สติ 5 อย่าง โดยหลวงปู่พทธะอิสระ
ลูกรัก
เจ้าจงพยายามทำความแจ่มชัดใน “สติ” 5 อย่าง ดังนี้
1) จงทำความแจ่มชัดใน สติปัฏฐานสี่
2) จงทำความแจ่มชัดใน สตินทรีย์ หรือ สติในอินทรีย์
3) จงทำความแจ่มชัดใน สติสัมโพชฌงค์
4) จงทำความแจ่มชัดใน สัมมาสติ
5) จงทำความแจ่มชัดใน มิจฉาสติ
อธิบายความ
คำว่าจงทำความแจ่มชัดใน สติปัฏฐานทั้ง 4 คือ เจ้าต้องมีสติ พิจารณา รู้ชัดความเป็นไปในกายนี้ ว่ามันประกอบด้วย “ลมหายใจถึง 16 ขั้น” แต่ละขั้นมีความหยาบ ละเอียด หนัก เบา สั้น ผ่อนคลาย เบาสบาย ต่างกันดังนี้คือ
อานาปานสติ 16 ขั้น แบ่งออกเป็น 4 หมวด
หมวดที่ 1
ขั้นที่ 1 -เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าลมกำลังออกยาว
-เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าลมกำลังเข้ายาว
ขั้นที่ 2 -เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าลมกำลังออกสั้น
-เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าลมกำลังเข้าสั้น
ขั้นที่ 3 -เมื่อหายใจออก ต้องรู้ชัดตลอดถึง หัวลม กลางลม หางลม ที่กระทบภายในกาย (รู้กระทบ กระเพื่อม ยุบ พอง) (อธิบายเพิ่มเติม :ลมกระทบจมูก คอ หน้าอก ท้อง)
-เมื่อหายใจเข้า ต้องรู้ชัดตลอดถึง หัวลม กลางลม หางลมที่กระทบภายในกาย (รู้กระทบ กระเพื่อม ยุบ พอง) (อธิบาย เพิ่มเติม :ลมกระทบ ท้อง หน้าอก คอ จมูก)
(อธิบายเพิ่มเติม: ควรที่จะทรงอารมณ์ปฐมฌาน (ปีติ อิ่มเอม) ถ้าทำไปนานๆ ถ้าไม่เห็นอาการให้บริกรรมจนจิตเกิดความตั้งมั่น )
ขั้นที่ 4 -ต้องไม่สนใจต่อสิ่งที่ตาเห็น หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นรับรส กายสัมผัส หรือแม้แต่อารมณ์ที่เกิดแก่ใจ แล้วจึงหายใจออก
-ต้องไม่สนใจต่อสิ่งที่ตาเห็น หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นรับรส กายสัมผัส หรือแม้แต่อารมณ์ที่เกิดแก่ใจ แล้วจึงหายใจเข้า
หมวดที่ 2
ขั้นที่ 5 -สัมผัสถึงความปีติอิ่มเอิบในใจ แล้วจึงหายใจออก
-สัมผัสถึงความปีติอิ่มเอิบในใจ แล้วจึงหายใจเข้า
ขั้นที่ 6 -รู้แจ่มชัดว่ากายนี้เป็นสุขแล้วจึงหายใจออก
-รู้แจ่มชัดว่ากายนี้เป็นสุขแล้วจึงหายใจเข้า
ขั้นที่ 7 -รู้แจ่มชัดว่าจิตนี้มีอารมณ์ใดๆ ปรุงแต่ง แล้วจึงหายใจออก
-รู้แจ่มชัดว่าจิตนี้มีอารมณ์ใดๆ ปรุงแต่ง แล้วจึงหายใจเข้า
ขั้นที่ 8 -รู้แจ่มชัดว่า จิตนี้ไม่ได้มีอารมณ์ใดๆ ปรุงแต่ง แล้วจึงหายใจออก
-รู้แจ่มชัดว่า จิตนี้ไม่ได้มีอารมณ์ใดๆ ปรุงแต่ง แล้วจึงหายใจเข้า
หมวดที่ 3
ขั้นที่ 9 -รู้แจ่มชัดว่า จิตนี้กำลังรู้ลม แล้วจึงหายใจออก
-รู้แจ่มชัดว่า จิตนี้กำลังรู้ลม แล้วจึงหายใจเข้า
ขั้นที่ 10 -รู้แจ่มชัดว่า จิตนี้เบาสบาย แล้วหายใจออก
-รู้แจ่มชัดว่า จิตนี้เบาสบาย แล้วหายใจเข้า
ขั้นที่ 11 -รู้แจ่มชัดว่า จิตนี้ตั้งมั่นอยู่ในกรรมฐานที่เจริญ แล้วจึงหายใจออก
-รู้แจ่มชัดว่า จิตนี้ตั้งมั่นอยู่ในกรรมฐานที่เจริญ แล้วจึงหายใจเข้า
ขั้นที่ 12 -รู้แจ่มชัดว่า จิตนี้สะอาด แล้วจึงหายใจออก
-รู้แจ่มชัดว่า จิตนี้สะอาด แล้วจึงหายใจเข้า
หมวดที่ 4
ขั้นที่ 13 -รู้แจ่มชัดว่า ความไม่คงที่ ไม่งาม มีอยู่ทั้งภายในกาย และนอกกาย แล้วจึงหายใจ-
ออก
-รู้แจ่มชัดว่า ความไม่คงที่ ไม่งาม มีอยู่ทั้งภายในกาย และนอกกาย แล้วจึงหายใจ-
เข้า
ขั้นที่ 14 -รู้แจ่มชัดถึงความลำบากทุกข์ยาก ที่มีอยู่ในกาย นอกกาย แล้วจึงหายใจออก
-รู้แจ่มชัดถึงความลำบากทุกข์ยาก ที่มีอยู่ในกาย นอกกาย แล้วจึงหายใจเข้า
ขั้นที่ 15 -รู้แจ่มชัดถึงความแตกสลาย ที่มีอยู่ในกาย นอกกาย แล้วจึงหายใจออก
-รู้แจ่มชัดถึงความแตกสลาย ที่มีอยู่ในกาย นอกกาย แล้วจึงหายใจเข้า
ขั้นที่ 16 -รู้แจ่มชัดถึงความรู้ดีมีปัญญาแจ่มใส ของจิตจนอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง -
แล้วจึงหายใจออก
-รู้แจ่มชัดถึงความรู้ดีมีปัญญาแจ่มใส ของจิตจนอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง -
แล้วจึงหายใจเข้า
อานาปานสติ ทั้ง 16 ขั้น 4 หมวด แบ่งออกเป็น สมถะ ตั้งแต่ขั้นที่ 1-12 ส่วนขั้นที่ 13-16 เป็นวิปัสสนา
แบ่งเป็นฌาณ 4 ดังนี้ คือ
ขั้นที่ 1-4 เป็นปฐมฌาณ
ขั้นที่ 5-8 เป็นทุติยฌาณ และตะติยะฌาณ
ขั้นที่ 9-12 เป็นจตุถฌาณ
ขั้นที่เหลือ 13-16 เป็นวิปัสสนาญาณ
เทียบกับหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ได้ดังนี้
ขั้นที่ 1-8 เป็น ศีล
ขั้นที่ 9-12 เป็นสมาธิ
ขั้นที่ 13-16 เป็นปัญญา
นอกจากนี้ เจ้าต้องใช้สติ พิจารณา รู้ชัดถึง “อิริยาบถ” ทั้ง 4 ของเจ้า ด้วยการยืนอย่างมีสติ เดินอย่างมีสติ นั่งอย่างมีสติ และก็นอนอย่างมีสติ กำหนดรู้ว่า ร่างกายของเรากำลัง ยืน เดิน นั่ง นอน อยู่
แม้เจ้าจะก้มหน้า เงยหน้า เหลียวซ้าย แลขวา มองหน้า มองหลัง ยกแขน ยกขา พูดจา
คิด หรือทำในกิจกรรมทั้งหลายทั้งปวง ของกายเจ้า เจ้าต้องมีสติกำหนดรู้แจ่มชัด ในอิริยาบถ
ย่อย หรือเรียกว่า ฝึกฝน “สัมปชัญญะ” เช่นนี้ถือว่า เจ้ากำลังสั่งสมทั้งสติและปัญญาไปในตัวแล้ว
อีกทั้งเจ้ายังต้องกำหนดรู้ได้ ให้แจ่มชัดว่า กายนี้ยังประกอบไปด้วย “ธาตุทั้ง 4” คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
ส่วนที่เป็นดินต้องมีลักษณะ แห้ง เป็นกลุ่ม เป็นก้อน ยืดหยุ่น และอ่อนไหวตัว ได้ เช่น ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ กระดูก เอ็น พังผืด ปอด หัวใจ ตับ ไต ไส้ กระเพาะ อาหารใหม่ อาหารเก่า เหล่านี้เป็นต้น
ส่วนที่เป็นน้ำ คือ น้ำเหลือง น้ำตา น้ำหนอง น้ำดี น้ำเสลด น้ำเลือด น้ำที่ซึมอยู่ทั้งในกระดูก และในก้อนเนื้อต่างๆ แม้ที่สุดในขน และเส้นผม ก็มีน้ำผสมอยู่ เป็นต้น
ส่วนที่เป็นลม ได้แก่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ลมในช่องท้อง ลมในลำไส้ ลมขึ้นเบื้องบน ลมลงเบื้องต่ำ ลมที่พัดทั่วสรรพางกาย แม้ลมที่ผสมอยู่ในธาตุดิน และไฟก็มี ดังนี้เป็นต้น
ส่วนที่เป็นธาตุไฟ ได้แก่ ไฟที่ทำให้ร่างกายกำเริบ เร่าร้อน ไฟธาตุที่ช่วยเผาผลาญพลังงาน ไฟที่ทำให้ร่างกายขับน้ำเหงื่อ เหล่านี้เป็นต้น
ตัวอย่างคล้ายๆ เหล่านี้ ที่พ่อยกมาก็เพื่อให้เจ้าได้พิจารณารู้ว่า ร่างกายที่เราหวงแหน
ทะนุ ถนอมรักษา เลี้ยงดู บำบัด บำรุงให้แข็งแรง สวยงาม ยั่งยืน อยู่ตลอดเวลา ที่จริงแล้วมันก็เป็นแต่เพียงแค่ ดิน น้ำ ลม และไฟ เท่านั้นเอง แม้ในดินก็ยังต้องอิงอาศัยน้ำ มีลมและไฟผสมอยู่ด้วย ไม่มีธาตุใดดำรงอยู่ได้โดยเอกเทศ โดดเดี่ยว โดยไม่พึ่งธาตุอื่น และธาตุน้ำในกายเมื่อตกตะกอนนอนก้นอยู่ ก็ยังมีธาตุดินผสมอยู่ ทั้งยังมีลมและไฟผสมอยู่อีกด้วย เช่นในเลือดของเราเป็นต้น นอกจากนี้ ดิน น้ำ ลม และไฟ ยังมีคุณสมบัติ อุปการะแก่ชีวิต ร่างกายให้ดำรงอยู่ได้อย่างสบายผ่อนคลาย แต่หากเมื่อใดธาตุหนึ่ง ธาตุใด ไร้คุณสมบัติหรือคุณสมบัติเสื่อมทราม ร่างกายนี้ก็จะเจ็บป่วยไม่สบาย เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเจ้า ถ้าอยากจะมีชีวิตอยู่อย่างผ่อนคลาย ก็ต้องรู้จักวิธีบำรุงรักษาธาตุทั้ง 4 ให้สมดุล เพื่อความไม่เป็นโรค
เจ้าต้องมีสติและสัมปชัญญะ กำหนดรู้ให้แจ่มชัดว่า กายนี้ประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 ต่าง ฝ่ายต่างช่วยกันทำหน้าที่ เพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ได้ หากธาตุหนึ่งธาตุใด หรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหยุดทำหน้าที่ กายนี้ก็ดำรงอยู่ยาก
เหตุผลของการดำรงอยู่แห่งกายนี้ ก็เพื่อใช้กรรม และทำกรรม คำว่าใช้ “กรรม” ในที่นี้ก็มีทั้ง ชดใช้กรรมเก่า และรับผลกรรมเก่า อีกทั้งชดใช้กรรมใหม่ รวมทั้งต้องรับผลกรรมใหม่ด้วย คำว่าทำกรรม หมายถึง นอกจากจะชดใช้กรรม รับผลกรรม ทั้งเก่าและใหม่แล้ว เรายังต้องทำกรรมเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งก็มีทั้งกรรมดีที่เรียกว่า “กุศลกรรม” อันกระทำได้ด้วยสติ ปัญญา ความรู้ และ กรรมชั่วที่เรียกว่า “อกุศลกรรม” ซึ่งกระทำด้วยความขาดสติ
สิ้นปัญญา ทำไปเพราะอาศัยแรงผลักดันของอวิชชา ตัณหา ความทะยานอยาก อุปาทานความยึดถือ
ที่ทั้งเจ้าต้องมีสติกำหนดรู้ให้แจ่มชัดว่า ความเที่ยงแท้ ความคงที่ ความเป็นเอกเทศแห่งธาตุ 4 ของกายนี้ไม่มีอยู่จริง ทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้นด้วยอาศัยเหตุปัจจัยนานับประการ จึงจะบังเกิดขึ้น และเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ยังมิสามารถตั้งอยู่คงที่ ยังต้องอิงอาศัยเหตุปัจจัยคอยส่งเสริม สนับสนุน บำรุงรักษา อยู่เนืองนิจ จวบจนธาตุนั้นๆ จะหยุดทำหน้าที่ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ ก็ได้แต่เฝ้าหวังว่าธาตุทั้ง 4 ทุกๆ ฝ่ายจะทำหน้าที่ของตนๆ ให้ยั่งยืนคงทน ยาวนาน เท่าที่จะนานได้
ข้อต่อมาเจ้าต้องมีสติ สัมปชัญญะ รู้แจ่มชัดถึงความสกปรก “ปฏิกูล” น่ารังเกียจของกายนี้ ทั้งภายในกาย และนอกกาย ว่ามันเป็นปฏิกูลอยู่เนืองนิจ จนทำให้เราต้องชำระล้าง ทำความสะอาดมันอยู่ตลอดเวลา แม้เช่นนี้ ก็ทำได้เพียงแค่ภายนอกกาย ส่วนภายในเรามิสามารถชำระล้าง ทำความสะอาดใดๆได้เลย จนบางครั้งมันก็แสดงความสกปรก เน่าเหม็นออกมาทางช่องทวารต่างๆอยู่เสมอๆ
หลักในการพิจารณากำหนดรู้แจ่มชัด เจ้าต้องพิจารณา กำหนดรู้ปฏิกูลโดยที่เกิด ว่า
แม้ สถานที่เกิดของอวัยวะ หรือธาตุต่างๆในร่างกายก็เป็นของสกปรก ปฏิกูล ตัวอย่างเช่น เส้นผมที่เกิดบนหัว หัวนี้ก็มีสิ่งปฏิกูลอยู่เดิมแล้ว เช่น มีน้ำมัน น้ำเหงื่อ และเป็นที่ทับถมเก็บผสมของฝุ่นละออง หากไม่ล้างไม่สระ ก็จะมีกลิ่นเหม็น และเป็นที่สะสมของเชื้อโรคต่างๆ แม้ตัวของเส้นผมเอง ก็มีความสกปรก ปฏิกูล ดังที่กล่าวมาแล้วเหมือนกัน
ปฏิกูลโดยที่ตั้งอยู่ เช่นที่ตั้งของเส้นผม ซึ่งอยู่บนหัวเรา ปกติมันก็ปฏิกูลอยู่เนืองนิจ
แล้ว หากเส้นผมนั้นเปลี่ยนที่ตั้งอยู่ มาตั้งในชามข้าว ถ้วยแกง แก้วน้ำ ก็ทำให้ข้าว แกง น้ำ
ดูปฏิกูลตามไปด้วย
ปฏิกูลโดยรูปร่าง ว่ากันจริงๆ แล้ว รูปร่างของนางงาม หรือชายหนุ่ม ที่ว่าสุดสวย สุดหล่อ เราลองแยกอวัยวะต่างๆ ของพวกเขาออกมากองเป็นชิ้นๆ ส่วนๆ แต่ละชนิด แล้วเราลองมองหาความงาม ความหล่อ ความสวยดูว่าจะเห็นไหม
ปฏิกูลโดยกลิ่น เรื่องกลิ่นนี้คงไม่ต้องอธิบายมากความ เพราะทุกคนคงประจักษ์อยู่แล้ว
ว่า อวัยวะแต่ละชนิด ต่างก็มีกลิ่นอันน่ารังเกียจกันทั้งนั้น หากไม่ชำระล้าง ทำความสะอาด ก็มีกลิ่น แม้ล้างแล้ว ทำความสะอาดแล้ว ปล่อยไว้สักพักเดียว ก็เกิดกลิ่นขึ้นอีก ด้วยเหตุนี้หละกระมัง เครื่องหอมต่างๆ จึงขายดิบขายดีมาแต่อดีต
ปฏิกูลโดยสี ว่าที่จริงแล้ว สีแต่ละสี มิได้ทำให้ปฏิกูลสกปรก แต่ที่มันปฏิกูลสกปรก เพราะสีมันเปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นความหมองคล้ำของสีนั้นๆ เช่น ฟันสีขาวดังสีหอยสังข์ แต่กลับมีขี้ฟันเกาะ คราบหินปูนติด เลยทำให้ฟันสีไม่สวย เล็บสีขาวอมชมพู แต่หากมีเศษธุลี ขี้เล็บติด เล็บก็ดูไม่งาม ผิวกายสีขาวเหลือง หรือสีแทน แต่หากหมองคล้ำ ด่างดำ ตกกระ มีริ้วรอย ก็ดูไม่งาม แม้ขนและผมก็เช่นเดียวกัน ไม่เว้นแม้แต่สีเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง มูล คูต เสลด น้ำลาย เหล่านี้แม้สีก็ไม่งาม
ข้อต่อมาเจ้าต้องใช้สติสัมปชัญญะ กำหนดพิจารณาให้รู้แจ่มชัดถึง “ความตาย” และสภาพที่บังเกิดแก่กายนี้ หลังจากที่ตายแล้ว ว่ามีลักษณะเช่นไร เมื่อตายผ่านไปแล้ว 3 วัน
7 วัน 15 วัน 1 เดือน 3 เดือน ครึ่งปี 1 ปี จนกระทั่งกระดูกผุกร่อน เป็นผุยผง แปรสภาพเป็นธุลีดิน
กรรมฐานกองนี้เจ้าต้องพิจารณาจากซากศพคนที่ตาย หรือซากศพสัตว์ที่ตายแล้ว น้อมเข้ามาหาตัวเองว่า แม้เราเมื่อตายแล้วก็จักมีสภาพปรากฏดังนี้ เจ้าจะได้ไม่มัวเมาประมาท ในการบริหารชีวิต ชีวิตเจ้าจักได้มีสาระมากยิ่งขึ้น ต่อตนและคนอื่น
สรุปการที่พระพุทธะสอน และพ่อนำมาถ่ายทอดแก่เจ้าต่อ เรื่องมีสติและสัมปชัญญะพิจารณาความเป็นไปภายในกาย ตามความเป็นจริงอย่างแจ่มชัด ก็เพื่อต้องการให้เจ้าบริหารกายนี้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดทั้งของตน และแก่คนอื่น สัตว์อื่น ด้วยความมุ่งมั่น เพียรพยายามอย่างยิ่ง และต้องรัก ศรัทธาในวิถีแห่งการกระทำเช่นนี้เป็นอย่างยิ่ง
อีกทั้งพ่ออยากจะบอกแก่เจ้าให้ได้รู้ว่า กายนี้มันไม่ได้แย่อย่างที่คิดเสียทีเดียว มันขึ้นอยู่กับผู้บริหารกายนี้ อย่างรู้แจ่มชัด ชาญฉลาด แยบคาย ผู้นั้นก็จะได้รับประโยชน์สูงสุด และผู้อื่นก็พลอยได้รับประโยชน์ไปด้วย ยกเว้นผู้ไม่รู้แจ่มชัด ไม่แยบคาย ก็จักนำพากายนี้ให้เกิดโทษทั้งในตนและคนอื่นอย่างมากมายมหาศาลเหมือนกัน
นอกจากเจ้าจะมีสติเพ่งพิจารณาความเป็นจริงของกายนี้แล้ว เจ้าต้องมีสติ สัมปชัญญะ พิจารณาความเป็นไปเป็นจริงในอารมณ์ หรือที่เรียกว่า “เวทนา” ของตนเองอีกด้วย
การมีสติสัมปชัญญะ พิจารณาให้รู้แจ่มชัดในอารมณ์ หรือเวทนาของตน ที่บังเกิดจากกายและใจ เช่น หนาว ร้อน หิว กระหาย ปวด เจ็บ เมื่อย ผ่อนคลาย เบา สบาย เป็นสุข เป็นทุกข์ สมหวัง ผิดหวัง เศร้า เสียใจ ดีใจ อิ่มเอิบ ปีติ บุญ บาป กุศล อกุศล หรือแม้แต่เฉยๆ
สภาพเหล่านี้ ดุจดังลมที่พัดมาจากทิศต่างๆ พร้อมกับนำพาเอาฝุ่นละออง และเมล็ดฝนสาดซัดเข้ามาสู่ในบ้านนี้ด้วย หน้าที่เรา ต้องระวังรักษาบ้านเอาไว้ อย่าเปิดช่องทางให้ลมพาฝุ่นและฝนสาดซัดเข้าบ้านเราได้ แม้ที่สุดมันจะบังเกิดจากตัวบ้านเอง เช่น เจ็บปวด เมื่อย จุกเสียด เราก็ต้องหาวิธีกำจัดมันออกไปเสียจากบ้านนี้ให้ได้ หรือถ้ากำจัดมันออกไปไม่ได้ ก็อย่าให้มันมีอำนาจครอบงำบ้านทั้งหลัง(จิต) ให้ทรุดโทรม เสื่อมเสียตามไปด้วย
หน้าที่ของเราต้องระวังรักษาบ้านนี้ให้ปลอดภัย (ปลอดอารมณ์) สะอาด (ไม่ปรุงแต่งในอารมณ์นั้นๆ ต่อไป) และเจ้าจงทำความเข้าใจให้แจ่มชัดด้วยว่า “เวทนา” มีอยู่ 2 ชนิด คือ เวทนาที่เกิดโดยกาย เช่น ปวด เมื่อย เป็นต้น เวทนาที่เกิดโดยใจ เช่น ดีใจ เสียใจ เศร้าใจ
และเฉยๆ เป็นต้น
เวทนาทั้งปวงนี้มันมีอายุสั้นมาก โดยจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยอาศัยเหตุปัจจัยทั้งหมด หากไม่มีเหตุปัจจัยมันก็ไม่เกิด พระพุทธะผู้ประเสริฐจึงได้ทรงสอนชาวเราให้รู้ว่า หากจะดับผล ก็ต้องดับที่เหตุ
สรุป
การที่เจ้ามีสติสัมปชัญญะ รู้แจ่มชัดในเวทนา หรืออารมณ์ที่เกิดทั้งทางกายและใจ ก็เพื่อเจ้าจักได้รักษาอารมณ์ของเจ้าให้เป็นกลาง ไม่กระเพื่อมตาม เจ้าจักได้ไม่เหนื่อยอย่างที่เป็นอยู่ และหากอารมณ์ของเจ้าต้องกระเพื่อม ก็ให้มันกระเพื่อมไปในฝ่ายกุศล
ข้อต่อมา เจ้าต้องมีสติสัมปชัญญะ รู้แจ่มชัดตามความเป็นจริงของสิ่งที่ปรากฏในจิตทุกขณะ ดุจดังบุคคลผู้รักและหวงแหนบ้านของตน ต้องคอยสำรวจตรวจตรา ทั้งภายในและภายนอกบ้าน ให้สะอาดสะอ้านอยู่เสมอๆ ไม่ปล่อยให้มีอะไรที่ไม่ดี แปลกปลอมเข้ามาอยู่ในบ้านของตนได้
ตัวอย่างเช่น เจ้าต้องรู้อย่างแจ่มชัดให้ได้ว่า เวลานี้จิตของเจ้ามีกุศลอยู่ หรืออกุศลอยู่ ต่อมาเจ้าก็ต้องทำความรู้ให้แจ่มชัดขึ้นอีกว่า ที่ว่าจิตนี้มีกุศล มีลักษณะเช่นไร ตัวอย่างเช่น จิตนี้สงบ เบา เย็น สบาย รู้สึกตัวแจ่มชัด จิตนี้มีความเพียรอยู่ หรือรู้ว่าจิตนี้ได้พ้นจากเครื่องพันธนาการทั้งปวงแล้ว
และหากเมื่อใดจิตนี้มีอกุศลครอบงำ เจ้าก็ต้องรู้ให้ได้ว่า ที่ว่าจิตนี้มีอกุศลครอบงำนั้น มันเป็นอกุศลตัวไหน เป็นราคะ โทสะ โมหะ หรือ ตัวฟุ้งซ่าน หรือ หดหู่ ง่วงเหงา หาวนอน
จิตนี้ขาดความเพียร
หากเจ้ามองไม่ออกว่า “จิต” เป็นกุศล หรืออกุศล เพราะมันเฉยๆ เจ้าต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่า ไอ้ที่เฉยๆ นี้มันเฉยเพราะอำนาจฌาณที่เกิดจากสมาธิ หรือเฉยเพราะอำนาจของปัญญาที่มองเห็น อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา แล้วบังเกิดความวางเฉย เช่นนี้จักเป็นประเภทกุศลแต่ถ้าเฉยเพราะความเซื่องซึม เกียจคร้าน เช่นนี้จัดว่าเป็นอกุศล
สรุป
การที่พ่อให้เจ้ามีสติสัมปชัญญะ สำรวจตรวจรู้แจ่มชัดในสิ่งที่เกิดแก่จิต (หรือบ้าน) ของเจ้า ก็เพื่อให้เจ้ารู้จักระวังรักษาบ้าน หรือจิตของเจ้าให้สะอาดปลอดภัย แต่เจ้าต้องทำความเข้าใจให้แจ่มชัดต่อไปด้วยว่าจิตนี้แม้จะมีหน้าที่มากมาย ก็สักแต่มีเอาไว้เพียงแค่รู้ บ้านนี้ถึงจะวิจิตรพิสดาร งดงามใหญ่โต ก็รังแต่มีเอาไว้อาศัย
หากเจ้าทำความเห็นให้ตรงถูกต้อง ดังกล่าวมานี้ จิตของเจ้าก็จักมีอิสระ สงบ เบา บ้านของเจ้าก็จักสะอาดปลอดภัย
ข้อต่อมา เจ้าต้องมีสติสัมปชัญญะ พิจารณาให้รู้แจ่มชัดว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงมีได้ทั้งภายในกาย และภายนอกกาย ธรรมะทั้งหลาย ที่มีทั้งนอกกาย ในกาย คือ
· ความพอใจรักใคร่ในกามคุณทั้ง 5 อันมี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เรียกว่า “กามฉันทะ”
· ความคิดร้าย มุ่งร้าย ขุ่นเคือง รำคาญ เรียกว่า “พยาบาท”
· ความเซื่องซึม ง่วงเหงา หาวนอน และเกียจคร้าน เรียกว่า “ถีนมิทธะ”
· ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ หงุดหงิด วิตก กังวล เรียกว่า “อุทธัจจะกุกกุจจะ”
· ความหวาดระแวง สงสัย ลังเล เรียกว่า “วิจิกิจฉา”
ทั้งหมดนี้รวมกันเรียกได้อีกชื่อว่า “นิวรณ์ธรรม” 5 อย่าง และยังมีธรรมข้ออื่นๆ อีก ซึ่งก็มีได้ทั้งนอกกาย ในกาย เช่น วิริยะ(ความเพียร) อิทธิบาท 4 สติปัฏฐาน 4 และธรรมที่เป็นไปโดยกุศล ธรรมที่เป็นไปโดยอกุศลเป็นต้น สำหรับธรรมที่เป็นไปในกายและนอกกาย พ่อจะยกตัวอย่างให้เจ้าดูคร่าวๆ ซัก 2 ตัวอย่างคือ
ตัวอย่างที่หนึ่ง ได้แก่เมื่อใดที่ตาของเจ้าได้เห็นรูปที่พึงพอใจ นี้จัดเป็นธรรมนอกกาย ต่อมาเจ้าเกิดความกำหนัดยินดีในรูปที่เห็นนี้เป็นธรรมในกาย แต่หากว่าเจ้ามีสติสัมปชัญญะ พิจารณารู้แจ่มชัดว่า รูปที่เห็นเป็นแต่เพียงธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมรวมกัน อีกทั้งยังประกอบไปด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ ที่แยกออกมาเป็นกองๆ ส่วนๆ แล้วก็เป็นของไม่งาม ทั้งยังมีกลิ่น และสี รูปพรรณสัณฐานอันน่ารังเกียจอีกตะหาก รูปนี้จึงไม่มีอะไร ที่น่าปรารถนา กำหนัดรักใคร่ได้เลย เช่นนี้จึงชื่อว่า มีสติพิจารณาธรรมที่เป็นไปในกาย - นอกกาย
อีกตัวอย่างหนึ่ง เมื่อใดที่เจ้ามีสติสัมปชัญญะ พิจารณาเห็นธรรมที่เป็นกุศลควรทำให้เจริญ ธรรมใดที่เป็นอกุศลควรละเสีย เช่นนี้จึงเรียกว่า “พิจารณาธรรมในธรรม”
สรุป การมีสติพิจารณา ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เจ้าต้องรู้เห็นให้แจ่มชัดว่า ธรรมใดที่เป็นกุศล ควรทำให้มากในธรรมนั้น ธรรมเหล่าใดที่เป็นอกุศล เจ้าต้องตระหนักสำนึกถึงเภทภัยอันตรายในธรรมเหล่านั้น แล้วควรจักละให้สิ้น
รวมความว่า การมีสติสัมปชัญญะ พิจารณา กาย เวทนา จิต และธรรม เพื่อให้เจ้าได้เข้าใจกายและใจอย่างแจ่มชัด ว่าเจ้าควรจะบริหารจัดการกับมันเช่นไร ให้บังเกิดประโยชน์สูง ประหยัดสุด ทั้งเวลาและทรัพยากร ทั้งแก่ตนและคนรอบข้าง
อีกทั้งเจ้ายังจักสามารถรู้ที่เกิดของกาย เวทนา จิต และธรรม รู้เหตุแห่งการตั้งอยู่และรู้ซึ้งถึงกระบวนการดับไปของ กาย เวทนา จิต และธรรม ได้อย่างถ่องแท้ แจ่มชัด
จบมหาสติปัฏฐานสี่ (แบบย่อ)
จงทำความแจ่มชัดใน “สตินทรีย์” หรือ สติในอินทรีย์ 5 ซึ่งมี 5 ประการดังนี้
1) ศรัทธา คือ ความเชื่อ
2) วิริยะ คือ ความเพียร
3) สติ คือ ความระลึกรู้
4) สมาธิ คือ ความตั้งมั่นของจิตในอารมณ์ที่เป็นกุศล อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง
5) ปัญญา ความรู้แจ่มชัดตามสภาพธรรมที่เป็นจริง
อธิบายความ
คำว่า “ศรัทธา” ความเชื่อ หมายถึง เชื่อกรรม เชื่อกฏของกรรมว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วเชื่อว่าเราทำกรรมอย่างไร กรรมนั้นก็จักให้ผลแก่เราเช่นนั้น
นอกจากจะแปลว่าความเชื่อแล้ว ยังหมายรวมถึง ความรัก ความพอใจในสิ่งที่กำลังทำอยู่ด้วย
คำว่า “วิริยะ” ความเพียร จะต้องหมายถึงความเพียรพยายามที่จะกระทำดี เพียรพยายามที่จะละชั่วเท่านั้น มิได้หมายถึงความพยายามที่จะกระทำไม่ดีต่างๆ เหล่านี้ไม่เรียกว่า วิริยะ ความเพียร แต่เรียกว่า “ตัณหา” ความทะยานอยาก
คำว่า “สติ” แปลว่า ความระลึกรู้ ระลึกได้ รู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการทำ พูด คิด
คำว่า “สมาธิ” หมายถึง ความตั้งมั่นของจิตในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ที่เป็นบุญกุศลเท่านั้น
คำว่า “ปัญญา” หมายถึง ความรู้แจ่มชัด ความเข้าใจลึกซึ้ง ความรอบรู้ กว้างไกล หรือความรู้เข้าใจเป็นเรื่องๆ เป็นอย่างๆ ตามสภาพธรรมที่เป็นจริง
ลูกรัก วิธีใช้ธรรมทั้ง 5 อย่างนี้ เจ้าจะต้องยก “สติ” ความระลึกได้ขึ้นมาเป็นประธาน แล้วใช้ปัญญา ความรู้แจ่มชัด ความเข้าใจลึกซึ้ง ร่วมกับศรัทธา ความเชื่อ ความรักความพอใจ เมื่อเจ้าเชื่ออย่างมีปัญญา ระลึกรู้แจ่มชัด เจ้าจะได้ไม่มีใครหลอก ความผิดพลาดก็จะน้อยลง
เมื่อสติควบคุม ศรัทธา ความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญาแล้ว เจ้าก็จะต้องใช้ความเพียรพยายาม ที่เรียกว่า “วิริยะ” กระทำในสิ่งที่เจ้าคิดแล้ว เชื่ออย่างจริงๆ จังๆ แม้มีปัญหาและอุปสรรคใดๆ มาขัดขวาง เจ้าก็จะต้องตั้งมั่นไม่ย่อท้อ หลีกหนี เพราะเจ้ามีสมาธิ ความตั้งมั่นอยู่ในงานนั้นๆ อารมณ์นั้นๆ จนสำเร็จโดยมีสติเป็นผู้ควบคุมประสานงานให้เชื่ออย่างมีปัญญา เพียรอย่างตั้งมั่น
เช่นนี้ธรรม 5 อย่างที่เรียกว่า อินทรีย์ 5 ก็จะกลายสภาพเป็นกำลังที่เรียกว่า พละ 5คือ ศรัทธา ก็มีปัญญาเป็นกำลัง วิริยะ ก็มีสมาธิสนับสนุน สติ ก็คอยเป็นพี่เลี้ยงของปัญญา
จิต เมื่อมีธรรม 5 อย่างนี้สมบูรณ์ ก็จักได้ว่าเป็น “วิเสสจิต” เป็นจิตที่วิเศษเยี่ยมยอด
ลูกรัก
เจ้าจงพยายามทำความแจ่มชัดใน “สติ” 5 อย่าง ดังนี้
1) จงทำความแจ่มชัดใน สติปัฏฐานสี่
2) จงทำความแจ่มชัดใน สตินทรีย์ หรือ สติในอินทรีย์
3) จงทำความแจ่มชัดใน สติสัมโพชฌงค์
4) จงทำความแจ่มชัดใน สัมมาสติ
5) จงทำความแจ่มชัดใน มิจฉาสติ
อธิบายความ
คำว่าจงทำความแจ่มชัดใน สติปัฏฐานทั้ง 4 คือ เจ้าต้องมีสติ พิจารณา รู้ชัดความเป็นไปในกายนี้ ว่ามันประกอบด้วย “ลมหายใจถึง 16 ขั้น” แต่ละขั้นมีความหยาบ ละเอียด หนัก เบา สั้น ผ่อนคลาย เบาสบาย ต่างกันดังนี้คือ
อานาปานสติ 16 ขั้น แบ่งออกเป็น 4 หมวด
หมวดที่ 1
ขั้นที่ 1 -เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าลมกำลังออกยาว
-เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าลมกำลังเข้ายาว
ขั้นที่ 2 -เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าลมกำลังออกสั้น
-เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าลมกำลังเข้าสั้น
ขั้นที่ 3 -เมื่อหายใจออก ต้องรู้ชัดตลอดถึง หัวลม กลางลม หางลม ที่กระทบภายในกาย (รู้กระทบ กระเพื่อม ยุบ พอง) (อธิบายเพิ่มเติม :ลมกระทบจมูก คอ หน้าอก ท้อง)
-เมื่อหายใจเข้า ต้องรู้ชัดตลอดถึง หัวลม กลางลม หางลมที่กระทบภายในกาย (รู้กระทบ กระเพื่อม ยุบ พอง) (อธิบาย เพิ่มเติม :ลมกระทบ ท้อง หน้าอก คอ จมูก)
(อธิบายเพิ่มเติม: ควรที่จะทรงอารมณ์ปฐมฌาน (ปีติ อิ่มเอม) ถ้าทำไปนานๆ ถ้าไม่เห็นอาการให้บริกรรมจนจิตเกิดความตั้งมั่น )
ขั้นที่ 4 -ต้องไม่สนใจต่อสิ่งที่ตาเห็น หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นรับรส กายสัมผัส หรือแม้แต่อารมณ์ที่เกิดแก่ใจ แล้วจึงหายใจออก
-ต้องไม่สนใจต่อสิ่งที่ตาเห็น หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นรับรส กายสัมผัส หรือแม้แต่อารมณ์ที่เกิดแก่ใจ แล้วจึงหายใจเข้า
หมวดที่ 2
ขั้นที่ 5 -สัมผัสถึงความปีติอิ่มเอิบในใจ แล้วจึงหายใจออก
-สัมผัสถึงความปีติอิ่มเอิบในใจ แล้วจึงหายใจเข้า
ขั้นที่ 6 -รู้แจ่มชัดว่ากายนี้เป็นสุขแล้วจึงหายใจออก
-รู้แจ่มชัดว่ากายนี้เป็นสุขแล้วจึงหายใจเข้า
ขั้นที่ 7 -รู้แจ่มชัดว่าจิตนี้มีอารมณ์ใดๆ ปรุงแต่ง แล้วจึงหายใจออก
-รู้แจ่มชัดว่าจิตนี้มีอารมณ์ใดๆ ปรุงแต่ง แล้วจึงหายใจเข้า
ขั้นที่ 8 -รู้แจ่มชัดว่า จิตนี้ไม่ได้มีอารมณ์ใดๆ ปรุงแต่ง แล้วจึงหายใจออก
-รู้แจ่มชัดว่า จิตนี้ไม่ได้มีอารมณ์ใดๆ ปรุงแต่ง แล้วจึงหายใจเข้า
หมวดที่ 3
ขั้นที่ 9 -รู้แจ่มชัดว่า จิตนี้กำลังรู้ลม แล้วจึงหายใจออก
-รู้แจ่มชัดว่า จิตนี้กำลังรู้ลม แล้วจึงหายใจเข้า
ขั้นที่ 10 -รู้แจ่มชัดว่า จิตนี้เบาสบาย แล้วหายใจออก
-รู้แจ่มชัดว่า จิตนี้เบาสบาย แล้วหายใจเข้า
ขั้นที่ 11 -รู้แจ่มชัดว่า จิตนี้ตั้งมั่นอยู่ในกรรมฐานที่เจริญ แล้วจึงหายใจออก
-รู้แจ่มชัดว่า จิตนี้ตั้งมั่นอยู่ในกรรมฐานที่เจริญ แล้วจึงหายใจเข้า
ขั้นที่ 12 -รู้แจ่มชัดว่า จิตนี้สะอาด แล้วจึงหายใจออก
-รู้แจ่มชัดว่า จิตนี้สะอาด แล้วจึงหายใจเข้า
หมวดที่ 4
ขั้นที่ 13 -รู้แจ่มชัดว่า ความไม่คงที่ ไม่งาม มีอยู่ทั้งภายในกาย และนอกกาย แล้วจึงหายใจ-
ออก
-รู้แจ่มชัดว่า ความไม่คงที่ ไม่งาม มีอยู่ทั้งภายในกาย และนอกกาย แล้วจึงหายใจ-
เข้า
ขั้นที่ 14 -รู้แจ่มชัดถึงความลำบากทุกข์ยาก ที่มีอยู่ในกาย นอกกาย แล้วจึงหายใจออก
-รู้แจ่มชัดถึงความลำบากทุกข์ยาก ที่มีอยู่ในกาย นอกกาย แล้วจึงหายใจเข้า
ขั้นที่ 15 -รู้แจ่มชัดถึงความแตกสลาย ที่มีอยู่ในกาย นอกกาย แล้วจึงหายใจออก
-รู้แจ่มชัดถึงความแตกสลาย ที่มีอยู่ในกาย นอกกาย แล้วจึงหายใจเข้า
ขั้นที่ 16 -รู้แจ่มชัดถึงความรู้ดีมีปัญญาแจ่มใส ของจิตจนอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง -
แล้วจึงหายใจออก
-รู้แจ่มชัดถึงความรู้ดีมีปัญญาแจ่มใส ของจิตจนอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง -
แล้วจึงหายใจเข้า
อานาปานสติ ทั้ง 16 ขั้น 4 หมวด แบ่งออกเป็น สมถะ ตั้งแต่ขั้นที่ 1-12 ส่วนขั้นที่ 13-16 เป็นวิปัสสนา
แบ่งเป็นฌาณ 4 ดังนี้ คือ
ขั้นที่ 1-4 เป็นปฐมฌาณ
ขั้นที่ 5-8 เป็นทุติยฌาณ และตะติยะฌาณ
ขั้นที่ 9-12 เป็นจตุถฌาณ
ขั้นที่เหลือ 13-16 เป็นวิปัสสนาญาณ
เทียบกับหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ได้ดังนี้
ขั้นที่ 1-8 เป็น ศีล
ขั้นที่ 9-12 เป็นสมาธิ
ขั้นที่ 13-16 เป็นปัญญา
นอกจากนี้ เจ้าต้องใช้สติ พิจารณา รู้ชัดถึง “อิริยาบถ” ทั้ง 4 ของเจ้า ด้วยการยืนอย่างมีสติ เดินอย่างมีสติ นั่งอย่างมีสติ และก็นอนอย่างมีสติ กำหนดรู้ว่า ร่างกายของเรากำลัง ยืน เดิน นั่ง นอน อยู่
แม้เจ้าจะก้มหน้า เงยหน้า เหลียวซ้าย แลขวา มองหน้า มองหลัง ยกแขน ยกขา พูดจา
คิด หรือทำในกิจกรรมทั้งหลายทั้งปวง ของกายเจ้า เจ้าต้องมีสติกำหนดรู้แจ่มชัด ในอิริยาบถ
ย่อย หรือเรียกว่า ฝึกฝน “สัมปชัญญะ” เช่นนี้ถือว่า เจ้ากำลังสั่งสมทั้งสติและปัญญาไปในตัวแล้ว
อีกทั้งเจ้ายังต้องกำหนดรู้ได้ ให้แจ่มชัดว่า กายนี้ยังประกอบไปด้วย “ธาตุทั้ง 4” คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
ส่วนที่เป็นดินต้องมีลักษณะ แห้ง เป็นกลุ่ม เป็นก้อน ยืดหยุ่น และอ่อนไหวตัว ได้ เช่น ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ กระดูก เอ็น พังผืด ปอด หัวใจ ตับ ไต ไส้ กระเพาะ อาหารใหม่ อาหารเก่า เหล่านี้เป็นต้น
ส่วนที่เป็นน้ำ คือ น้ำเหลือง น้ำตา น้ำหนอง น้ำดี น้ำเสลด น้ำเลือด น้ำที่ซึมอยู่ทั้งในกระดูก และในก้อนเนื้อต่างๆ แม้ที่สุดในขน และเส้นผม ก็มีน้ำผสมอยู่ เป็นต้น
ส่วนที่เป็นลม ได้แก่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ลมในช่องท้อง ลมในลำไส้ ลมขึ้นเบื้องบน ลมลงเบื้องต่ำ ลมที่พัดทั่วสรรพางกาย แม้ลมที่ผสมอยู่ในธาตุดิน และไฟก็มี ดังนี้เป็นต้น
ส่วนที่เป็นธาตุไฟ ได้แก่ ไฟที่ทำให้ร่างกายกำเริบ เร่าร้อน ไฟธาตุที่ช่วยเผาผลาญพลังงาน ไฟที่ทำให้ร่างกายขับน้ำเหงื่อ เหล่านี้เป็นต้น
ตัวอย่างคล้ายๆ เหล่านี้ ที่พ่อยกมาก็เพื่อให้เจ้าได้พิจารณารู้ว่า ร่างกายที่เราหวงแหน
ทะนุ ถนอมรักษา เลี้ยงดู บำบัด บำรุงให้แข็งแรง สวยงาม ยั่งยืน อยู่ตลอดเวลา ที่จริงแล้วมันก็เป็นแต่เพียงแค่ ดิน น้ำ ลม และไฟ เท่านั้นเอง แม้ในดินก็ยังต้องอิงอาศัยน้ำ มีลมและไฟผสมอยู่ด้วย ไม่มีธาตุใดดำรงอยู่ได้โดยเอกเทศ โดดเดี่ยว โดยไม่พึ่งธาตุอื่น และธาตุน้ำในกายเมื่อตกตะกอนนอนก้นอยู่ ก็ยังมีธาตุดินผสมอยู่ ทั้งยังมีลมและไฟผสมอยู่อีกด้วย เช่นในเลือดของเราเป็นต้น นอกจากนี้ ดิน น้ำ ลม และไฟ ยังมีคุณสมบัติ อุปการะแก่ชีวิต ร่างกายให้ดำรงอยู่ได้อย่างสบายผ่อนคลาย แต่หากเมื่อใดธาตุหนึ่ง ธาตุใด ไร้คุณสมบัติหรือคุณสมบัติเสื่อมทราม ร่างกายนี้ก็จะเจ็บป่วยไม่สบาย เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเจ้า ถ้าอยากจะมีชีวิตอยู่อย่างผ่อนคลาย ก็ต้องรู้จักวิธีบำรุงรักษาธาตุทั้ง 4 ให้สมดุล เพื่อความไม่เป็นโรค
เจ้าต้องมีสติและสัมปชัญญะ กำหนดรู้ให้แจ่มชัดว่า กายนี้ประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 ต่าง ฝ่ายต่างช่วยกันทำหน้าที่ เพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ได้ หากธาตุหนึ่งธาตุใด หรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหยุดทำหน้าที่ กายนี้ก็ดำรงอยู่ยาก
เหตุผลของการดำรงอยู่แห่งกายนี้ ก็เพื่อใช้กรรม และทำกรรม คำว่าใช้ “กรรม” ในที่นี้ก็มีทั้ง ชดใช้กรรมเก่า และรับผลกรรมเก่า อีกทั้งชดใช้กรรมใหม่ รวมทั้งต้องรับผลกรรมใหม่ด้วย คำว่าทำกรรม หมายถึง นอกจากจะชดใช้กรรม รับผลกรรม ทั้งเก่าและใหม่แล้ว เรายังต้องทำกรรมเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งก็มีทั้งกรรมดีที่เรียกว่า “กุศลกรรม” อันกระทำได้ด้วยสติ ปัญญา ความรู้ และ กรรมชั่วที่เรียกว่า “อกุศลกรรม” ซึ่งกระทำด้วยความขาดสติ
สิ้นปัญญา ทำไปเพราะอาศัยแรงผลักดันของอวิชชา ตัณหา ความทะยานอยาก อุปาทานความยึดถือ
ที่ทั้งเจ้าต้องมีสติกำหนดรู้ให้แจ่มชัดว่า ความเที่ยงแท้ ความคงที่ ความเป็นเอกเทศแห่งธาตุ 4 ของกายนี้ไม่มีอยู่จริง ทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้นด้วยอาศัยเหตุปัจจัยนานับประการ จึงจะบังเกิดขึ้น และเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ยังมิสามารถตั้งอยู่คงที่ ยังต้องอิงอาศัยเหตุปัจจัยคอยส่งเสริม สนับสนุน บำรุงรักษา อยู่เนืองนิจ จวบจนธาตุนั้นๆ จะหยุดทำหน้าที่ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ ก็ได้แต่เฝ้าหวังว่าธาตุทั้ง 4 ทุกๆ ฝ่ายจะทำหน้าที่ของตนๆ ให้ยั่งยืนคงทน ยาวนาน เท่าที่จะนานได้
ข้อต่อมาเจ้าต้องมีสติ สัมปชัญญะ รู้แจ่มชัดถึงความสกปรก “ปฏิกูล” น่ารังเกียจของกายนี้ ทั้งภายในกาย และนอกกาย ว่ามันเป็นปฏิกูลอยู่เนืองนิจ จนทำให้เราต้องชำระล้าง ทำความสะอาดมันอยู่ตลอดเวลา แม้เช่นนี้ ก็ทำได้เพียงแค่ภายนอกกาย ส่วนภายในเรามิสามารถชำระล้าง ทำความสะอาดใดๆได้เลย จนบางครั้งมันก็แสดงความสกปรก เน่าเหม็นออกมาทางช่องทวารต่างๆอยู่เสมอๆ
หลักในการพิจารณากำหนดรู้แจ่มชัด เจ้าต้องพิจารณา กำหนดรู้ปฏิกูลโดยที่เกิด ว่า
แม้ สถานที่เกิดของอวัยวะ หรือธาตุต่างๆในร่างกายก็เป็นของสกปรก ปฏิกูล ตัวอย่างเช่น เส้นผมที่เกิดบนหัว หัวนี้ก็มีสิ่งปฏิกูลอยู่เดิมแล้ว เช่น มีน้ำมัน น้ำเหงื่อ และเป็นที่ทับถมเก็บผสมของฝุ่นละออง หากไม่ล้างไม่สระ ก็จะมีกลิ่นเหม็น และเป็นที่สะสมของเชื้อโรคต่างๆ แม้ตัวของเส้นผมเอง ก็มีความสกปรก ปฏิกูล ดังที่กล่าวมาแล้วเหมือนกัน
ปฏิกูลโดยที่ตั้งอยู่ เช่นที่ตั้งของเส้นผม ซึ่งอยู่บนหัวเรา ปกติมันก็ปฏิกูลอยู่เนืองนิจ
แล้ว หากเส้นผมนั้นเปลี่ยนที่ตั้งอยู่ มาตั้งในชามข้าว ถ้วยแกง แก้วน้ำ ก็ทำให้ข้าว แกง น้ำ
ดูปฏิกูลตามไปด้วย
ปฏิกูลโดยรูปร่าง ว่ากันจริงๆ แล้ว รูปร่างของนางงาม หรือชายหนุ่ม ที่ว่าสุดสวย สุดหล่อ เราลองแยกอวัยวะต่างๆ ของพวกเขาออกมากองเป็นชิ้นๆ ส่วนๆ แต่ละชนิด แล้วเราลองมองหาความงาม ความหล่อ ความสวยดูว่าจะเห็นไหม
ปฏิกูลโดยกลิ่น เรื่องกลิ่นนี้คงไม่ต้องอธิบายมากความ เพราะทุกคนคงประจักษ์อยู่แล้ว
ว่า อวัยวะแต่ละชนิด ต่างก็มีกลิ่นอันน่ารังเกียจกันทั้งนั้น หากไม่ชำระล้าง ทำความสะอาด ก็มีกลิ่น แม้ล้างแล้ว ทำความสะอาดแล้ว ปล่อยไว้สักพักเดียว ก็เกิดกลิ่นขึ้นอีก ด้วยเหตุนี้หละกระมัง เครื่องหอมต่างๆ จึงขายดิบขายดีมาแต่อดีต
ปฏิกูลโดยสี ว่าที่จริงแล้ว สีแต่ละสี มิได้ทำให้ปฏิกูลสกปรก แต่ที่มันปฏิกูลสกปรก เพราะสีมันเปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นความหมองคล้ำของสีนั้นๆ เช่น ฟันสีขาวดังสีหอยสังข์ แต่กลับมีขี้ฟันเกาะ คราบหินปูนติด เลยทำให้ฟันสีไม่สวย เล็บสีขาวอมชมพู แต่หากมีเศษธุลี ขี้เล็บติด เล็บก็ดูไม่งาม ผิวกายสีขาวเหลือง หรือสีแทน แต่หากหมองคล้ำ ด่างดำ ตกกระ มีริ้วรอย ก็ดูไม่งาม แม้ขนและผมก็เช่นเดียวกัน ไม่เว้นแม้แต่สีเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง มูล คูต เสลด น้ำลาย เหล่านี้แม้สีก็ไม่งาม
ข้อต่อมาเจ้าต้องใช้สติสัมปชัญญะ กำหนดพิจารณาให้รู้แจ่มชัดถึง “ความตาย” และสภาพที่บังเกิดแก่กายนี้ หลังจากที่ตายแล้ว ว่ามีลักษณะเช่นไร เมื่อตายผ่านไปแล้ว 3 วัน
7 วัน 15 วัน 1 เดือน 3 เดือน ครึ่งปี 1 ปี จนกระทั่งกระดูกผุกร่อน เป็นผุยผง แปรสภาพเป็นธุลีดิน
กรรมฐานกองนี้เจ้าต้องพิจารณาจากซากศพคนที่ตาย หรือซากศพสัตว์ที่ตายแล้ว น้อมเข้ามาหาตัวเองว่า แม้เราเมื่อตายแล้วก็จักมีสภาพปรากฏดังนี้ เจ้าจะได้ไม่มัวเมาประมาท ในการบริหารชีวิต ชีวิตเจ้าจักได้มีสาระมากยิ่งขึ้น ต่อตนและคนอื่น
สรุปการที่พระพุทธะสอน และพ่อนำมาถ่ายทอดแก่เจ้าต่อ เรื่องมีสติและสัมปชัญญะพิจารณาความเป็นไปภายในกาย ตามความเป็นจริงอย่างแจ่มชัด ก็เพื่อต้องการให้เจ้าบริหารกายนี้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดทั้งของตน และแก่คนอื่น สัตว์อื่น ด้วยความมุ่งมั่น เพียรพยายามอย่างยิ่ง และต้องรัก ศรัทธาในวิถีแห่งการกระทำเช่นนี้เป็นอย่างยิ่ง
อีกทั้งพ่ออยากจะบอกแก่เจ้าให้ได้รู้ว่า กายนี้มันไม่ได้แย่อย่างที่คิดเสียทีเดียว มันขึ้นอยู่กับผู้บริหารกายนี้ อย่างรู้แจ่มชัด ชาญฉลาด แยบคาย ผู้นั้นก็จะได้รับประโยชน์สูงสุด และผู้อื่นก็พลอยได้รับประโยชน์ไปด้วย ยกเว้นผู้ไม่รู้แจ่มชัด ไม่แยบคาย ก็จักนำพากายนี้ให้เกิดโทษทั้งในตนและคนอื่นอย่างมากมายมหาศาลเหมือนกัน
นอกจากเจ้าจะมีสติเพ่งพิจารณาความเป็นจริงของกายนี้แล้ว เจ้าต้องมีสติ สัมปชัญญะ พิจารณาความเป็นไปเป็นจริงในอารมณ์ หรือที่เรียกว่า “เวทนา” ของตนเองอีกด้วย
การมีสติสัมปชัญญะ พิจารณาให้รู้แจ่มชัดในอารมณ์ หรือเวทนาของตน ที่บังเกิดจากกายและใจ เช่น หนาว ร้อน หิว กระหาย ปวด เจ็บ เมื่อย ผ่อนคลาย เบา สบาย เป็นสุข เป็นทุกข์ สมหวัง ผิดหวัง เศร้า เสียใจ ดีใจ อิ่มเอิบ ปีติ บุญ บาป กุศล อกุศล หรือแม้แต่เฉยๆ
สภาพเหล่านี้ ดุจดังลมที่พัดมาจากทิศต่างๆ พร้อมกับนำพาเอาฝุ่นละออง และเมล็ดฝนสาดซัดเข้ามาสู่ในบ้านนี้ด้วย หน้าที่เรา ต้องระวังรักษาบ้านเอาไว้ อย่าเปิดช่องทางให้ลมพาฝุ่นและฝนสาดซัดเข้าบ้านเราได้ แม้ที่สุดมันจะบังเกิดจากตัวบ้านเอง เช่น เจ็บปวด เมื่อย จุกเสียด เราก็ต้องหาวิธีกำจัดมันออกไปเสียจากบ้านนี้ให้ได้ หรือถ้ากำจัดมันออกไปไม่ได้ ก็อย่าให้มันมีอำนาจครอบงำบ้านทั้งหลัง(จิต) ให้ทรุดโทรม เสื่อมเสียตามไปด้วย
หน้าที่ของเราต้องระวังรักษาบ้านนี้ให้ปลอดภัย (ปลอดอารมณ์) สะอาด (ไม่ปรุงแต่งในอารมณ์นั้นๆ ต่อไป) และเจ้าจงทำความเข้าใจให้แจ่มชัดด้วยว่า “เวทนา” มีอยู่ 2 ชนิด คือ เวทนาที่เกิดโดยกาย เช่น ปวด เมื่อย เป็นต้น เวทนาที่เกิดโดยใจ เช่น ดีใจ เสียใจ เศร้าใจ
และเฉยๆ เป็นต้น
เวทนาทั้งปวงนี้มันมีอายุสั้นมาก โดยจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยอาศัยเหตุปัจจัยทั้งหมด หากไม่มีเหตุปัจจัยมันก็ไม่เกิด พระพุทธะผู้ประเสริฐจึงได้ทรงสอนชาวเราให้รู้ว่า หากจะดับผล ก็ต้องดับที่เหตุ
สรุป
การที่เจ้ามีสติสัมปชัญญะ รู้แจ่มชัดในเวทนา หรืออารมณ์ที่เกิดทั้งทางกายและใจ ก็เพื่อเจ้าจักได้รักษาอารมณ์ของเจ้าให้เป็นกลาง ไม่กระเพื่อมตาม เจ้าจักได้ไม่เหนื่อยอย่างที่เป็นอยู่ และหากอารมณ์ของเจ้าต้องกระเพื่อม ก็ให้มันกระเพื่อมไปในฝ่ายกุศล
ข้อต่อมา เจ้าต้องมีสติสัมปชัญญะ รู้แจ่มชัดตามความเป็นจริงของสิ่งที่ปรากฏในจิตทุกขณะ ดุจดังบุคคลผู้รักและหวงแหนบ้านของตน ต้องคอยสำรวจตรวจตรา ทั้งภายในและภายนอกบ้าน ให้สะอาดสะอ้านอยู่เสมอๆ ไม่ปล่อยให้มีอะไรที่ไม่ดี แปลกปลอมเข้ามาอยู่ในบ้านของตนได้
ตัวอย่างเช่น เจ้าต้องรู้อย่างแจ่มชัดให้ได้ว่า เวลานี้จิตของเจ้ามีกุศลอยู่ หรืออกุศลอยู่ ต่อมาเจ้าก็ต้องทำความรู้ให้แจ่มชัดขึ้นอีกว่า ที่ว่าจิตนี้มีกุศล มีลักษณะเช่นไร ตัวอย่างเช่น จิตนี้สงบ เบา เย็น สบาย รู้สึกตัวแจ่มชัด จิตนี้มีความเพียรอยู่ หรือรู้ว่าจิตนี้ได้พ้นจากเครื่องพันธนาการทั้งปวงแล้ว
และหากเมื่อใดจิตนี้มีอกุศลครอบงำ เจ้าก็ต้องรู้ให้ได้ว่า ที่ว่าจิตนี้มีอกุศลครอบงำนั้น มันเป็นอกุศลตัวไหน เป็นราคะ โทสะ โมหะ หรือ ตัวฟุ้งซ่าน หรือ หดหู่ ง่วงเหงา หาวนอน
จิตนี้ขาดความเพียร
หากเจ้ามองไม่ออกว่า “จิต” เป็นกุศล หรืออกุศล เพราะมันเฉยๆ เจ้าต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่า ไอ้ที่เฉยๆ นี้มันเฉยเพราะอำนาจฌาณที่เกิดจากสมาธิ หรือเฉยเพราะอำนาจของปัญญาที่มองเห็น อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา แล้วบังเกิดความวางเฉย เช่นนี้จักเป็นประเภทกุศลแต่ถ้าเฉยเพราะความเซื่องซึม เกียจคร้าน เช่นนี้จัดว่าเป็นอกุศล
สรุป
การที่พ่อให้เจ้ามีสติสัมปชัญญะ สำรวจตรวจรู้แจ่มชัดในสิ่งที่เกิดแก่จิต (หรือบ้าน) ของเจ้า ก็เพื่อให้เจ้ารู้จักระวังรักษาบ้าน หรือจิตของเจ้าให้สะอาดปลอดภัย แต่เจ้าต้องทำความเข้าใจให้แจ่มชัดต่อไปด้วยว่าจิตนี้แม้จะมีหน้าที่มากมาย ก็สักแต่มีเอาไว้เพียงแค่รู้ บ้านนี้ถึงจะวิจิตรพิสดาร งดงามใหญ่โต ก็รังแต่มีเอาไว้อาศัย
หากเจ้าทำความเห็นให้ตรงถูกต้อง ดังกล่าวมานี้ จิตของเจ้าก็จักมีอิสระ สงบ เบา บ้านของเจ้าก็จักสะอาดปลอดภัย
ข้อต่อมา เจ้าต้องมีสติสัมปชัญญะ พิจารณาให้รู้แจ่มชัดว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงมีได้ทั้งภายในกาย และภายนอกกาย ธรรมะทั้งหลาย ที่มีทั้งนอกกาย ในกาย คือ
· ความพอใจรักใคร่ในกามคุณทั้ง 5 อันมี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เรียกว่า “กามฉันทะ”
· ความคิดร้าย มุ่งร้าย ขุ่นเคือง รำคาญ เรียกว่า “พยาบาท”
· ความเซื่องซึม ง่วงเหงา หาวนอน และเกียจคร้าน เรียกว่า “ถีนมิทธะ”
· ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ หงุดหงิด วิตก กังวล เรียกว่า “อุทธัจจะกุกกุจจะ”
· ความหวาดระแวง สงสัย ลังเล เรียกว่า “วิจิกิจฉา”
ทั้งหมดนี้รวมกันเรียกได้อีกชื่อว่า “นิวรณ์ธรรม” 5 อย่าง และยังมีธรรมข้ออื่นๆ อีก ซึ่งก็มีได้ทั้งนอกกาย ในกาย เช่น วิริยะ(ความเพียร) อิทธิบาท 4 สติปัฏฐาน 4 และธรรมที่เป็นไปโดยกุศล ธรรมที่เป็นไปโดยอกุศลเป็นต้น สำหรับธรรมที่เป็นไปในกายและนอกกาย พ่อจะยกตัวอย่างให้เจ้าดูคร่าวๆ ซัก 2 ตัวอย่างคือ
ตัวอย่างที่หนึ่ง ได้แก่เมื่อใดที่ตาของเจ้าได้เห็นรูปที่พึงพอใจ นี้จัดเป็นธรรมนอกกาย ต่อมาเจ้าเกิดความกำหนัดยินดีในรูปที่เห็นนี้เป็นธรรมในกาย แต่หากว่าเจ้ามีสติสัมปชัญญะ พิจารณารู้แจ่มชัดว่า รูปที่เห็นเป็นแต่เพียงธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมรวมกัน อีกทั้งยังประกอบไปด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ ที่แยกออกมาเป็นกองๆ ส่วนๆ แล้วก็เป็นของไม่งาม ทั้งยังมีกลิ่น และสี รูปพรรณสัณฐานอันน่ารังเกียจอีกตะหาก รูปนี้จึงไม่มีอะไร ที่น่าปรารถนา กำหนัดรักใคร่ได้เลย เช่นนี้จึงชื่อว่า มีสติพิจารณาธรรมที่เป็นไปในกาย - นอกกาย
อีกตัวอย่างหนึ่ง เมื่อใดที่เจ้ามีสติสัมปชัญญะ พิจารณาเห็นธรรมที่เป็นกุศลควรทำให้เจริญ ธรรมใดที่เป็นอกุศลควรละเสีย เช่นนี้จึงเรียกว่า “พิจารณาธรรมในธรรม”
สรุป การมีสติพิจารณา ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เจ้าต้องรู้เห็นให้แจ่มชัดว่า ธรรมใดที่เป็นกุศล ควรทำให้มากในธรรมนั้น ธรรมเหล่าใดที่เป็นอกุศล เจ้าต้องตระหนักสำนึกถึงเภทภัยอันตรายในธรรมเหล่านั้น แล้วควรจักละให้สิ้น
รวมความว่า การมีสติสัมปชัญญะ พิจารณา กาย เวทนา จิต และธรรม เพื่อให้เจ้าได้เข้าใจกายและใจอย่างแจ่มชัด ว่าเจ้าควรจะบริหารจัดการกับมันเช่นไร ให้บังเกิดประโยชน์สูง ประหยัดสุด ทั้งเวลาและทรัพยากร ทั้งแก่ตนและคนรอบข้าง
อีกทั้งเจ้ายังจักสามารถรู้ที่เกิดของกาย เวทนา จิต และธรรม รู้เหตุแห่งการตั้งอยู่และรู้ซึ้งถึงกระบวนการดับไปของ กาย เวทนา จิต และธรรม ได้อย่างถ่องแท้ แจ่มชัด
จบมหาสติปัฏฐานสี่ (แบบย่อ)
จงทำความแจ่มชัดใน “สตินทรีย์” หรือ สติในอินทรีย์ 5 ซึ่งมี 5 ประการดังนี้
1) ศรัทธา คือ ความเชื่อ
2) วิริยะ คือ ความเพียร
3) สติ คือ ความระลึกรู้
4) สมาธิ คือ ความตั้งมั่นของจิตในอารมณ์ที่เป็นกุศล อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง
5) ปัญญา ความรู้แจ่มชัดตามสภาพธรรมที่เป็นจริง
อธิบายความ
คำว่า “ศรัทธา” ความเชื่อ หมายถึง เชื่อกรรม เชื่อกฏของกรรมว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วเชื่อว่าเราทำกรรมอย่างไร กรรมนั้นก็จักให้ผลแก่เราเช่นนั้น
นอกจากจะแปลว่าความเชื่อแล้ว ยังหมายรวมถึง ความรัก ความพอใจในสิ่งที่กำลังทำอยู่ด้วย
คำว่า “วิริยะ” ความเพียร จะต้องหมายถึงความเพียรพยายามที่จะกระทำดี เพียรพยายามที่จะละชั่วเท่านั้น มิได้หมายถึงความพยายามที่จะกระทำไม่ดีต่างๆ เหล่านี้ไม่เรียกว่า วิริยะ ความเพียร แต่เรียกว่า “ตัณหา” ความทะยานอยาก
คำว่า “สติ” แปลว่า ความระลึกรู้ ระลึกได้ รู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการทำ พูด คิด
คำว่า “สมาธิ” หมายถึง ความตั้งมั่นของจิตในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ที่เป็นบุญกุศลเท่านั้น
คำว่า “ปัญญา” หมายถึง ความรู้แจ่มชัด ความเข้าใจลึกซึ้ง ความรอบรู้ กว้างไกล หรือความรู้เข้าใจเป็นเรื่องๆ เป็นอย่างๆ ตามสภาพธรรมที่เป็นจริง
ลูกรัก วิธีใช้ธรรมทั้ง 5 อย่างนี้ เจ้าจะต้องยก “สติ” ความระลึกได้ขึ้นมาเป็นประธาน แล้วใช้ปัญญา ความรู้แจ่มชัด ความเข้าใจลึกซึ้ง ร่วมกับศรัทธา ความเชื่อ ความรักความพอใจ เมื่อเจ้าเชื่ออย่างมีปัญญา ระลึกรู้แจ่มชัด เจ้าจะได้ไม่มีใครหลอก ความผิดพลาดก็จะน้อยลง
เมื่อสติควบคุม ศรัทธา ความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญาแล้ว เจ้าก็จะต้องใช้ความเพียรพยายาม ที่เรียกว่า “วิริยะ” กระทำในสิ่งที่เจ้าคิดแล้ว เชื่ออย่างจริงๆ จังๆ แม้มีปัญหาและอุปสรรคใดๆ มาขัดขวาง เจ้าก็จะต้องตั้งมั่นไม่ย่อท้อ หลีกหนี เพราะเจ้ามีสมาธิ ความตั้งมั่นอยู่ในงานนั้นๆ อารมณ์นั้นๆ จนสำเร็จโดยมีสติเป็นผู้ควบคุมประสานงานให้เชื่ออย่างมีปัญญา เพียรอย่างตั้งมั่น
เช่นนี้ธรรม 5 อย่างที่เรียกว่า อินทรีย์ 5 ก็จะกลายสภาพเป็นกำลังที่เรียกว่า พละ 5คือ ศรัทธา ก็มีปัญญาเป็นกำลัง วิริยะ ก็มีสมาธิสนับสนุน สติ ก็คอยเป็นพี่เลี้ยงของปัญญา
จิต เมื่อมีธรรม 5 อย่างนี้สมบูรณ์ ก็จักได้ว่าเป็น “วิเสสจิต” เป็นจิตที่วิเศษเยี่ยมยอด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น