เที่ยงตรง ต่อปรากฏการณ์แห่งสัจธรรม กระบวนการของการรักษาดุลยภาพ ของสรรพสิ่ง สรรพชีวิต สรรพวัตถุ และ ท้ายที่สุด ความถูกต้องไม่บกพร่องในหน้าที่
ถ้าจะแปลคำว่า "พระธรรม" ก็คือ คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ระเบียบแบบแผน ธรรมเนียม ข้อห้าม ข้ออนุญาต ที่อยู่ในหลักของความเป็นจริง ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด โดยที่ไม่มีใคร ผู้ใด สามารถหักล้าง ทำลาย ในหลักคำสอนนั้นๆ ได้ ไม่ว่าจะมีมาแล้วแต่อดีต ปัจจุบัน หรือจะมีต่อไปในอนาคต ซึ่งในหลักคำสอนที่เรียกว่าพระธรรมนี้ ถ้าจะให้แยก คงจะแยกออกได้เป็นสองหลัก คือ หลักกาย และหลักใจ หรือเครื่องอยู่แห่งกายกับเครื่องอยู่แห่งใจ ซึ่งข้อธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้น อาจมีถึงแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ เป็นเครื่องอยู่ของเรา
และถ้าแปลคำว่า "ธรรมชาติ" ก็คือ สภาพแห่งความเป็นจริงของสรรพสิ่ง ที่ต้องอยู่ร่วมกันด้วยความพึ่งพิง อิงแอบอาศัยกันและกัน แม้จะเป็นความจริงที่ปฏิเสธมิได้ว่า สรรพวัตถุ สรรพชีวิตทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่และแปรปรวนในท่ามกลาง แตกสลายในที่สุด ซึ่งสภาวะเช่น นี้ หนีไม่พ้นแม้แต่โลกและจักรวาลเอง ก็ต้องตกอยู่ในกติกา เช่นนี้ แม้แต่พระพุทธเจ้าหรือตัวเราเอง เข้าใจรู้จริง ดังนี้เรียกว่า รู้จักธรรมชาติ
เมื่อรู้จักธรรมชาติ ทั้งนอกกาย ในกาย เราก็ย่อมรู้จัก เข้าใจสภาวะที่เราเข้าใจตัวเอง รู้จักสถานะตัวเอง ยอมรับในสภาวะวิถีชีวิตของตัวเอง โดยสร้างความพึงพอใจให้แก่ตัวเอง ในสภาวะในวิถีชีวิต หรือในสถานะนั้นๆ โดยมิได้ผิดหลักการธรรมชาติ พร้อมทั้งยังทำให้ผสมผสาน และสอดคล้อง กลมกลืน กับกติกาธรรมชาติ เช่นนี้จึงจะได้ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ทำร้ายธรรมชาติ เหล่านี้จึงเรียกว่า มีธรรมชาติเป็นเครื่องอยู่
สมัยหลวงปู่บวชใหม่ๆ หลวงปู่พยายามขวนขวายหาเครื่องอยู่ แล้วหลวงปู่ก็ได้โครงกระดูกมาเป็นเครื่องอยู่ของ ตัวเอง หลวงปู่พยายามแสวงหาตัวตนแท้ๆ ตัวที่ตั้งแห่งจิต จนสามารถได้เห็นโครงกระดูกของตัวเอง แล้วก็ตู่ว่า นี่คือเครื่องอยู่ของเรา ถามว่านี่เป็นธรรมะไหม นี่เป็นพระธรรมไหม ก็คงจะได้ แต่มันไม่ได้เป็นหัวข้อ มันเป็นซี่ๆ เป็นท่อนๆ เพราะพระธรรมนั้นเป็นเรื่องเป็นราว เป็นหมู่ ธรรมะเป็นข้อ เป็นวรรค เป็นตอน
แต่หลวงปู่มีธรรมชาติเป็นเครื่องอยู่ โดยธรรมชาติ เป็นเครื่องอยู่ อยู่ในธรรมชาติ และเรากับธรรมชาติเป็นหนึ่ง เดียวกัน เราจึงกลายเป็นบุคคลที่ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นคลอนและไม่ง่อนแง่น ต่ออนิฎฐารมณ์ อิฎฐารมณ์ คือของชอบใจ กับของไม่ชอบใจ ของยอมรับและของปฏิเสธ สิ่งเหล่านี้มันจะไม่ทำให้เราเสียสมดุลในการเป็นตัวของตัวเองแท้ๆ รูปกาย ภายนอก หรือรูปร่าง การอยู่ในสังคม เราอาจจะทำตนเป็น บุคคลที่สังคมมองว่าเราคือพวกพ้อง นั่นก็คือที่เขาบอกว่าเข้าเมืองตาหลิ่ว ก็ต้องหลิ่วตาตาม แต่ไม่ใช่เหล่หรือบอด
ในขณะเดียวกัน ไม่ว่าเราจะเจอพายุพัดกระหน่ำขนาดไหน มารร้ายผีห่าซาตานจะฉุดกระชากลากถูมากน้อย เพียงใด แต่สิ่งหนึ่งที่เราวางใจได้ก็คือ เรามีที่อยู่ คือเรามีเครื่องอยู่ของเรา ท่านจะสังเกตว่า ไม่ว่าหลวงปู่จะมีชีวิตเป็น พ่อครัว เป็นผู้บริหาร เป็นนักพัฒนา มาเป็นนักแสดงธรรม เป็นนักด่า เป็นนักเทศน์ นักสอน หรือเป็นนักกระทำก็ตามที แต่ในที่สุดหลวงปู่ ก็มีเครื่องอยู่ของหลวงปู่ เป็นตัวของตัวเอง มีเอกเทศของตัวเอง มีอิสระของตัวเอง มีเสรีภาพของตัวเอง หลวงปู่ไม่ปล่อยให้ตัวเองเล่นบทใดๆ โดยไม่รู้จักเลิก เพราะ หลวงปู่รู้จักตัวเอง
ฉะนั้น ความหมายของคำว่า เครื่องอยู่ กับเครื่องอาศัย จึงเป็นความหมายที่แตกต่างกัน ความหมาย ของเครื่องอยู่ มันเป็นความหมายของความตั้งมั่น มันเป็นความหมายของความมั่นคง แล้วก็ซื่อตรงต่อความคิดจิตวิญญาณของตัวเอง คนที่มีเครื่องอยู่ เขาย่อมมั่นคงต่ออุดมการณ์ ต่อการใช้ชีวิต ต่อวิถีทาง และก็ต่อสภาวะธรรมชาติของตน จะพอใจในสิ่งที่เป็น
แต่คนที่ไม่มีเครื่องอยู่ ก็จะร่อนไปวันๆ หนึ่ง สิ้นไปวันๆ หนึ่ง จะล่องลอยไปวันๆ หนึ่ง จะแสวงหาดิ้นรน กระเสือกกระสนไปวันๆ หนึ่ง แล้วก็จะปรุงแต่งไปวันๆ หนึ่ง โดยมีความหมายของคำว่า เผื่อว่า.... คือ เผื่อว่าจะได้ อาจจะได้ ใช่มั้ง น่าจะถูกใจเรา ความหมายเหล่านี้เป็นที่อยู่ของคนที่ไม่มีเครื่องอยู่ ความหมายเหล่านี้เป็นที่อยู่ของคนที่ไม่มีความมั่นคงในชีวิตของตัวเอง ไม่มีจุดยืนที่แท้ แน่นอนของตัวเอง จึงมีคำว่า เผื่อว่า... อาจจะ... ใช่มั้ง... อยู่ตลอดเวลา
เพราะฉะนั้น หลวงปู่อยากจะชี้ให้พวกเราได้เห็นประโยชน์ของความมีเครื่องอยู่ หรือสิ่งที่เป็นเครื่องอยู่ของพวกเราว่า พวกเราได้แสวงหามันเจอแล้วหรือยัง แล้วทำให้ตัวเองมีเครื่องอยู่หรือจะอยู่กับคำว่าพระธรรม ธรรมะหรือธรรมชาติ ข้อใดข้อหนึ่งก็ได้ ก็อย่างที่บอกแล้วว่าพระธรรมก็คือ ระเบียบ กฎเกณฑ์ กติกา แบบแผนธรรมเนียม ซึ่งมีทั้ง ข้อห้ามและข้ออนุญาต ที่พระศาสดาสัมมาสัมพุทธะผู้เจริญ เป็นผู้แสดง ซึ่งจะมีสภาวะที่เป็นเรื่องเป็นราว ตั้งแต่แปดหมื่น สี่พันพระธรรมขันธ์ เป็นเรื่องเป็นราวที่เป็นคณะใหญ่ เราอาจ นำมาเป็นเครื่องอยู่อาศัย ข้อใดข้อหนึ่งที่เราเห็นว่า เหมาะสม ที่จะเป็นเครื่องอยู่ของเราได้ แต่คำว่าธรรมะ มันเป็นสภาพที่ทรงไว้ซึ่ง ความเป็นจริงที่เป็นสัจจะแท้ ที่คงทนต่อการพิสูจน์ ได้ตลอดกาล เช่น สภาวะที่เกิดจาก สติ สมาธิ ปัญญา และ การรักษาดุลยภาพของสรรพสิ่ง สรรพชีวิต สรรพวัตถุ รวมทั้ง ความเที่ยงธรรม ถูกต้อง ไม่บกพร่องในหน้าที่ที่เราจะนำเอา มาใช้ในการดำรงชีวิตก็ได้ ส่วนคำว่าธรรมชาติ คือ สภาวะที่เป็นตัวตน เป็นตัวตนแท้ๆ ของตัวเอง รู้จักหน้าตาแท้ๆ ของตัวเอง และเข้าใจสิ่งที่ตัวเองจะต้องการ ต้องเป็น ต้องไป ต้องได้ ต้องเสีย และต้องมีชีวิต
การเข้าใจความหมายและองค์ประกอบของชีวิตตัวเองนั่นแหละคือ สภาวะธรรมชาติ ความเข้าใจในวิถีทางของชีวิตตัวเองนั่นก็คือ ผู้มีธรรมชาติเป็นเครื่องอยู่ และความเข้าใจในสภาวะของการดำรงอยู่ ในสถานะของความเป็นมนุษย์ ความพึงพอใจในสภาวะ และในสถานะ ก็คือความเข้าใจในธรรมชาติ และมีธรรมชาติเป็นเครื่องอยู่ เพราะฉะนั้น พยายามแสวงหาเครื่องอยู่ของตัวเองซะ จะได้รู้ ว่าเครื่องอยู่อาศัยใด ที่ตัวเองพึงพอใจ แล้วเราก็จะโลดแล่น กระโดดโลดเต้น เล่นบทต่างๆ ได้ อย่างชนิดไม่ต้องกลัวว่า บทนั้นมันจะทำร้ายทำลายเรา เราจะเล่นบทคฤหัสถ์ บทพ่อ บทผัว บทเมีย บทแม่ บทลูก บทพระ บทนักบวช บทนักบริหาร บทใดๆ ก็ได้ ถ้าเรามีเครื่องอยู่ของเรา
ผู้ที่มีเครื่องอยู่ ใครเขาร้องไห้ เราจะไม่ร้อง ผู้ที่มีเครื่องอยู่ คนอื่นทุกข์ทรมาน เราจะรู้สึกเย็นสบาย ผู้ที่มีเครื่องอยู่ ใครเร่าร้อน เราจะรู้สึกสันติสงบ แต่คนที่ไม่มีเครื่องอยู่นั้น ไม่เหมาะที่เล่นบทใดๆ ได้เลย เพราะถ้ามันเล่นบทร้าย มันก็จะร้ายจนหยดสุดท้ายของชีวิตมันนั่นแหละ แต่ถ้าเผอิญจับพลัดจับผลู เผอิญไปเล่นบทดีเข้า ก็จะหลงดี ยึดดี ติดดี จมดี จนกลายเป็นความผยอง ทรนง ถือตัวถือตน อวดดี เพราะฉะนั้น ไม่เหมาะสมที่จะเล่นบทใดๆ สำหรับบุคคลที่ไม่มีเครื่องอยู่
หลวงปู่พูดอย่างนี้ เพื่อให้พวกเราเข้าใจความหมาย ของการมีชีวิตของตัวเองที่แท้จริงว่า เราจะมีชีวิตอย่างไร เราจะดำเนินวิถีชีวิตของเราอย่างไร และเราจะทำชีวิตของเราให้เป็นไท มากน้อยแค่ไหน พยายามแสวงหาเครื่องอยู่ของตัวเอง ให้ได้ซะก่อน ค้นหาให้เจอซะ เราจะได้ไม่รู้สึกเสียใจกับการมี ชีวิต และชีวิตต่อไปวันหนึ่งข้างหน้าของเรา ก็จะเป็นชีวิตของ เราล้วนๆ ซึ่งไม่ต้องเกรง และหวั่นกลัว หวาดผวาต่อคลื่นลม ทะเลร้าย หรือปลาใหญ่ ที่จะมาคอยกัดกิน ฉุดกระชาก ให้เราจมดิ่งไปอยู่ใต้ก้นมหาสมุทรของวัฏสงสาร
หลวงปู่อยากจะพูดให้พวกเราเข้าใจความหมายของการมีชีวิตที่มีเครื่อง อยู่ว่า มันเป็นเหมือนเกราะป้องกัน เรา ไม่ให้เลวจนกลายเป็นความชั่วร้าย ไม่ให้ได้จนกลาย เป็นความรู้สึกตะกรุมตะกราม เสียดาย และก็ไม่ให้ทำชั่ว จนกระทั่งวันตาย คนที่มีเครื่องอยู่ย่อมมีวิถีชีวิตที่เป็นเสรีภาพ คนที่มีเครื่องอยู่จะมีบทบัญญัติ บรรทัดฐานของตัวเองว่า แค่นี้นะพอสำหรับบทนี้ ต่อไปก็เล่นบทใหม่ แต่คนที่ไม่มีเครื่องอยู่นั้น เค้าไม่รู้จักพอต่อบทใดๆ เพราะเค้าจะเล่นหมดทุกบท ด้วยความรู้สึกตะกรุมตะกราม ตะกละ และทะยานอยาก จนกลายเป็น ผีห่า ซาตาน มารร้ายที่คอยหลอกล่อคนทั้งหลาย เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการ จนไม่สามารถแยกแยะได้ว่า ตัวเองเป็นอะไร
ฉะนั้น จงพยายามแสวงหาเครื่องอยู่ซะให้ดี แล้วเครื่องอยู่ของเราทั้งหลายที่ดีที่สุดนั้น จะต้องเป็นเครื่องอยู่ เพื่อความอยู่รอด ไม่ใช่อยู่ร่วง หรืออยู่หล่น จงเป็นอยู่โดยความรู้จักธรรมชาติแท้ของตัวเอง จงเป็นอยู่โดยความ รู้จักธรรมะ หรือพระธรรรม แล้วเราก็จะอยู่รอด ไม่อยู่ร่วง หรือไม่ต้องหล่นไปในที่ใดๆ หลวงปู่อยากจะเตือนให้พวกเรา เข้าใจเรื่องพวกนี้เท่านี้แหละ
จำไว้อย่างว่า ทำให้เป็นอย่างตัวหลวงปู่น่ะ....ยาก แต่จงเป็นเหมือนอย่างที่ตัวพวกเราเป็นและควรจะเป็นนั่นแหละง่าย แล้วยิ่งทำให้เหมือนที่หลวงปู่ทำ...ยิ่งยาก แต่จงทำในสิ่งที่พวกเราคิดว่า เราทำได้ เต็มใจทำ ทำมันโดยหัวใจ และทุ่มเทให้มันทั้งชีวิต ให้มันทั้งจิตวิญญาณ การกระทำนั้น...ง่าย เพราะฉะนั้น อย่าคิดที่จะเปลี่ยนคนอื่น สิ่งอื่น ผู้อื่น มันยาก แต่จงคิดที่จะเปลี่ยนตัวเอง เป็นเรื่องง่ายกว่า
เราไม่อาจจะไปเปลี่ยนสังคม เราไม่อาจจะไปเปลี่ยนโลก เราไม่อาจจะไปเปลี่ยนสัตว์ แต่เราอาจที่จะเปลี่ยนตัวเรา เพราะฉะนั้นพยายามที่จะเปลี่ยนตัวเราเอง ความหมายของคำว่าเปลี่ยนตัวเอง ก็ไม่ใช่ว่า เห็นช้างขี้ ก็ขี้ ตามช้าง แต่มันก็คือ ทำให้เขาเห็นว่า เราเป็นหนึ่งเดียวกับตัวเขา ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องเป็นตัวของเรา ลองไป คิดศึกษาหาวิถีทางของตัวเอง
พวกเรากินข้าว หลวงปู่ก็กินข้าว พวกเรานอน หลวงปู่ก็นอน ความสามารถทั้งหลาย พวกเรามีเท่าๆ กับหลวงปู่ ต่างกันตรงที่ว่า พวกเราเป็นคนจริง จริงใจ และเป็นผู้กล้าที่จะฝึกปรือมันหรือไม่ พวกเรามีสิทธิ์ที่จะทำตัวเองให้เป็นที่พึ่งของตัวเอง และมีสิทธิ์ที่จะทำตัวเองให้เป็นที่พึ่งของคนอื่นเท่าเทียมกับหลวงปู่ อย่าคิดว่า หลวงปู่เป็นที่พึ่งแต่ฝ่ายเดียว ตัวพวกเราเองก็มีสิทธิ์ที่จะทำตนให้เป็นที่พึ่งได้ แล้วก็พยายามสร้างตัวเองให้เป็นที่พึ่งของตัวเอง และก็ทำตัว เองให้เป็นที่พึ่งแก่คนอื่นๆ ด้วย
พวกเรามีสิทธิ์ที่จะปกป้องชีวิตของพวกเราเอง พอๆ และพร้อมๆ กับการปกป้องคนอื่น ชีวิตอื่นๆ ถ้าคิด อย่างนี้ ความขวนขวาย การดิ้นรนที่แสวงหาความรู้ ความสามารถ สร้างสมประสบการณ์ก็จะมิได้มีเฉพาะ แค่พาตัวเอง รอด มันจะเป็นการขวนขวายสร้างสมประสบการณ์ เพื่อผู้อื่น ที่อื่น และสัตว์อื่นด้วย อีกทั้งยังปฏิบัติตนให้เป็นผู้แกร่งกล้า และพร้อมที่จะเป็นผู้นำ มันจะเกิดพร้อมทุกสภาวะจิต แล้วมันจะทำให้เราไม่นิ่งเฉยกับการจะพัฒนาตัวเรา
แต่ถ้าเราจะมีชีวิตอย่างคับแคบ คิดอย่างคับแคบ ใจคับแคบ มันก็จะทำให้เราขวนขวายเรียนรู้อย่างคับแคบ ขวนขวายเรียนรู้ เพียงเพื่อจะเอาตัวรอดไปวันๆ ใครจะเป็นเช่นไรไม่สนใจ เช่นนี้ถือว่าเป็นการฝึกสติ สมาธิ ปัญญา ให้ตัวเองคับแคบไปด้วย ดูจะเป็นการขังตัวเองเอาไว้ในโลกมืดๆ ในกรอบแคบๆ และห้องอันอับเฉามากเกินไป นั่นคือ ความรู้สึกที่ว่า ช่างมัน...ไม่ใช่เรื่องของเรา ถ้าคิดอย่างนี้หลวงปู่ถือว่า เป็นเรื่องคับแคบ ชีวิตอย่างนี้ มันเป็นชีวิตของคนโง่ คน ตาบอด คนพิการ คนง่อยเปลี้ยเสียขา หรือไม่ก็คนที่ใกล้ตาย มันเป็นชีวิตที่ไร้สาระและไร้ค่า ไร้ชีวิต
แต่ถ้าจะคิดแค่เพียงว่า เราจะทำอะไรก็ต่อเมื่อต้อง เป็นพวกของเรา เราจะให้อะไรก็ต้องเป็นญาติเรา ใครจะได้อะไรจากเราก็ต้องเป็นคนที่เรารัก หรือเราต้องการ ถ้าคิดอย่างนั้น มันก็ยิ่งกักขังตัวเราเอง ความรู้ความสามารถของเราเอง จิตวิญญาณและการเรียนรู้ของตัวเราเองก็จะคับแคบ ตามไปด้วย เพราะฉะนั้น จงพยายามเปิดตัว เปิดใจ เปิด สมอง เปิดการรับรู้ และการเรียนรู้ให้มันกว้างขึ้น โดยการหัดเป็นผู้มีความคิดเอื้ออาทร แบ่งปัน และก็การุณย์ต่อผู้อื่น คนอื่น สิ่งอื่น ชีวิตอื่น และชนิดอื่นๆ บ้าง แล้วเราก็จะรู้ว่า เราจะมีชีวิตอย่างไรต่อการที่เป็นผู้การุณย์ต่อชีวิตนั้นๆ เรามีอะไรจะไปการุณย์เขา ถ้าตราบใดที่ตัวเรายังคับแคบโง่เขลา และเป็นคนที่จิตใจสับสน ในขณะเดียวกัน ก็ไม่สามารถที่จะ พึ่งตัวเองได้เลย ถือว่าเป็นเรื่องของคนตาบอด เหมือนอย่างที่หลวงปู่เขียนบทโศลก ที่หลวงปู่สอนเอาไว้ว่า
ลูกรัก... มีประโยชน์อันใดที่จะจุดแสงประทีป ให้กับคนที่มืดบอด
ความหมายแม้มันจะดูสั้น คำเขียนก็จะดูรู้สึกกะทัดรัด แต่จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องราว และดูจะใหญ่โตทีเดียว ความหมายที่มืดบอด มันไม่ใช่เรื่องของคนที่เสียดวงตา แต่มันรวมไปถึงเสียจริต จิตวิญญาณ ความรู้สึก สามัญสำนึก มันสมอง และความคิดอ่าน สิ่งเหล่านี้มันเป็นความมืดบอดทั้งนั้น
หัดทำตนเป็นคนที่มีแสงสว่างในจิตวิญญาณซะบ้าง จะได้รู้ว่าการดำรงชีวิตต่อไปของเรานั้น มันย่อมมีค่าทุกวินาที การมีชีวิตเป็นผู้ให้ มันเป็นเรื่องเป็นราวที่ยิ่งใหญ่ที่ใครๆ ก็ทำได้ไม่ง่ายนัก หัดภาคภูมิในการเป็นผู้ให้ซะบ้าง อย่าทำตน เป็นคนที่คับแคบจนกลายเป็นความรู้สึกว่า เราตระหนี่ และ ก็รู้สึกขัดสนในจิตใจ รวมไปถึงกระบวนการสับสนก็จะตามมา แล้วในที่สุด เราจะไม่รู้อะไรเลย แม้แต่สิ่งที่ปรากฏในชีวิตเรา
หลวงปู่ได้เคยพูดประโยคสั้นๆ แก่ชาวบ้านที่มาหาว่า ถ้าเราไม่คิดที่จะเอาอะไรของใครๆ เราจะได้มากกว่าสิ่งที่เราหวังและคิด แต่ถ้าเราตะกรุมตะกราม ตะกละที่อยากได้อะไรของใครๆ ก็ไม่มีใครๆแม้จะคิดถึงเรา เพราะฉะนั้น จงหัดเป็นผู้คิดที่จะให้ แม้กระทั่งจิตวิญญาณและเลือดหยดสุดท้ายของตัวเองซะบ้าง แล้วเราจะได้รู้ว่า ชีวิตเรามีค่าขึ้นมาแค่ไหน อย่าเป็นเพียงแค่จะให้แต่ญาติ คนที่รัก พวกพ้องเรา เพื่อนฝูงเรา คนที่เรารู้จัก ความหมายของผู้ให้มีค่าอันสูงส่ง เทียบเท่าวิญญาณพุทธะ แต่ว่าความหมายของผู้รับ มีค่าน่าเหยียดหยาม และน่ารังเกียจ เทียบเท่าผีห่า ซาตาน เพราะฉะนั้น เลือกเอาว่า เราจะเป็นผีห่า ซาตาน หรือจิตวิญญาณพุทธะ
จริงๆ แล้วเครื่องอาศัยกับเครื่องอยู่มันต่างกัน เครื่องอาศัยก็เพียงแค่ อาศัยไปวันๆ อาศัยมันชั่วคราว แต่เครื่องอยู่นี้ มันเป็นที่ตั้ง เป็นเครื่องที่ทำให้เราตั้งมั่นทั้ง กายและจิต แล้วเครื่องอยู่ของภิกษุบริษัททั้งหลาย เครื่องอยู่ ของนักบวชสมณะชีพราหมณ์ทั้งหลาย ก็คือ พระธรรม พวกเราถามตัวเองกันบ้างหรือเปล่าว่า บวชเข้ามาจนป่านนี้ มีพระธรรมอะไรในใจบ้าง อะไรเป็นข้อธรรมที่เป็นเครื่องอยู่ของ ตัวเองบ้าง เรามีอะไรเป็นที่ตั้งแห่งจิตวิญญาณของกายนี้บ้าง เรามีคำว่าธรรมข้อใดข้อหนึ่งอยู่ในกมลสันดานบ้าง ถ้าไม่มี ก็แสดงว่าเราไม่มีเครื่องอยู่ เมื่อไม่มีเครื่องอยู่ มันก็คงไม่ต่างอะไรกับ ไม้หลักปักขี้ควาย หรือไม้หลักปักเลน ก็จะล่มไป เอียงไป เอียงมา มันก็ไม่ต่างอะไรกับปุยนุ่น ที่ลอยไปตามลมพัด ไม่ต่างอะไรกับฝุ่นละอองที่ปลิวไปในอากาศ เพราะเราไม่มีเครื่องอยู่ เราจึงไม่สามารถยืนหยัด ตั้งตระหง่าน ประดุจดังขุนเขาไท้ซาน ที่สามารถต่อต้านพลังลม พายุ หิมะและฝุ่น ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า น้ำท่วม สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ขุนเขาสั่นไหว โยกโคน หรือสั่นคลอน ฉันใด ผู้มีธรรมข้อใด ข้อหนึ่ง เป็นเครื่องอยู่ ย่อมยังให้ท่านผู้นั้นตั้งมั่นในทุกสถานการณ์
เครื่องอยู่ที่นักปราชญ์บัณฑิต ภิกษุ นักบวช สมณะ และพระพุทธเจ้า ทรงอยู่ ทรงเป็น ทรงมี และทรงอบรมสั่งสอนกัน เครื่องอยู่เหล่านั้น ก็คือ พระธรรม ซึ่งคนทั้งหลายเรียกว่า ธรรมะ หรือ ธรรมชาติ ธรรมชาติแห่งความเป็นจริง ของสรรพสิ่ง สรรพวัตถุ สรรพสัตว์ รวมทั้งธรรมชาติของตัวเราเอง ธรรมชาติของจิตวิญญาณ ถ้าเราจะแปลความหมายของคำว่าเครื่องอยู่ ว่าเป็นธรรมชาติ หรือธรรมะ หรือพระธรรม ก็น่าจะแปลได้หลายอย่าง ถ้าจะแปลคำว่า ธรรมะ ก็คือ สภาพที่ทรงไว้ สภาวะที่ดำรงอยู่ สภาพที่เป็นธรรมดา สภาพแห่งธรรมชาติ สภาวธรรมหนึ่งๆ ที่เกิดขึ้นในทุกขณะจิตที่เกิดดับ ความเป็นจริงที่เป็นสัจจะแท้ ที่ทนต่อการพิสูจน์ได้ตลอดกาล เช่น สัจธรรมที่ว่า สรรพสิ่งในโลก เกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวน ในท่ามกลาง แตกสลายในที่สุด ปรากฏการณ์แห่งสภาวะ ที่เกิดจากสติ สมาธิ ปัญญา ความถูกต้องชอบธรรม ความ เที่ยงตรง ต่อปรากฏการณ์แห่งสัจธรรม กระบวนการของการรักษาดุลยภาพ ของสรรพสิ่ง สรรพชีวิต สรรพวัตถุ และ ท้ายที่สุด ความถูกต้องไม่บกพร่องในหน้าที่
ถ้าจะแปลคำว่า "พระธรรม" ก็คือ คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ระเบียบแบบแผน ธรรมเนียม ข้อห้าม ข้ออนุญาต ที่อยู่ในหลักของความเป็นจริง ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด โดยที่ไม่มีใคร ผู้ใด สามารถหักล้าง ทำลาย ในหลักคำสอนนั้นๆ ได้ ไม่ว่าจะมีมาแล้วแต่อดีต ปัจจุบัน หรือจะมีต่อไปในอนาคต ซึ่งในหลักคำสอนที่เรียกว่าพระธรรมนี้ ถ้าจะให้แยก คงจะแยกออกได้เป็นสองหลัก คือ หลักกาย และหลักใจ หรือเครื่องอยู่แห่งกายกับเครื่องอยู่แห่งใจ ซึ่งข้อธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้น อาจมีถึงแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ เป็นเครื่องอยู่ของเรา
และถ้าแปลคำว่า "ธรรมชาติ" ก็คือ สภาพแห่งความเป็นจริงของสรรพสิ่ง ที่ต้องอยู่ร่วมกันด้วยความพึ่งพิง อิงแอบอาศัยกันและกัน แม้จะเป็นความจริงที่ปฏิเสธมิได้ว่า สรรพวัตถุ สรรพชีวิตทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่และแปรปรวนในท่ามกลาง แตกสลายในที่สุด ซึ่งสภาวะเช่น นี้ หนีไม่พ้นแม้แต่โลกและจักรวาลเอง ก็ต้องตกอยู่ในกติกา เช่นนี้ แม้แต่พระพุทธเจ้าหรือตัวเราเอง เข้าใจรู้จริง ดังนี้เรียกว่า รู้จักธรรมชาติ
เมื่อรู้จักธรรมชาติ ทั้งนอกกาย ในกาย เราก็ย่อมรู้จัก เข้าใจสภาวะที่เราเข้าใจตัวเอง รู้จักสถานะตัวเอง ยอมรับในสภาวะวิถีชีวิตของตัวเอง โดยสร้างความพึงพอใจให้แก่ตัวเอง ในสภาวะในวิถีชีวิต หรือในสถานะนั้นๆ โดยมิได้ผิดหลักการธรรมชาติ พร้อมทั้งยังทำให้ผสมผสาน และสอดคล้อง กลมกลืน กับกติกาธรรมชาติ เช่นนี้จึงจะได้ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ทำร้ายธรรมชาติ เหล่านี้จึงเรียกว่า มีธรรมชาติเป็นเครื่องอยู่
สมัยหลวงปู่บวชใหม่ๆ หลวงปู่พยายามขวนขวายหาเครื่องอยู่ แล้วหลวงปู่ก็ได้โครงกระดูกมาเป็นเครื่องอยู่ของ ตัวเอง หลวงปู่พยายามแสวงหาตัวตนแท้ๆ ตัวที่ตั้งแห่งจิต จนสามารถได้เห็นโครงกระดูกของตัวเอง แล้วก็ตู่ว่า นี่คือเครื่องอยู่ของเรา ถามว่านี่เป็นธรรมะไหม นี่เป็นพระธรรมไหม ก็คงจะได้ แต่มันไม่ได้เป็นหัวข้อ มันเป็นซี่ๆ เป็นท่อนๆ เพราะพระธรรมนั้นเป็นเรื่องเป็นราว เป็นหมู่ ธรรมะเป็นข้อ เป็นวรรค เป็นตอน
แต่หลวงปู่มีธรรมชาติเป็นเครื่องอยู่ โดยธรรมชาติ เป็นเครื่องอยู่ อยู่ในธรรมชาติ และเรากับธรรมชาติเป็นหนึ่ง เดียวกัน เราจึงกลายเป็นบุคคลที่ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นคลอนและไม่ง่อนแง่น ต่ออนิฎฐารมณ์ อิฎฐารมณ์ คือของชอบใจ กับของไม่ชอบใจ ของยอมรับและของปฏิเสธ สิ่งเหล่านี้มันจะไม่ทำให้เราเสียสมดุลในการเป็นตัวของตัวเองแท้ๆ รูปกาย ภายนอก หรือรูปร่าง การอยู่ในสังคม เราอาจจะทำตนเป็น บุคคลที่สังคมมองว่าเราคือพวกพ้อง นั่นก็คือที่เขาบอกว่าเข้าเมืองตาหลิ่ว ก็ต้องหลิ่วตาตาม แต่ไม่ใช่เหล่หรือบอด
ในขณะเดียวกัน ไม่ว่าเราจะเจอพายุพัดกระหน่ำขนาดไหน มารร้ายผีห่าซาตานจะฉุดกระชากลากถูมากน้อย เพียงใด แต่สิ่งหนึ่งที่เราวางใจได้ก็คือ เรามีที่อยู่ คือเรามีเครื่องอยู่ของเรา ท่านจะสังเกตว่า ไม่ว่าหลวงปู่จะมีชีวิตเป็น พ่อครัว เป็นผู้บริหาร เป็นนักพัฒนา มาเป็นนักแสดงธรรม เป็นนักด่า เป็นนักเทศน์ นักสอน หรือเป็นนักกระทำก็ตามที แต่ในที่สุดหลวงปู่ ก็มีเครื่องอยู่ของหลวงปู่ เป็นตัวของตัวเอง มีเอกเทศของตัวเอง มีอิสระของตัวเอง มีเสรีภาพของตัวเอง หลวงปู่ไม่ปล่อยให้ตัวเองเล่นบทใดๆ โดยไม่รู้จักเลิก เพราะ หลวงปู่รู้จักตัวเอง
ฉะนั้น ความหมายของคำว่า เครื่องอยู่ กับเครื่องอาศัย จึงเป็นความหมายที่แตกต่างกัน ความหมาย ของเครื่องอยู่ มันเป็นความหมายของความตั้งมั่น มันเป็นความหมายของความมั่นคง แล้วก็ซื่อตรงต่อความคิดจิตวิญญาณของตัวเอง คนที่มีเครื่องอยู่ เขาย่อมมั่นคงต่ออุดมการณ์ ต่อการใช้ชีวิต ต่อวิถีทาง และก็ต่อสภาวะธรรมชาติของตน จะพอใจในสิ่งที่เป็น
แต่คนที่ไม่มีเครื่องอยู่ ก็จะร่อนไปวันๆ หนึ่ง สิ้นไปวันๆ หนึ่ง จะล่องลอยไปวันๆ หนึ่ง จะแสวงหาดิ้นรน กระเสือกกระสนไปวันๆ หนึ่ง แล้วก็จะปรุงแต่งไปวันๆ หนึ่ง โดยมีความหมายของคำว่า เผื่อว่า.... คือ เผื่อว่าจะได้ อาจจะได้ ใช่มั้ง น่าจะถูกใจเรา ความหมายเหล่านี้เป็นที่อยู่ของคนที่ไม่มีเครื่องอยู่ ความหมายเหล่านี้เป็นที่อยู่ของคนที่ไม่มีความมั่นคงในชีวิตของตัวเอง ไม่มีจุดยืนที่แท้ แน่นอนของตัวเอง จึงมีคำว่า เผื่อว่า... อาจจะ... ใช่มั้ง... อยู่ตลอดเวลา
เพราะฉะนั้น หลวงปู่อยากจะชี้ให้พวกเราได้เห็นประโยชน์ของความมีเครื่องอยู่ หรือสิ่งที่เป็นเครื่องอยู่ของพวกเราว่า พวกเราได้แสวงหามันเจอแล้วหรือยัง แล้วทำให้ตัวเองมีเครื่องอยู่หรือจะอยู่กับคำว่าพระธรรม ธรรมะหรือธรรมชาติ ข้อใดข้อหนึ่งก็ได้ ก็อย่างที่บอกแล้วว่าพระธรรมก็คือ ระเบียบ กฎเกณฑ์ กติกา แบบแผนธรรมเนียม ซึ่งมีทั้ง ข้อห้ามและข้ออนุญาต ที่พระศาสดาสัมมาสัมพุทธะผู้เจริญ เป็นผู้แสดง ซึ่งจะมีสภาวะที่เป็นเรื่องเป็นราว ตั้งแต่แปดหมื่น สี่พันพระธรรมขันธ์ เป็นเรื่องเป็นราวที่เป็นคณะใหญ่ เราอาจ นำมาเป็นเครื่องอยู่อาศัย ข้อใดข้อหนึ่งที่เราเห็นว่า เหมาะสม ที่จะเป็นเครื่องอยู่ของเราได้ แต่คำว่าธรรมะ มันเป็นสภาพที่ทรงไว้ซึ่ง ความเป็นจริงที่เป็นสัจจะแท้ ที่คงทนต่อการพิสูจน์ ได้ตลอดกาล เช่น สภาวะที่เกิดจาก สติ สมาธิ ปัญญา และ การรักษาดุลยภาพของสรรพสิ่ง สรรพชีวิต สรรพวัตถุ รวมทั้ง ความเที่ยงธรรม ถูกต้อง ไม่บกพร่องในหน้าที่ที่เราจะนำเอา มาใช้ในการดำรงชีวิตก็ได้ ส่วนคำว่าธรรมชาติ คือ สภาวะที่เป็นตัวตน เป็นตัวตนแท้ๆ ของตัวเอง รู้จักหน้าตาแท้ๆ ของตัวเอง และเข้าใจสิ่งที่ตัวเองจะต้องการ ต้องเป็น ต้องไป ต้องได้ ต้องเสีย และต้องมีชีวิต
การเข้าใจความหมายและองค์ประกอบของชีวิตตัวเองนั่นแหละคือ สภาวะธรรมชาติ ความเข้าใจในวิถีทางของชีวิตตัวเองนั่นก็คือ ผู้มีธรรมชาติเป็นเครื่องอยู่ และความเข้าใจในสภาวะของการดำรงอยู่ ในสถานะของความเป็นมนุษย์ ความพึงพอใจในสภาวะ และในสถานะ ก็คือความเข้าใจในธรรมชาติ และมีธรรมชาติเป็นเครื่องอยู่ เพราะฉะนั้น พยายามแสวงหาเครื่องอยู่ของตัวเองซะ จะได้รู้ ว่าเครื่องอยู่อาศัยใด ที่ตัวเองพึงพอใจ แล้วเราก็จะโลดแล่น กระโดดโลดเต้น เล่นบทต่างๆ ได้ อย่างชนิดไม่ต้องกลัวว่า บทนั้นมันจะทำร้ายทำลายเรา เราจะเล่นบทคฤหัสถ์ บทพ่อ บทผัว บทเมีย บทแม่ บทลูก บทพระ บทนักบวช บทนักบริหาร บทใดๆ ก็ได้ ถ้าเรามีเครื่องอยู่ของเรา
ผู้ที่มีเครื่องอยู่ ใครเขาร้องไห้ เราจะไม่ร้อง ผู้ที่มีเครื่องอยู่ คนอื่นทุกข์ทรมาน เราจะรู้สึกเย็นสบาย ผู้ที่มีเครื่องอยู่ ใครเร่าร้อน เราจะรู้สึกสันติสงบ แต่คนที่ไม่มีเครื่องอยู่นั้น ไม่เหมาะที่เล่นบทใดๆ ได้เลย เพราะถ้ามันเล่นบทร้าย มันก็จะร้ายจนหยดสุดท้ายของชีวิตมันนั่นแหละ แต่ถ้าเผอิญจับพลัดจับผลู เผอิญไปเล่นบทดีเข้า ก็จะหลงดี ยึดดี ติดดี จมดี จนกลายเป็นความผยอง ทรนง ถือตัวถือตน อวดดี เพราะฉะนั้น ไม่เหมาะสมที่จะเล่นบทใดๆ สำหรับบุคคลที่ไม่มีเครื่องอยู่
หลวงปู่พูดอย่างนี้ เพื่อให้พวกเราเข้าใจความหมาย ของการมีชีวิตของตัวเองที่แท้จริงว่า เราจะมีชีวิตอย่างไร เราจะดำเนินวิถีชีวิตของเราอย่างไร และเราจะทำชีวิตของเราให้เป็นไท มากน้อยแค่ไหน พยายามแสวงหาเครื่องอยู่ของตัวเอง ให้ได้ซะก่อน ค้นหาให้เจอซะ เราจะได้ไม่รู้สึกเสียใจกับการมี ชีวิต และชีวิตต่อไปวันหนึ่งข้างหน้าของเรา ก็จะเป็นชีวิตของ เราล้วนๆ ซึ่งไม่ต้องเกรง และหวั่นกลัว หวาดผวาต่อคลื่นลม ทะเลร้าย หรือปลาใหญ่ ที่จะมาคอยกัดกิน ฉุดกระชาก ให้เราจมดิ่งไปอยู่ใต้ก้นมหาสมุทรของวัฏสงสาร
หลวงปู่อยากจะพูดให้พวกเราเข้าใจความหมายของการมีชีวิตที่มีเครื่อง อยู่ว่า มันเป็นเหมือนเกราะป้องกัน เรา ไม่ให้เลวจนกลายเป็นความชั่วร้าย ไม่ให้ได้จนกลาย เป็นความรู้สึกตะกรุมตะกราม เสียดาย และก็ไม่ให้ทำชั่ว จนกระทั่งวันตาย คนที่มีเครื่องอยู่ย่อมมีวิถีชีวิตที่เป็นเสรีภาพ คนที่มีเครื่องอยู่จะมีบทบัญญัติ บรรทัดฐานของตัวเองว่า แค่นี้นะพอสำหรับบทนี้ ต่อไปก็เล่นบทใหม่ แต่คนที่ไม่มีเครื่องอยู่นั้น เค้าไม่รู้จักพอต่อบทใดๆ เพราะเค้าจะเล่นหมดทุกบท ด้วยความรู้สึกตะกรุมตะกราม ตะกละ และทะยานอยาก จนกลายเป็น ผีห่า ซาตาน มารร้ายที่คอยหลอกล่อคนทั้งหลาย เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการ จนไม่สามารถแยกแยะได้ว่า ตัวเองเป็นอะไร
ฉะนั้น จงพยายามแสวงหาเครื่องอยู่ซะให้ดี แล้วเครื่องอยู่ของเราทั้งหลายที่ดีที่สุดนั้น จะต้องเป็นเครื่องอยู่ เพื่อความอยู่รอด ไม่ใช่อยู่ร่วง หรืออยู่หล่น จงเป็นอยู่โดยความรู้จักธรรมชาติแท้ของตัวเอง จงเป็นอยู่โดยความ รู้จักธรรมะ หรือพระธรรรม แล้วเราก็จะอยู่รอด ไม่อยู่ร่วง หรือไม่ต้องหล่นไปในที่ใดๆ หลวงปู่อยากจะเตือนให้พวกเรา เข้าใจเรื่องพวกนี้เท่านี้แหละ
จำไว้อย่างว่า ทำให้เป็นอย่างตัวหลวงปู่น่ะ....ยาก แต่จงเป็นเหมือนอย่างที่ตัวพวกเราเป็นและควรจะเป็นนั่นแหละง่าย แล้วยิ่งทำให้เหมือนที่หลวงปู่ทำ...ยิ่งยาก แต่จงทำในสิ่งที่พวกเราคิดว่า เราทำได้ เต็มใจทำ ทำมันโดยหัวใจ และทุ่มเทให้มันทั้งชีวิต ให้มันทั้งจิตวิญญาณ การกระทำนั้น...ง่าย เพราะฉะนั้น อย่าคิดที่จะเปลี่ยนคนอื่น สิ่งอื่น ผู้อื่น มันยาก แต่จงคิดที่จะเปลี่ยนตัวเอง เป็นเรื่องง่ายกว่า
เราไม่อาจจะไปเปลี่ยนสังคม เราไม่อาจจะไปเปลี่ยนโลก เราไม่อาจจะไปเปลี่ยนสัตว์ แต่เราอาจที่จะเปลี่ยนตัวเรา เพราะฉะนั้นพยายามที่จะเปลี่ยนตัวเราเอง ความหมายของคำว่าเปลี่ยนตัวเอง ก็ไม่ใช่ว่า เห็นช้างขี้ ก็ขี้ ตามช้าง แต่มันก็คือ ทำให้เขาเห็นว่า เราเป็นหนึ่งเดียวกับตัวเขา ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องเป็นตัวของเรา ลองไป คิดศึกษาหาวิถีทางของตัวเอง
พวกเรากินข้าว หลวงปู่ก็กินข้าว พวกเรานอน หลวงปู่ก็นอน ความสามารถทั้งหลาย พวกเรามีเท่าๆ กับหลวงปู่ ต่างกันตรงที่ว่า พวกเราเป็นคนจริง จริงใจ และเป็นผู้กล้าที่จะฝึกปรือมันหรือไม่ พวกเรามีสิทธิ์ที่จะทำตัวเองให้เป็นที่พึ่งของตัวเอง และมีสิทธิ์ที่จะทำตัวเองให้เป็นที่พึ่งของคนอื่นเท่าเทียมกับหลวงปู่ อย่าคิดว่า หลวงปู่เป็นที่พึ่งแต่ฝ่ายเดียว ตัวพวกเราเองก็มีสิทธิ์ที่จะทำตนให้เป็นที่พึ่งได้ แล้วก็พยายามสร้างตัวเองให้เป็นที่พึ่งของตัวเอง และก็ทำตัว เองให้เป็นที่พึ่งแก่คนอื่นๆ ด้วย
พวกเรามีสิทธิ์ที่จะปกป้องชีวิตของพวกเราเอง พอๆ และพร้อมๆ กับการปกป้องคนอื่น ชีวิตอื่นๆ ถ้าคิด อย่างนี้ ความขวนขวาย การดิ้นรนที่แสวงหาความรู้ ความสามารถ สร้างสมประสบการณ์ก็จะมิได้มีเฉพาะ แค่พาตัวเอง รอด มันจะเป็นการขวนขวายสร้างสมประสบการณ์ เพื่อผู้อื่น ที่อื่น และสัตว์อื่นด้วย อีกทั้งยังปฏิบัติตนให้เป็นผู้แกร่งกล้า และพร้อมที่จะเป็นผู้นำ มันจะเกิดพร้อมทุกสภาวะจิต แล้วมันจะทำให้เราไม่นิ่งเฉยกับการจะพัฒนาตัวเรา
แต่ถ้าเราจะมีชีวิตอย่างคับแคบ คิดอย่างคับแคบ ใจคับแคบ มันก็จะทำให้เราขวนขวายเรียนรู้อย่างคับแคบ ขวนขวายเรียนรู้ เพียงเพื่อจะเอาตัวรอดไปวันๆ ใครจะเป็นเช่นไรไม่สนใจ เช่นนี้ถือว่าเป็นการฝึกสติ สมาธิ ปัญญา ให้ตัวเองคับแคบไปด้วย ดูจะเป็นการขังตัวเองเอาไว้ในโลกมืดๆ ในกรอบแคบๆ และห้องอันอับเฉามากเกินไป นั่นคือ ความรู้สึกที่ว่า ช่างมัน...ไม่ใช่เรื่องของเรา ถ้าคิดอย่างนี้หลวงปู่ถือว่า เป็นเรื่องคับแคบ ชีวิตอย่างนี้ มันเป็นชีวิตของคนโง่ คน ตาบอด คนพิการ คนง่อยเปลี้ยเสียขา หรือไม่ก็คนที่ใกล้ตาย มันเป็นชีวิตที่ไร้สาระและไร้ค่า ไร้ชีวิต
แต่ถ้าจะคิดแค่เพียงว่า เราจะทำอะไรก็ต่อเมื่อต้อง เป็นพวกของเรา เราจะให้อะไรก็ต้องเป็นญาติเรา ใครจะได้อะไรจากเราก็ต้องเป็นคนที่เรารัก หรือเราต้องการ ถ้าคิดอย่างนั้น มันก็ยิ่งกักขังตัวเราเอง ความรู้ความสามารถของเราเอง จิตวิญญาณและการเรียนรู้ของตัวเราเองก็จะคับแคบ ตามไปด้วย เพราะฉะนั้น จงพยายามเปิดตัว เปิดใจ เปิด สมอง เปิดการรับรู้ และการเรียนรู้ให้มันกว้างขึ้น โดยการหัดเป็นผู้มีความคิดเอื้ออาทร แบ่งปัน และก็การุณย์ต่อผู้อื่น คนอื่น สิ่งอื่น ชีวิตอื่น และชนิดอื่นๆ บ้าง แล้วเราก็จะรู้ว่า เราจะมีชีวิตอย่างไรต่อการที่เป็นผู้การุณย์ต่อชีวิตนั้นๆ เรามีอะไรจะไปการุณย์เขา ถ้าตราบใดที่ตัวเรายังคับแคบโง่เขลา และเป็นคนที่จิตใจสับสน ในขณะเดียวกัน ก็ไม่สามารถที่จะ พึ่งตัวเองได้เลย ถือว่าเป็นเรื่องของคนตาบอด เหมือนอย่างที่หลวงปู่เขียนบทโศลก ที่หลวงปู่สอนเอาไว้ว่า
ลูกรัก... มีประโยชน์อันใดที่จะจุดแสงประทีป ให้กับคนที่มืดบอด
ความหมายแม้มันจะดูสั้น คำเขียนก็จะดูรู้สึกกะทัดรัด แต่จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องราว และดูจะใหญ่โตทีเดียว ความหมายที่มืดบอด มันไม่ใช่เรื่องของคนที่เสียดวงตา แต่มันรวมไปถึงเสียจริต จิตวิญญาณ ความรู้สึก สามัญสำนึก มันสมอง และความคิดอ่าน สิ่งเหล่านี้มันเป็นความมืดบอดทั้งนั้น
หัดทำตนเป็นคนที่มีแสงสว่างในจิตวิญญาณซะบ้าง จะได้รู้ว่าการดำรงชีวิตต่อไปของเรานั้น มันย่อมมีค่าทุกวินาที การมีชีวิตเป็นผู้ให้ มันเป็นเรื่องเป็นราวที่ยิ่งใหญ่ที่ใครๆ ก็ทำได้ไม่ง่ายนัก หัดภาคภูมิในการเป็นผู้ให้ซะบ้าง อย่าทำตน เป็นคนที่คับแคบจนกลายเป็นความรู้สึกว่า เราตระหนี่ และ ก็รู้สึกขัดสนในจิตใจ รวมไปถึงกระบวนการสับสนก็จะตามมา แล้วในที่สุด เราจะไม่รู้อะไรเลย แม้แต่สิ่งที่ปรากฏในชีวิตเรา
หลวงปู่ได้เคยพูดประโยคสั้นๆ แก่ชาวบ้านที่มาหาว่า ถ้าเราไม่คิดที่จะเอาอะไรของใครๆ เราจะได้มากกว่าสิ่งที่เราหวังและคิด แต่ถ้าเราตะกรุมตะกราม ตะกละที่อยากได้อะไรของใครๆ ก็ไม่มีใครๆแม้จะคิดถึงเรา เพราะฉะนั้น จงหัดเป็นผู้คิดที่จะให้ แม้กระทั่งจิตวิญญาณและเลือดหยดสุดท้ายของตัวเองซะบ้าง แล้วเราจะได้รู้ว่า ชีวิตเรามีค่าขึ้นมาแค่ไหน อย่าเป็นเพียงแค่จะให้แต่ญาติ คนที่รัก พวกพ้องเรา เพื่อนฝูงเรา คนที่เรารู้จัก ความหมายของผู้ให้มีค่าอันสูงส่ง เทียบเท่าวิญญาณพุทธะ แต่ว่าความหมายของผู้รับ มีค่าน่าเหยียดหยาม และน่ารังเกียจ เทียบเท่าผีห่า ซาตาน เพราะฉะนั้น เลือกเอาว่า เราจะเป็นผีห่า ซาตาน หรือจิตวิญญาณพุทธะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น