วิชาสมาธิพระโพธิสัตว์ของหลวงปู่พุทธะอิสระ (ถ่ายทอดในคืนวันที่ 9 พฤษภาคม 2541) ความเป็นมา "วิชานี้มันเป็นเฉพาะของพระโพธิสัตว์ จริงๆ แล้วหลวงปู่คิดดัดแปลงมาจากภาพกวนอิมพันมือ สมัยก่อนหลวงปู่เคยนอนยาวแล้วฝันไปว่า ได้มีโอกาสไปประชุมในเทวสภา ต้องวงเล็บว่าในความฝันนะ นี่เป็นการเล่าความฝันให้ฟังตอนนั้นหลวงปู่ไปในชุดที่ไม่ค่อยดีเท่าไร ไปชุดวันเกิด มีผ้าแดงผืนเดียวเวลาหลวงปู่อยู่กุฏิหลวงปู่ชอบนุ่งอยู่ผืนเดียว มันเป็นผ้าดิบที่โดนซักอยู่บ่อยๆ เข้า เนื้อมันก็เป็นปุยนิ่มๆ ใส่สบาย
ดี…" หลวงปู่ใส่ผ้าแดงอยู่ผืนเดียว ใส่นอนใส่นั่งอยู่ในห้อง ก็บังเอิญฝันไปว่า มีโอกาสขึ้นไปประชุมในเทวสภา ดันไปชุดนั้น พวกเขาก็เลยเรียกหลวงปู่ว่าเทพขอทานระหว่างทางที่ขึ้นไปมีเหล่าพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั่งอยู่เต็มไปหมด แต่ละองค์ก็มีที่ของเขา รู้สึกว่าเรื่องนี้หลวงปู่เคยเล่าให้ฟังสมัยอยู่ที่ถ้ำสิงโตทอง ทุกคนมีที่ของเขาทั้งนั้น เราก็ไปยืนชะเง้อคุยกับเขา ที่เขาสูงท่วมหัวเรา ที่นั่งเขาเท่าต้นเสาต้นตาลส่วนไอ้เรามันไม่มีที่ เขาก็เลยตะโกนถามลงมาว่า… "เอ้ามายังไง" "ก็วันนี้เรียกประชุมไม่ใช่หรือ เห็นเขาเรียกประชุมก็มากับเขานะสิ" "เราไม่รู้นี่ ก็มาทั้งอย่างนี้แหละ" ทันใดก็มีเสียงมาจากฐานที่นั่งใหญ่สูงกว่าที่ทั้งหมดในบริเวณนั้นว่า "ขอให้ท่านจงแสดงธรรมของท่าน" "เราก็นึกในใจว่าเราจะมีธรรมอะไรวะ ดูสภาพเราก็เรียกว่าขอทานอยู่แล้ว จะไปแสดงธรรมอะไรกับเขาได้ก็เลยนึกขึ้นได้ว่า ก่อนที่จะมาเราเห็นรูปกวนอิมพันมือ ก็เลยคิดท่าปริศนาธรรมขึ้นได้ 8 ท่า แล้วก็เลยแสดงให้พวกเขาเห็น เมื่อเราแสดงปริศนาธรรมได้ครบ 8 ท่า แผ่นดินที่เรายืนอยู่ก็สูงขึ้นเท่ากับพวกเขานั่งเท่าเสมอกัน ทีนี้ก็คุยเป็นภาษาเดียวกันได้ เรื่องมันยาวเอาแค่เนี้ย…จบ ! " "ท่าพระโพธิสัตว์ภาวนาที่จะสอนต่อไปนี้ เป็น 1 ใน 8 ของปริศนาธรรม ผู้ที่จะเป็นหรือจะเป็นพระโพธิสัตว์จะต้องมีปัญญาเป็นของตนเอง ต้องรู้เรื่องที่ตังเองคิดค้นได้ และต้องเข้าใจสิ่งที่ตนเองรู้ และถ่ายทอดให้คนอื่นได้ รวมทั้งต้องทำให้คนอื่นได้ประโยชน์จากสิ่งที่ตัวเองรู้แล้วด้วย" "ความหมายของวิชาสมาธิพระโพธิสัตว์ มันก็คือ ท่าปริศนาธรรมที่หลวงปู่คิดดัดแปลงมาจากภาพกวนอิมพันมือเอามาใช้สอน จริงๆ แล้วไม่เคยสอน แต่วันนั้นนึกครึม สบายใจ ก็เลยสอนพวกเณรไป 4 ท่าคือ (1) พระโพธิสัตว์โอบอุ้มสรรพสัตว์ (2) พระโพธิสัตว์รำพึง (3) พระโพธิสัตว์กำจัดกิเลส (4) พระโพธิสัตว์ภาวนา ขั้นตอนการฝึกปฏิบัติสมาธิพระโพธิสัตว์ ก่อนอื่นต้องตั้งกายให้ตรง ผ่อนคลาย แล้วสำรวจดูโครงกระดูกแกนกลางของร่างกาย สำรวจดูข้อต่อให้แต่ละข้อตั้งตรงฉากกับพื้นดิน ควบคุมความรู้สึกให้กำกับอิริยาบถที่เคลื่อนไหว สำหรับคนที่เริ่มฝึกใหม่ๆ ช่วงแรกจะรู้สึกสัมผัสถึงพลังชนิดหนึ่งที่สัมผัสได้ และถ้าทำไปเรื่อยๆ จะควบคุมพลังในกายได้ควบคุมอิริยาบถในกายได้ สมาธิพระโพธิสัตว์ ท่าพระโพระโพธิสัตว์ภาวนานี้ เป็นขั้นตอนที่ 4 และเป็น 1ใน 8 ท่า มันจะเป็นผู้ที่กำหนดอิริยาบถและบทบาทของตนเองได้ มีสติเท่าทันอิริยาบถ และควบคุมความรู้สึกนึกคิดได้ จิตจะตั้งมั่นได้เร็วและสุดท้ายเธอจะสามารถมีพลังวิเศษที่จะสามารถใช้บำบัดรักษาอาการป่วยไข้ของใครๆ ได้ แต่จะต้องไม่ใช้อย่างฟุ่มเฟือยและไม่ใช้ถ้าไม่จำเป็น ขั้นตอนการปฏิบัติสมาธิพระโพธิสัตว์ภาวนามีทั้งหมดดังนี้ เริ่มต้น สำรวจโครงสร้างของร่างกาย นั่งให้สบาย ผ่อนคลายให้มากที่สุด ขั้นที่สอง หลับเปลือกตาลงอย่างนุ่มนวล เบา อ่อนโยน สูดลมหายใจเข้านับในใจว่า 1-2-3-4-5 ผ่อนลมออก นับในใจ 1-2-3-4-5 ทำอย่างนี้จนกระทั่งเมื่อเรารู้สึกว่าสลัดหลุดจากความรู้สึกฟุ้งซ่าน หงุดหงิดทั้งปวงได้ ร่างกายไม่เกร็ง หรือเครียด เมื่อเราสามารถควบคุมประสาททุกส่วนได้ จึงเริ่มเคลื่อนไหวช่วงแขน ข้อต่อ ศอก และฝ่ามือ โดยใช้จิตกำหนดพลังที่มีอยู่ในกายให้โยกโอนตามการเคลื่อนไหว ช่วงนี้จะรับรู้ถึงไออุ่นที่วิเศษคือ เป็นไออุ่นที่นุ่มนวลและให้สันติสุข เมื่อสูดดมเข้า ยกมือขึ้นวางที่หน้าตัก เมื่อยกมือกลับไปวางลงที่หัวเข่า ผ่อนลมออก จงควบคุมลมหายใจพร้อมกับอิริยาบถ ขั้นที่สาม สลับสับเปลี่ยนการเคลื่อนไหวของมือขวาและซ้าย เคลื่อนไหวมือขึ้นบนและล่าง มันจะมีพลังชนิดหนึ่งซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างมือทั้งสองข้าง เราจะรับรู้ได้โดยวิถีจิตของเราว่า มันเป็นความอบอุ่นและมีไอพิเศษ สุดท้าย ประนมมือในอากาศ แต่ไม่ให้ฝ่ามือทั้ง 2 ข้างแตะชิดกัน จงฝึกที่จะบังคับพลังให้ตั้งขึ้น จงใช้จิตวิญญาณของเรา ความรู้สึกนึกคิดของเราจับอยู่ที่อิริยาบทและพลังที่สัมผัสได้นั้น สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนซ้ายและขวา ล่างและบน เมื่อมีจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้าย จุดสุดท้ายก็คือจุดเริ่มต้น จุดเริ่มต้นก็คือจุดสุดท้ายข้อสำคัญต้องอย่าให้ฝ่ามือทั้ง 2 ข้างแตะชิดกัน เคล็ดสำคัญของวิชานี้มิได้อยู่ที่ท่วงท่า แต่อยู่ที่วิธีการโยกย้ายลมปราณ จะช่วยให้จิตเราตั้งมั่นได้ง่าย คนที่มีวิตกจริต โทสะ โมหะ ราคะ พุทธจริตทั้งหลายนี้จะสามารถกำราบลงได้ในการเคลื่อนไหวของอิริยาบท ท่านี้เขาใช้สำหรับพระมหาโพธิสัตว์ที่ใช้ในการภาวนา จะมีพลังชนิดหนึ่งที่หมุนเวียนรอบฝ่ามือและใจกลาง วิธีทำสมาธิที่หลวงปู่สอนให้พวกเราในวันนี้ ไม่ใช่มุ่งทำจนบรรลุผลใดๆ แต่จะทำให้จิตตั้งมั่นได้ง่าย เมื่อเรามั่นใจว่าตัวเรามีสติที่ทรงไว้อยู่กับตัวไม่มีอารมณ์ใดๆ ปรากฏแล้วก็หยุดทำมันแล้วเริ่มพัฒนาจิตต่อไปในขั้นที่ 3 และขั้นที่ 4 แล้วทำสมาธิพระโธิสัตว์ภาวนาจะช่วยยกระดับจิตของเราให้เข้าถึงปฐมมฌานและขั้นทุติยฌานได้ แต่ต้องหมายถึงเธอชำนาญเป็นเอกเทศแล้ว อันดับแรกหากได้รับความรู้สึกจากไออุ่นจากมือก็น่าจะพอแล้วสำหรับคนฝึกใหม่ จงลองไปฝึกดูที่สำคัญต้องผ่อนคลายลมหายใจ ความหมายของสมาธิพระโพธิสัตว์ คือ ผู้ที่เรียนรู้สมาธิพระโพธิสัตว์ไปแล้วจะต้องไม่โง่ ต้องรู้เท่าทัน ต้องแยกแยะออกระหว่างมิตรกับศัตรู ถูกกับผิด ของจริงกับของปลอมได้ ต้องรู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ ลูกหลานของกูต้องฉลาด ! ยิ่งคนที่ปฏิญาณตนว่าจะเรียนรู้สมาธิพระโพธิสัตว์ยิ่งต้องฉลาด ทีแรกหลวงปู่ไม่คิดไม่พยายามสอนสมาธิพระโพธิสัตว์ เพราะหลวงปู่มีความคิดว่าไม่น่าจะสอนหรือถ่ายทอดไปสู่มหาชน เพราะคนจะคิดว่าเราไปยึดติดในรูปแบบและท่าทาง แต่ว่านั้นเป็นท่าร่างและท่าทางของปริศนาธรรม เป็นกระบวนการของธรรมะ เป็นการถ่ายทอดธรรมะโดยไม่ต้องอาศัยคำพูด หลวงปู่เอาวิชานี้มาใช้สอนเณร สอนพระเพราะว่าดูแล้ว ทดสอบด้วยตนเองแล้ว ให้คนอื่นทดสอบด้วย คือทำให้มีสมาธิได้ง่าย สติตั้งมั่นได้เร็ว จึงเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าจะดี แต่ก็ยังหวั่นหวาดและเกรงว่าเราจะเป็นที่นำมาซึ่งลัทธิใหม่ ซึ่งลบล้างความเชื่อและคำสอนเก่าๆ ซึ่งเขาถือว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็เลยอยากออกตัวว่า วิชาสมาธิพระโพธิสัตว์นี้เป็นประสบการณ์เฉพาะตัว เป็นความรู้เฉพาะตัวของหลวงปู่ ถ้าลูกหลานยอมรับก็มีสิทธิ์ที่จามาเรียนรู้ แต่ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะเรียนรู้เพราะมันไม่ใช่วิชาสากล ที่ใครๆ ก็จะทำได้ "หลวงปู่ครับ การหายใจของสมาธิพระโพธิสัตว์ต้องมีการอั้นหายใจหรือเปล่าครับ" "จริงๆ แล้วไม่ได้อั้นหายใจ แต่ที่ให้หายใจเข้าแล้วนับ1-2-3-4-5 ก็เพื่อให้ปอดได้ขยายได้ซึมซับพลังงานอย่างสมบูรณ์แบบ ปกติปอดของคนเราทำงานไม่สมบูรณ์ จึงทำให้ร่างกายเราทำงานน้อยถอยลง สมาธิพระโพธิสัตว์คือ การทำให้อวัยวะทั้งหลายทำงานภายในกายให้มีประสิทธิภาพสมบูรณ์แบบ จงหายใจให้เต็มปอด นับจังหวะให้ครบเสร็จแล้วให้ผ่อนออก ผ่อนออกให้หมด จงอย่าหายใจเข้าผิดว่าหลวงปู่ให้หายใจแล้วอั้นไว้ แต่จงหายใจโดยใช้ศักยภาพของปอดให้เต็มที่ แล้วหายใจออกให้แน่ใจว่าออกจนหมด ที่หลวงปู่นับเลขก็เพื่อที่จะให้เธอได้รู้ว่าลมหายใจของเรานั้น มันกว้างขวางยิ่งใหญ่ขนาดไหน การหายใจออกหมดก็เพื่อให้แน่ใจว่า เราต้องการลมเข้าแล้วจริงๆ" "หลวงปู่ครับ ในขั้นสุดท้าย หรือท่าที่ 8 ของสมาธิพระโพธิสัตว์ ของสมาธิพระโพธิสัตว์ ความสัมพันธ์ระหว่างลมหายใจเข้า-ออก หรือขั้นที่ 8 กับการเปลี่ยนท่าของมือจะเป็นอย่างไรครับ" "ในขั้นสุดท้าย หรือขั้นที่ 8 ของสมาธิพระโพธิสัตว์ มันจะไม่ใช่แค่เพียงมีลมหายใจเข้า แล้วสัมพันธ์กับอิริยาบถที่เปลี่ยนแปลงเท่านั้น แต่ในขั้นนี้มันจะสามารถสัมพันธ์กับพลังแห่งจักรวาลและอณูแห่งบรรยากาศรอบข้างได้ คือมันรู้ว่าการเกิด-การดับ การเปลี่ยนแปลงของโมเลกุลในร่างกายและพลังรอบตัวเราได้ แต่ในท่าที่ 4 หรือพระโพธิสัตว์ภาวนาที่หลวงปู่ถ่ายทอดให้พวกเธอนั้น ยังอยู่ในขั้นการหายใจต้องควบคุมให้สัมพันธ์กับอิริยาบถตามระบบการทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมือขวา มือซ้าย มือล่าง มือบน ลมหายใจต้องประสานกลมกลืน พวกเธอจะต้องฝึกจนกระทั่ง เมื่อยกมือก็รู้ว่าหายใจเข้า เมื่อวางมือลงก็รู้ว่าหายใจออก เมื่อหมุนมือขวาขึ้น มือซ้ายอยู่ล่างก็รู้วาหายใจเข้า เมื่อขยับเปลี่ยนมือซ้ายขึ้น มือขวาลงก็รู้ว่าหายใจออก การกระทำในอิริยาบถทั้งหลายกลมกลืนกับลมหายใจนี้ เป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้เรารู้จักมิติแห่งกาลเวลา และพลังในจักรวาลทั้งหลายได้" "หลวงปู่ครับ ในตอนตั้งมือ เป็นช่วงกึ่งกลางระหว่างลมหายใจเข้าและออกหรือเปล่าครับ" "ในกระวนการตั้งมือนั้นมันเป็นการโคจรของพลังปราณในกาย มันเป็นกระบวนการของการบังคังพลังในกายให้เคลื่อนจากมือขวาย้ายมามือซ้าย สู่ท่อนแขนหัวไหล่ แล้วพุ่งออกไปสู่มือขวา เป็นการหมุนเวียนของพลังแล้วใช้พลัง อันเป็นขั้นตอนสุดท้ายของท่าพระโพธิสัตว์ภาวนา ส่วนกระบวนการหายใจยังปกติ" "หัวใจของสมาธิพระโพธิสัตว์ คืออะไรครับ" "คือ การหายใจอย่างผ่อนคลาย ใช้ศักยภาพของร่างกายให้สมบูรณ์ อ่อนโยน นิ่มนวล แฝงด้วยพลังอันลึกล้ำ เป็นการแสดงออกซึ่งอำนาจ ศักยภาพในตนเอง กระบวนการหายใจเป็นเทคนิคของแต่ละบุคคล บางคนหายใจได้ยาว บางคนหายใจได้สั้น มันขึ้นกับอวัยวะของผู้นั้น บุญทำกรรมแต่งแต่เมื่อเราหายใจเข้าไปก็ต้องมั่นใจว่า เราดูดกลิ่นไอของพลังและความสุขสมบูรณ์ความเสริมร้าง ซ่อมแซม และส่งเสริมพลังปราณภายในเข้าไป และคราใดที่หายใจออกก็ต้องถ่ายเทของเสียทั้งหลาย ความรุ่มร้อน ความอึดอัดขัดเคือง ความยุ่งเหยิง ฟุ้งซ่าน รำคาญ โกรธเกลียดออกไปด้วย ลมหายใจที่ผ่อนออกนั้นคือ การผ่อนออกของมลภาวะดุจคนที่ท้องผูกแล้วได้ระบาย.." "…แต่ถ้าหายใจออกแล้วยังเฉยๆ ไม่มีอะไร แสดงว่าเราไม่มีจิตคล้อยตามลมหายใจ อารมณ์ ทั้งหลายกำลังแบ่งแยก ถูกปรุงแต่งจาก 1 เป็น 2 เป็น 3 เป็น 4 พลังงานของเรากระจัดกระจายไม่รวมเป็นกลุ่มเป็นก้อน แต่ถ้าเมื่อใดที่เราหายใจออกแล้วรู้สึกว่ามันได้ผ่อนคลาย มลภาวะทั้งหลายได้ละทิ้งนั้นเป็นกระบวนการที่ได้รวบรวมพลังเป็นกลุ่มเป็นก้อน และได้ใช้ผลักดันของเสียข้างในออกไปกับลมหายใจที่ผ่อนออกได้.." "..ลมหายใจที่เต็มไปด้วยการผ่อนคลายนั้น จึงเป็นลมหายใจที่ สร้างสรรค์ สร้างเสริม ซ่อมแซม และส่งเสริมให้มีพลังชีวิตใหม่ๆ ปรากฏขึ้นความรู้สึกนึกคิดชีวิตจิตวิญญาณของเราก็ได้รับการพัฒนาไปตามกระบวนการใหม่ๆ ชีวิตใหม่วิถีทางใหม่ และวิธีการหายใจชนิดใหม่นี้ ซึ่งจะทำให้ระบบชีวิตความคิด สมอง สติปัญญาของเราได้ใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ มีภูมิคุ้มกันความคิดการกระทำและคำพูดของตัวเราได้ อย่างหลวงปู่นี้ ตามองเห็นรูปได้ 360 องศา หูฟังเสียงได้ไกลที่สุดได้ 5 กิโลเมตร จมูกรับกลิ่นได้ 180 กลิ่น ลิ้นรับรสได้ 60 รส ผิวกายรับสัมผัส ความชื้น ความร้อน ความแข็งกระด้างของบรรยากาศและโมเลกุลรอบกายเราได้อย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์ กระบวนการเหล่านี้เป็นกระบวนการเสริมสร้างประสิทธิภาพและกายภาพของชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าสอนและสั่งให้เราพัฒนาชีวิตของเราเป็นศิลปะ" "ในการเคลื่อนไหวมือในการฝึกสมาธิพระโพธิสัตว์ภาวนา เราจะทราบได้อย่างไรว่า เมื่อจิตเรามาถึงขั้นนี้เราจึงเปลี่ยนมือได้" "มันอยู่ที่เทคนิค เหมือนกับคนขับรถยนต์ เมื่อเข่าเกียร์หนึ่งต้องมีคนบอกมั้ยว่าให้เข้าเกียร์สอง มันอยู่ที่เทคนิคบางคนเปลี่ยนเป็นเกียร์สามแล้ว ยังต้องกลับไปเกียร์หนึ่งใหม่ เพราะสถานภาพไม่อำนวย" "ขอให้หลวงปู่บอกวิธีแก้การตกอยู่ในภวังค์ขณะกำลังทำสมาธิด้วยครับ" "ภวังค์กับจิตเป็นเรื่องราวของหลุมอากาศ เมื่อตกภวังค์เหมือนตกหลุมอากาศ ทำให้เราเคว้งคว้าง สิ่งที่ได้รับคือ กระบวนการแห่งความมืดบอด ความดำ และเราจะโดนกักขังให้อยู่กับที่ วิธีแก้ไขคือ หายใจเข้าลึกๆ คนที่เข้าไปสู่ภวังค์ตกอยู่ภวังค์ก็เพราะหายใจไม่เป็น ไม่มีระบบในการหายใจ ไม่มีกระบวนการควบคุมลมหายใจ จนกระทั่งลมหายใจมันขาดออกเหมือนกับเราอยู่นิ่งๆ เฉยๆ สมัยก่อนคนที่ถึงตรงนี้มีมาก จนกระทั่งอวดอ้างว่าตนเองเป็นอรหันต์ พระพุทธเจ้า ก็ต้องบอกว่าไม่ใช่ มันเป็นเรื่องของคนตาบอดที่เข้าไปในความมืดแล้วหลงอยู่ในนั้น มันอยู่ในนั้นโดยไม่มีอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดใดๆ เรื่อยๆ เงียบๆ เฉยๆ เหมือนคนตาบอดอย่างนั้น จึงคิดว่าตนเองหมดตัณหา หมดกามกิเลส หมดความผูกพันแล้ว แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ มันเป็นกระบวนการของภวังค์จิต ซึ่งเราไม่สามารถติดตามความเป็นไปของจิตได้ มันเป็นมายาชนิดหนึ่งของจิตที่แสดงออกไว้เพื่อหลอกล่อให้เราหลงใหลว่า เราเป็นผู้ชนะ เป็นผู้ฉลาด เป็นผู้หมดแล้วจากอุปกิเลสแต่ไม่ใช่ ทางที่แก้คือ หันมาสู่กระบวนการหายใจอย่างเป็นระบบอย่างที่สอนไว้แล้วก็พอจะแก้ได้ อนึ่ง คนที่ตกภวังค์ ปอดเกือบไม่มีการหดเข้าและขยายออกเลย คล้ายกับคนที่เข้านิโรธสมาบัติ แต่ไม่เชิงนิโรธสมาบัติ เพราะคนที่เข้านิโรธสมาบัติมันจะหายใจเต็มที่ แต่เหมือนกับไม่ได้หายใจ มันเป็นการตัดสัญญา" "หลวงปู่มีวิธีอย่างไรที่มีความเพียรในการทำสมาธิโดยที่ไม่ปวดเมื่อยตลอดเวลาที่ทำสมาธิ และจะสลัดให้หลุดอย่างไรจากมโนภาพครับ" "ตอนที่หลวงปู่ทำสมาธิใหม่ๆ ก็รู้สึกวุ่นวาย สับสนเหมือนกัน พอหลับตานั่งก็เห็นภาพ คิดเป็นเรื่องโน้นเรื่องนี้ แต่มีช่วงหนึ่งที่เหมือนมีอะไรมาดลบันดาลว่าถ้ามัวคิดอยู่อย่างนี้ เราจะไม่มีวันรู้จักกับตัวของเราเอง ก็เลยพยายามสลัดให้หลุดบอกกับตัวเองว่าชีวิตเรามาคนเดียว สิ่งที่เป็นเรื่องตัวเราคนเดียวนั้น เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ให้หมดก่อน นี่คือวิธีคิดของหลวงปู่…" "..เวลาที่นั่งหลับตาแล้ว ยังไม่เคยนะว่าเมื่อใดที่หลวงปู่นั่งหลับตาแล้วมีไอ้นั่นผุดขึ้น ไอ้นี่ผุดขึ้น ไม่เคยมีความคิดแตกแยก หากหลับตาเมื่อต้องการสมาธิต้องไม่ให้มันเกิดกระบวนการความคิดที่แตกแยก จะได้รวบรวมพลังงานทั้งปวงได้ หลวงปู่มีแนวความคิดที่ค่อนข้างไม่เหมือนคนอื่นนะ อย่างบางคนทำสมาธิแล้วต้องภาวนา พุทโธ แต่หลวงปู่จะไม่ เพราะเราต้องการพลังจากน้ำ แล้วให้น้ำรั่วออกไปทาง หู ตา จมูก ปาก น้ำที่มีอยู่มันก็ลดน้อยลง แล้วพลังมันได้มาจากไหน วิธีคิดของปู่ก็คือ เมื่อต้องการพลังจากน้ำก็ต้องหาน้ำมาเติมให้มันเต็มเสียก่อน สะสมพลังจากน้ำไว้ไม่ให้มันรั่วไหลจากที่ของมันไป เมื่อใดที่น้ำเต็มที่แล้วเราจะใช้ทำอะไรก็สามารถทำได้.." "…หลวงปู่จึงมีคำพูดว่า ลูกรัก.. ถ้าเมื่อใดที่เจ้าต้องการสมาธิ เห็นพระ พุทธเจ้า ต้องฆ่าทิ้ง เห็นพระธรรมต้องเผาทิ้ง เห็นพระสงฆ์ต้องหนีให้ไกลเพราะการทำสิ่งเหล่านี้จะทำให้เจ้าหลงไหลและมัวเมาตกเป็นทาสของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ในทางที่ไม่เป็นสมาธิ ความหมายของสมาธิคือไม่อยู่กับอะไร แต่อยู่กับตัวเรา มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว บางคนเรียนสมาธิจากพุทโธ หลวงปู่คิดว่าเป็นวิธีที่เนิ่นช้า และไม่ตรงกับสิ่งที่เราต้องการ เราต้องการความสงบ แต่กลับไปพูดกับพระพุทธเจ้า ภาวนาหาพระพุทธเจ้า เราต้องควบคุมสันติสุข กลับไปนึกถึงพระธรรม จึงควรพูดเสียใหม่ว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นเครื่องกำหลาบกิเลศอย่างหยาบและเป็นเครื่องมือที่จะทำให้จิตเราสลดสังเวช แต่มันไม่ใช่เครื่องที่จะทำให้เราเกิดสมาธิ เพราะเป็นเรื่องของตัวเราที่จะต้องสลัดตัดให้หลุดฉุดตัวเราให้มันขึ้นมาจากกองขยะที่เหลวแหลกเละเทะ พระพุทธเจ้าก็ช่วยไม่ได้ พระธรรมก็ช่วยไม่ได้ พระสงฆ์ก็ช่วยไม่ได้ ตัวเราจึงจะช่วยตัวเรา ไม่อย่างนั้นพระพุทธเจ้าจะบอกกับเราหรือว่า ตนแลเป็นที่พึงแห่งตน สมาธิเป็นเรื่องส่วนตัวเป็นโลกส่วนตัว เป็นกระบวนการส่วนตัวของเราที่เริ่มจากการปลุกครูของตนเองขึ้นมาสอน รักษาสมดุลของชีวิต รักษาความเป็นอิสระของตนเองได้ ปลดปล่อยสิ่งที่เราเก็บเอาไว้ให้ออกไป รื้อขยะที่มีหมักหมมให้ออกไป หากทำได้เช่นนี้แล้วหลับตาก็เป็นสมาธิ ลืมตาก็เป็นสมาธิ เดินอยู่ นั่งอยู่ ยืนอยู่ก็เป็นสมาธิ… หากทำด้วยวิธีอันเลิศ การฝึกสมาธิพระโพธิสัตว์จะทำให้มีพลังชนิดหนึ่งออกมาจากใจกลางฝ่ามือ ออกมาบริเวณช่วงแขน ลำตัวและผิวกาย พระเขาเคยบอกว่าเวลาฝึกสมาธิแล้ว ลืมตาดูหลวงปู่ เขาจะเห็นแสงเรืองๆ เหมือนมีรัศมีออกมา หลวงปู่ไม่รู้ว่ามีหรือไม่รู้แต่ว่าตัวเองชุ่มฉ่ำ กระชุ่มกระชวย มีพลังเยอะขึ้น วิชาสมาธิพระโพธิสัตว์ มันจะทำให้จิตวิญญาณ สติ สมาธิ และกายรวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้อย่างชนิดเฉียบพลัน รวดเร็ว เด็ดขาด หลวงปู่คิดว่า พวกเธอก็ทำได้ไม่ใช่เรื่องยาก สำคัญอยู่ที่อย่าไปหวังผลเลิศ แต่จงสรรหาวิธีที่เลิศ แล้วเราจะนำมาใช้เอง วิชาพระโพธิสัตว์ภาวนา วิชาลม 7 ฐาน ของหลวงปู่ได้มาจากสมาธิทั้งสิ้นไม่ได้เรียนรู้จากตำราเล่มใดเลย.." ..หลังจากนั้นอีกสามเดือน พวกผม ก็ได้รับการถ่ายทอด สมาธิพระโพธิสัตว์ อีก 7 ท่าที่เหลือจาก "หลวงปู่" โดยผ่านการนิมิตจนสมบูรณ์ในปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2541
ถ่ายทอดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2541…….
สิ่งที่หลวงปู่รู้นี้ ไม่ได้จำขี้ปากชาวบ้านมา ไม่ได้ลอกเลียนแบบจากตำราเล่มไหนไม่ได้ไปศึกษาจากสำนักใด แต่มันเป็นความรู้ด้วยการถ่ายทอดวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ จิตถึงจิต ธรรมถึงธรรม กายต่อกาย เพราะฉะนั้นคนที่จะเรียนรู้มันจนครบถ้วนกระบวนความจนถึงความหมายของคำว่า 3 ศักดิ์สิทธิ์ได้นั้น ต้องทำให้ครูแน่ใจเสียก่อนว่า ศิษย์ผู้นี้ดูแล้วมีดี แต่ถ้าดูแล้วอัปรีย์ถ่ายทอดไปก็ไม่มีประโยชน์ แถมยังให้โทษอีกต่างหาก
วิชาลม 7 ฐานเป็นวิชาที่สามารถครอบงำจักรวาลก็ยังได้ สามารถยืดอายุขัยให้ยาวนานก็ยังได้ สามารถจะทำให้คนโง่ที่สุดกลายเป็นคนฉลาดเยี่ยมยุทธ์ที่สุดในโลกก็ได้ สามารถทำให้มนุษย์เป็น "ยอดมนุษย์" ก็ได้ สามารถทำให้เราซึมสิงซึมซับกลิ่นไอบรรยากาศพลังรอบ ๆ ตัวเราเข้ามาสู่ตัวเราก็ได้ เพราะฉะนั้นการจะเรียนรู้วิชาลม 7 ฐานก็ต้องเริ่มต้นจากการจัดโครงสร้างของกายเสียก่อน
เอาความรู้สึกลึก ๆ สำรวจกาย หลับตาก็ได้ ลืมตาก็ได้ กระดูกทุกข้อต้องตั้งตรงเป็นแนวดิ่งกับพื้น อิริยาบถที่นั่งต้องนั่งด้วยความรู้สึกผ่อนคลาย ไม่ใช่เกร็งถมึงถึงจนกลายเป็นความตึงเครียด ส่งความรู้สึกสำรวจโครงสร้างของร่างกายตั้งแต่หัวจรดปลายตีน ลูกคลำไขกระดูกและเนื้อกระดูกของตน หลับตาระลึกดูโครงสร้าง กระดูกหัว กระดูกหน้า แก้ม ปาก ต้นคอ ไหล่ ไขสันหลัง กระดูกสันหลัง ท่อนแขน
เมื่อสำรวจตรวจสอบกระดูกทุกข้อของเราด้วยการส่งความรู้สึกลึก ๆ ลงไปภายในกายได้ดังนี้ ก็จงพยายามให้เกิดความชัดเจนกระจ่างชัดภายในโครงสร้างกระดูก ตรวจสอบไปมา ก็คือ ตรวจขึ้น แล้วก็ตรวจลง ตอนนี้ต้องไม่ปรากฏอารมณ์ใด ๆ นอกจากการตรวจสอบโครงสร้างและกระดูกภายในตนเท่านั้น ไร้ความคิดสิ้นความรู้สึก นึกแต่เพียงโครงกระดูกภายในกายตน
ความหมายของประโยคที่ว่า "ไร้ความคิด สิ้นความรู้สึก" เป็นเรื่องราวของการจัดระบบและระเบียบแห่งโครงสร้างของตน มันจะเป็นวิธีหนึ่งใน 3 ศักดิ์สิทธิ์ คือ การทำกายให้ศักดิ์สิทธิ์ขั้นพื้นฐาน…… พยายามทำให้เกิดความกระจ่างชัด ระลึกรู้ถึงโครงสร้างกระดูกภายในกายให้ได้ทุกข้อ ถ้ารู้สึกว่าหัวนึกถึงยาก ก็ให้นึกถึงมือก่อนก็ได้ กระดูกมือ กระดูกแขน กระดูกซี่โครง หรือกระดูกสันหลัง
คนที่มีจิตวิญญาณ กายกับใจผนึกแนบแน่นรวมกันเป็นหนึ่งแล้ว เสียงและความรู้สึกใด ๆ จะไม่ปรากฏขึ้น เมื่อทำได้อย่างนี้ โบราณเขาเรียกว่า "ตบะ" แปลว่า พลังอันศักดิ์สิทธิ์ ไม่ต้องคิดอะไร ไม่ต้องนึกถึงธรรมะ พุทโธ ธัมโม สังโฆใด ๆ นึกแต่ "กายในกาย" สำรวจเพียงแค่โครงสร้างและกระดูกของตนเท่านั้นพอ อย่างที่หลวงปู่เคยเขียนบทโศลกบอกไว้ว่า
"ลูกรัก ถ้าเจ้าต้องการสมาธิ พบพระพุทธเจ้าต้องฆ่าทิ้ง"
เห็นพระธรรมต้องเผาทิ้ง เจอพระสงฆ์ต้องหนีให้ไกล"
เพราะเมื่อใดที่เราไปใส่ใจยุ่งกับสิ่งที่ปรากฏในขณะที่เราต้องการสันติสุขและความสงบ นั่นมันกำลังจะดึงเราออกไปนอกกาย สมาธิจิตและพลังทั้งหลายจะสูญเสียไปกับการได้นึกถึงพระพุทธเจ้า คิดถึงพระธรรม น้อมนำถึงพระสงฆ์อย่างนั้นมันก็ไม่ใช่เป็นตัวเรา ไม่ใช่เป็นของของเรา ไม่ใช่เป็นกายเรา ไม่ใช่อารมณ์เรา ไม่ใช่จิตวิญญาณเรา ไม่ใช่ความรู้สึกเรา มันกลายเป็นของใครไปหมดแล้ว ความรู้สึกนึกคิดและจิตวิญญาณก็จะโลดแล่นหลุดออกไปนอกกายในทันที เพราะฉะนั้นเวลานี้ต้องไม่มีอะไรทั้งหมด นอกจากโครงสร้างภายในกายและตัวเอง
อารมณ์ที่มันจะได้ มันจะเป็นความเงียบ ๆ ถ้าสำรวจตรวจถึงโครงสร้างของตนพบ มันจะเป็นความสว่าง……ความปล่อยวางของอารมณ์ ความตึงเครียดจะหมดไป อิริยาบถจิตวิญญาณจะผ่อนคลาย ไม่ต้องภาวนาอะไร ไม่ต้องทำความรู้สึกจากอะไรมากไปกว่าการรู้เพียงแค่โครงกระดูกของตนภายในกายมีกี่ข้อ…. หากพวกเธอหัดแล้วเริ่มรู้สึกว่าใจนิ่งขึ้น ก็แสดงว่า พวกเธอเริ่มรู้จักวิธีทำให้กายศักดิ์สิทธิ์แล้ว จากนั้นก็จงหัดทำบ่อย ๆ ทำให้เป็นนิจศีล แล้วเราก็จะรู้ว่า กายของเรามีอำนาจเหนือสรรพสิ่ง
จงทำให้กายกับจิตวิญญาณและใจรวมกันเป็นหนึ่งเหมือนกับบุรุษผู้แข็งแรงแบกสายยางน้ำซึ่งไม่รั่ว ไม่หล่นไปไหน เอาไปฉีดทำลายภูเขาและหินผา ปล่อยให้น้ำมันพุ่งออกมาอย่างรุนแรง โดยไม่มีรอยรั่วจากสายยาง นั่นถือว่าเรามีพลัง อันเต็มเปี่ยม แต่ถ้าเมื่อใดที่เราปล่อยให้น้ำมันรั่วไหลออกไปจากตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัส ตามพระบาทพระศาสดา นึกถึงพระธรรมในตำราใคร่ครวญหาพระสงฆ์ แสดงว่าเราสูญสิ้นพลังไปกับการรั่วไหลนึกคิดเหล่านั้นแล้ว แล้วเราจะใช้พลังอะไรสำหรับการกำกับกาย ? คนโง่เขามักจะสอนกันอย่างนี้ไปชั่วชีวิตแหละ แล้วก็โง่กันอยู่อย่างปัจจุบันนี้ หลาย ๆ สำนักก็ทำกันอย่างนี้
วิถีทางของพระพุทธะนั้น ขอให้ลองนึกถึงธรรมชาติสิ น้ำอยู่ในตุ่มเต็ม ๆ แล้วอยู่ดี ๆ ปล่อยให้รั่วไหลออกไปตามรูเล็ก ๆ มันจะเหลือให้เราได้ใช้สักกี่วันกัน พลังคือสมาธิ และสมาธิก็คือพลัง คนมีสมาธิคือคนมีพลัง แล้วถ้าพลังมันไหลรั่วไปจากตาเห็น ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ภาวนา หรืออะไรก็ตามที แล้วจะบอกว่ามีพลังได้อย่างไร เพราะฉะนั้น คำว่าสมาธิก็คือ สภาวะแห่งพลังที่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนซึ่งมันจะมีประโยชน์ต่อเราได้ก็ต่อเมื่อมันอยู่กับเรา มันไม่ได้อยู่กับพระพุทธ ไม่ใช่อาศัยพระธรรม ไม่ใช่ฝักใฝ่อยู่กับพระสงฆ์
การที่หลวงปู่พูดเช่นนี้ ฟังดูผิวเผินเหมือนหลวงปู่เป็นกบฏ ไม่เคารพพระศาสดา แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ เพราะอารมณ์สมาธิ ก็คือสภาวะความคิดไม่แตกแยก ความรู้สึกไม่แตกแยก ความเข้าใจไม่แตกแยก มันต้องรวมกับกายนี้ นั่นคือสมาธิ แต่ถ้ามันแตกแยกออกไป มันเป็นกะทิ มันไม่ใช่สมาธิ มันใช้อะไรไม่ได้เพราะสมาธิคือ กายกับใจรวมกันเป็นกลุ่มก้อน เหมือนกับองค์กรแห่งพลังงานที่โดนกักเก็บเอาไว้ในหม้อแบตเตอรี่ ถ้าหม้อมันไม่รั่ว น้ำกลั่นมันไม่แห้ง มันใช้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
เพราะฉะนั้น ความหมายของการทำให้กายศักดิ์สิทธิ์จึงไม่ใช่เพียงแค่จัดระเบียบของกายเฉย ๆ เท่านั้น หรือทำงานให้เกิดสาระอย่างเดียว แต่มันรวมถึงการรวบรวมพลังทั้งนอกและในให้เป็นหนึ่งเดียวกับกาย คนสมัยโบราณเวลาเขาทำสมาธิ เขาจึงสามารถทนต่อทุกสภาวะได้ เขาจึงสามารถใช้พลังที่มีในการกำราบป้องกันภัยที่เกิดขึ้นรอบข้างได้….. ขอเพียงแค่เรารวบรวมกายกับใจสำรวจพิสูจน์กระดูกทุกข้อภายในกายให้ครบ เมื่อกายศักดิ์สิทธิ์ ธรรมะศักดิ์สิทธิ์จะอุบัติขึ้น จิตศักดิ์สิทธิ์ก็จะเป็นไปเอง แล้วทีนี้ลมทั้ง 7 ฐานก็จะปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า เราจะรู้จักเคล็ดวิธีของการเดินลมในฐานทั้ง 7 เทียบเท่ากลุ่มเจ็ดดาวเหนือบนท้องฟ้าในทิศเหนือ
-----------------------------------------------------------------------------
"หลวงปู่ครับ ขอความกรุณาช่วยขยายความ การสำรวจโครงสร้างกระดูกของร่างกายให้ละเอียดขึ้นกว่าเดิมด้วยเถอะครับ"
ขอให้เธอมองเป็นภาพรวม ๆ ก่อนลูก มองในภาพเหมือนกับพวกเธอที่นั่งอยู่ตรงนี้แล้วเห็นหลวงปู่เต็มตา พวกเธอจะสามารถจับภาพได้โดยไม่จำเป็นต้องไปเจาะลึกเอาแว่นขยายไปส่อง ไม่ต้องถึงขนาดนั้น แค่พื้น ๆ มองเป็นภาพรวม ๆ ของโครงสร้างก็พอ โดยเอา "ตาใน" ฉายส่องดู เหมือนสปอตไลท์ที่ไล่เก็บรายละเอียดแบบไม่ค่อยละเอียดนัก แบบหยาบ ๆ ว่า นี่คือกะโหลกศรีษะนะ มันมีรูปร่างแบบนี้นะ
ถ้าเธอยังนึกแบบนั้นไม่ได้ หลวงปู่จะสอนพระว่า ถ้านึกไม่ออก บอกไม่ได้ เพราะ "ตาใน" ยังไม่สว่างพอ นึกไม่รู้ ดูไม่เห็น ก็ให้ใช้วิธีหลับตาแล้วเอามือคลำกะโหลกศรีษะของตัวเอง แล้วใช้ความรู้สึกจับตามก็ได้ เสร็จแล้วก็เปลี่ยนจากกะโหลกศรีษะลงมาที่ต้นคอ จากต้นคอลงมาที่หัวไหล่ ไล่ลงมาเรื่อย ๆ …. ในขณะที่เรากำลังสำรวจโครงสร้างอยู่นี้ สมองของเราจะค่อย ๆ โล่ง ความคิดจะไม่ปรากฏอารมณ์มันจะไม่ปรุง เมื่อความคิดไม่ปรากฏ อารมณ์ไม่ปรุง แสดงว่า กายกับใจเรารวมกัน สมาธิมันจะเกิดตรงนั้น
บางครั้งอาการจับจ้องมองภาพภายในมันอาจจะเลือนไป อาจจะเผลอวูบไปคิดถึงเรื่องอื่น ๆ เมื่อเรารู้ตัวเราต้องหยุดหายใจทันที คือไม่หายใจเข้าและไม่หายใจออก จนกว่าร่างกายมันจะทนไม่ได้แล้วจึงเริ่มหายใจใหม่ เพราะอะไร ? เพราะธรรมชาติของกายกับใจมันมีสื่อสัมพันธ์อันแนบแน่นต่อกัน ใจจะกลับมาเพื่อดูแลระวังรักษากาย ถึงเวลานั้นเมื่อเราเลิกหายใจสิ่งที่มันหลุดออกไปก็จะกลับเข้ามามันจะมาเตือนให้เราหายใจ มิฉะนั้นเราจะตาย เราก็จะเริ่มหายใจยาว ๆ สูดเข้ายาว ๆ แบบสุภาพนิ่มนวลและอ่อนโยน เสร็จแล้วก็ค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจออกอย่างผ่อนคลาย ปล่อยวาง และหมดจด ทำอย่างนี้สัก 5 ครั้ง 10 ครั้ง พอให้ร่างกายรู้ว่าอย่าออกไปอีกนะ แล้วก็เริ่มจัดโครงสร้างใหม่ต่อ หรือเริ่มต้นใหม่ในการสำรวจโครงสร้าง โดยเธอต้องทำให้เป็นธรรมชาติที่สุด
การสำรวจร่างกายในวิชาลม 7 ฐานนั้น การนั่งถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก แต่ถ้าเราค่อยเป็นค่อยไป ทำไปทีละขั้นก็จะก้าวหน้าไปได้เอง วันนี้อาจจะสำรวจได้แค่กะโหลกศรีษะ พรุ่งนี้อาจจะได้หัวไหล่ ต้นคอ มะรืนนี้อาจจะได้หน้าอก สัปดาห์หน้าอาจจะได้ช่องท้องหรือกระดูกสันหลัง ค่อย ๆ เป็นไปอย่างนี้ ค่อย ๆ ที่จะรู้จักหน้าตาแท้ ๆ ของตัวเอง อย่างพินิจพิจารณา ไม่ใช่รู้จักแบบผิวเผิน
วิธีนั่ง หลวงปู่ชอบที่จะนั่งแบบผ่อนคลาย คือ นั่งในลักษณะสามเหลี่ยมมุมแหลม เราต้องเข้าใจหลักสรีระร่างกายของเราก่อนว่า ทวารที่ผ่อนคลายได้ดี คือทวารที่มันมีรูให้ออก เพราะมันปฏิเสธไม่ได้ว่า รักแร้ของเรามันสามารถผ่อนคลายความร้อน ความถมึงทึงและไออุ่นออกมาได้เหมือนกัน
เมื่อนั่งแล้วก็ลองโยกตัวไปข้างหลังหน่อยนึง จัดโครงสร้างย้ายไปข้างขวาหน่อยนึง ข้างซ้ายหน่อยนึง เพื่อสำรวจดูว่า กระดูกข้อใดมันบกพร่องในร่างกายแล้วเราจะรู้ว่า เราจะเป็นโรคอะไรด้วย สำรวจดูทั้งหน้าหลังซ้ายขวา เมื่อเห็นว่าทุกอย่างในกายเราไม่มีอะไรบกพร่อง คือวอร์มได้ที่แล้วก็เริ่มนั่ง ทำตัวให้ตรง ตามองลงต่ำ ทอดตาลงต่ำ แต่ไม่ใช่ก้ม คือ คอต้องไม่เสียศูนย์ อย่าเชิดคาง ตาทอดลงต่ำขนาด 90 องศา แล้วค่อย ๆ หรี่เปลือกตาลงอย่างอ่อนโยนและนิ่มนวล ไม่ใช่รีบหลับแล้วเกร็งลูกตาปี๋ จงหรี่เปลือกตาลงอย่างอ่อนโยนนิ่มนวลสุภาพ จากนั้นก็เริ่มส่งความรู้สึกสำรวจตั้งแต่โครงกระดูกของศรีษะลงมา
ถ้ากายกับใจเรารวมกันจริง ๆ เราจะรู้สึกว่าความร้อน ความง่วง ความเพลีย ความเบื่อ ความเซ็ง ความเครียด ความอึดอัดขัดเคืองมันจะพากันวิ่งออกไปจากตัวเรา มันจะคล้าย ๆ กับผู้ใหญ่ที่เข้ามาในบ้าน เด็กซน ๆ ที่กำลังเล่นอยู่ก็จะหยุดพฤติกรรมโจรขโมยที่อยู่ในบ้านก็จะวิ่งหนีออกไปจากบ้านทันที รวมความแล้วถ้ากายรวมใจจริง ๆ มลภาวะในตัวเราจะหายไปหมด มันจะออกไปทางอะไรที่เรารู้สึกได้ ออกจากตา จากหู จากจมูก จากผิวหนัง ความอุ่น ความร้อน มันจะมีความรู้สึกทันทีว่าความร้อนในกายมันจะพุ่งออกตามผิวหนัง มลภาวะของเสียทั้งหลายมันจะออกตามผิวหนัง ตามทวารทั้งหลาย แม้กระทั่งที่เส้นผมและที่หัว แต่อันนี้เป็นความรู้สึกที่ละเอียดขึ้น ผู้หัดใหม่ยังไม่ต้องสนใจ ให้สนใจแค่โครงสร้างของกายเท่านั้น
อย่าลืมนะลูก ถ้ารู้สึกว่าตัวเรากับใจมันจะแยกกันแล้ว มันเกิดความคิดขึ้นมาแล้ว ก็จงหยุดลมหายใจเสีย ถ้าไม่คิดเตือนตัวเอง ชาตินี้ก็ไม่มีใครเตือนเราได้หรอกลูก ถ้าไม่สนใจจะรู้จักหน้าตาแท้ ๆ ของตัวเอง แล้วเมื่อไหร่จะได้รู้จัก ถ้าไม่รู้จักวันนี้ รอถึงพรุ่งนี้ก็ไม่มีสิทธิ์แล้วละ เหตุผลก็เพราะ เราไม่รู้ว่ามัจจุราชจะเข้ามาถามหาและดึงเราไปเมื่อไหร่
----------------------------------------
ดี…" หลวงปู่ใส่ผ้าแดงอยู่ผืนเดียว ใส่นอนใส่นั่งอยู่ในห้อง ก็บังเอิญฝันไปว่า มีโอกาสขึ้นไปประชุมในเทวสภา ดันไปชุดนั้น พวกเขาก็เลยเรียกหลวงปู่ว่าเทพขอทานระหว่างทางที่ขึ้นไปมีเหล่าพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั่งอยู่เต็มไปหมด แต่ละองค์ก็มีที่ของเขา รู้สึกว่าเรื่องนี้หลวงปู่เคยเล่าให้ฟังสมัยอยู่ที่ถ้ำสิงโตทอง ทุกคนมีที่ของเขาทั้งนั้น เราก็ไปยืนชะเง้อคุยกับเขา ที่เขาสูงท่วมหัวเรา ที่นั่งเขาเท่าต้นเสาต้นตาลส่วนไอ้เรามันไม่มีที่ เขาก็เลยตะโกนถามลงมาว่า… "เอ้ามายังไง" "ก็วันนี้เรียกประชุมไม่ใช่หรือ เห็นเขาเรียกประชุมก็มากับเขานะสิ" "เราไม่รู้นี่ ก็มาทั้งอย่างนี้แหละ" ทันใดก็มีเสียงมาจากฐานที่นั่งใหญ่สูงกว่าที่ทั้งหมดในบริเวณนั้นว่า "ขอให้ท่านจงแสดงธรรมของท่าน" "เราก็นึกในใจว่าเราจะมีธรรมอะไรวะ ดูสภาพเราก็เรียกว่าขอทานอยู่แล้ว จะไปแสดงธรรมอะไรกับเขาได้ก็เลยนึกขึ้นได้ว่า ก่อนที่จะมาเราเห็นรูปกวนอิมพันมือ ก็เลยคิดท่าปริศนาธรรมขึ้นได้ 8 ท่า แล้วก็เลยแสดงให้พวกเขาเห็น เมื่อเราแสดงปริศนาธรรมได้ครบ 8 ท่า แผ่นดินที่เรายืนอยู่ก็สูงขึ้นเท่ากับพวกเขานั่งเท่าเสมอกัน ทีนี้ก็คุยเป็นภาษาเดียวกันได้ เรื่องมันยาวเอาแค่เนี้ย…จบ ! " "ท่าพระโพธิสัตว์ภาวนาที่จะสอนต่อไปนี้ เป็น 1 ใน 8 ของปริศนาธรรม ผู้ที่จะเป็นหรือจะเป็นพระโพธิสัตว์จะต้องมีปัญญาเป็นของตนเอง ต้องรู้เรื่องที่ตังเองคิดค้นได้ และต้องเข้าใจสิ่งที่ตนเองรู้ และถ่ายทอดให้คนอื่นได้ รวมทั้งต้องทำให้คนอื่นได้ประโยชน์จากสิ่งที่ตัวเองรู้แล้วด้วย" "ความหมายของวิชาสมาธิพระโพธิสัตว์ มันก็คือ ท่าปริศนาธรรมที่หลวงปู่คิดดัดแปลงมาจากภาพกวนอิมพันมือเอามาใช้สอน จริงๆ แล้วไม่เคยสอน แต่วันนั้นนึกครึม สบายใจ ก็เลยสอนพวกเณรไป 4 ท่าคือ (1) พระโพธิสัตว์โอบอุ้มสรรพสัตว์ (2) พระโพธิสัตว์รำพึง (3) พระโพธิสัตว์กำจัดกิเลส (4) พระโพธิสัตว์ภาวนา ขั้นตอนการฝึกปฏิบัติสมาธิพระโพธิสัตว์ ก่อนอื่นต้องตั้งกายให้ตรง ผ่อนคลาย แล้วสำรวจดูโครงกระดูกแกนกลางของร่างกาย สำรวจดูข้อต่อให้แต่ละข้อตั้งตรงฉากกับพื้นดิน ควบคุมความรู้สึกให้กำกับอิริยาบถที่เคลื่อนไหว สำหรับคนที่เริ่มฝึกใหม่ๆ ช่วงแรกจะรู้สึกสัมผัสถึงพลังชนิดหนึ่งที่สัมผัสได้ และถ้าทำไปเรื่อยๆ จะควบคุมพลังในกายได้ควบคุมอิริยาบถในกายได้ สมาธิพระโพธิสัตว์ ท่าพระโพระโพธิสัตว์ภาวนานี้ เป็นขั้นตอนที่ 4 และเป็น 1ใน 8 ท่า มันจะเป็นผู้ที่กำหนดอิริยาบถและบทบาทของตนเองได้ มีสติเท่าทันอิริยาบถ และควบคุมความรู้สึกนึกคิดได้ จิตจะตั้งมั่นได้เร็วและสุดท้ายเธอจะสามารถมีพลังวิเศษที่จะสามารถใช้บำบัดรักษาอาการป่วยไข้ของใครๆ ได้ แต่จะต้องไม่ใช้อย่างฟุ่มเฟือยและไม่ใช้ถ้าไม่จำเป็น ขั้นตอนการปฏิบัติสมาธิพระโพธิสัตว์ภาวนามีทั้งหมดดังนี้ เริ่มต้น สำรวจโครงสร้างของร่างกาย นั่งให้สบาย ผ่อนคลายให้มากที่สุด ขั้นที่สอง หลับเปลือกตาลงอย่างนุ่มนวล เบา อ่อนโยน สูดลมหายใจเข้านับในใจว่า 1-2-3-4-5 ผ่อนลมออก นับในใจ 1-2-3-4-5 ทำอย่างนี้จนกระทั่งเมื่อเรารู้สึกว่าสลัดหลุดจากความรู้สึกฟุ้งซ่าน หงุดหงิดทั้งปวงได้ ร่างกายไม่เกร็ง หรือเครียด เมื่อเราสามารถควบคุมประสาททุกส่วนได้ จึงเริ่มเคลื่อนไหวช่วงแขน ข้อต่อ ศอก และฝ่ามือ โดยใช้จิตกำหนดพลังที่มีอยู่ในกายให้โยกโอนตามการเคลื่อนไหว ช่วงนี้จะรับรู้ถึงไออุ่นที่วิเศษคือ เป็นไออุ่นที่นุ่มนวลและให้สันติสุข เมื่อสูดดมเข้า ยกมือขึ้นวางที่หน้าตัก เมื่อยกมือกลับไปวางลงที่หัวเข่า ผ่อนลมออก จงควบคุมลมหายใจพร้อมกับอิริยาบถ ขั้นที่สาม สลับสับเปลี่ยนการเคลื่อนไหวของมือขวาและซ้าย เคลื่อนไหวมือขึ้นบนและล่าง มันจะมีพลังชนิดหนึ่งซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างมือทั้งสองข้าง เราจะรับรู้ได้โดยวิถีจิตของเราว่า มันเป็นความอบอุ่นและมีไอพิเศษ สุดท้าย ประนมมือในอากาศ แต่ไม่ให้ฝ่ามือทั้ง 2 ข้างแตะชิดกัน จงฝึกที่จะบังคับพลังให้ตั้งขึ้น จงใช้จิตวิญญาณของเรา ความรู้สึกนึกคิดของเราจับอยู่ที่อิริยาบทและพลังที่สัมผัสได้นั้น สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนซ้ายและขวา ล่างและบน เมื่อมีจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้าย จุดสุดท้ายก็คือจุดเริ่มต้น จุดเริ่มต้นก็คือจุดสุดท้ายข้อสำคัญต้องอย่าให้ฝ่ามือทั้ง 2 ข้างแตะชิดกัน เคล็ดสำคัญของวิชานี้มิได้อยู่ที่ท่วงท่า แต่อยู่ที่วิธีการโยกย้ายลมปราณ จะช่วยให้จิตเราตั้งมั่นได้ง่าย คนที่มีวิตกจริต โทสะ โมหะ ราคะ พุทธจริตทั้งหลายนี้จะสามารถกำราบลงได้ในการเคลื่อนไหวของอิริยาบท ท่านี้เขาใช้สำหรับพระมหาโพธิสัตว์ที่ใช้ในการภาวนา จะมีพลังชนิดหนึ่งที่หมุนเวียนรอบฝ่ามือและใจกลาง วิธีทำสมาธิที่หลวงปู่สอนให้พวกเราในวันนี้ ไม่ใช่มุ่งทำจนบรรลุผลใดๆ แต่จะทำให้จิตตั้งมั่นได้ง่าย เมื่อเรามั่นใจว่าตัวเรามีสติที่ทรงไว้อยู่กับตัวไม่มีอารมณ์ใดๆ ปรากฏแล้วก็หยุดทำมันแล้วเริ่มพัฒนาจิตต่อไปในขั้นที่ 3 และขั้นที่ 4 แล้วทำสมาธิพระโธิสัตว์ภาวนาจะช่วยยกระดับจิตของเราให้เข้าถึงปฐมมฌานและขั้นทุติยฌานได้ แต่ต้องหมายถึงเธอชำนาญเป็นเอกเทศแล้ว อันดับแรกหากได้รับความรู้สึกจากไออุ่นจากมือก็น่าจะพอแล้วสำหรับคนฝึกใหม่ จงลองไปฝึกดูที่สำคัญต้องผ่อนคลายลมหายใจ ความหมายของสมาธิพระโพธิสัตว์ คือ ผู้ที่เรียนรู้สมาธิพระโพธิสัตว์ไปแล้วจะต้องไม่โง่ ต้องรู้เท่าทัน ต้องแยกแยะออกระหว่างมิตรกับศัตรู ถูกกับผิด ของจริงกับของปลอมได้ ต้องรู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ ลูกหลานของกูต้องฉลาด ! ยิ่งคนที่ปฏิญาณตนว่าจะเรียนรู้สมาธิพระโพธิสัตว์ยิ่งต้องฉลาด ทีแรกหลวงปู่ไม่คิดไม่พยายามสอนสมาธิพระโพธิสัตว์ เพราะหลวงปู่มีความคิดว่าไม่น่าจะสอนหรือถ่ายทอดไปสู่มหาชน เพราะคนจะคิดว่าเราไปยึดติดในรูปแบบและท่าทาง แต่ว่านั้นเป็นท่าร่างและท่าทางของปริศนาธรรม เป็นกระบวนการของธรรมะ เป็นการถ่ายทอดธรรมะโดยไม่ต้องอาศัยคำพูด หลวงปู่เอาวิชานี้มาใช้สอนเณร สอนพระเพราะว่าดูแล้ว ทดสอบด้วยตนเองแล้ว ให้คนอื่นทดสอบด้วย คือทำให้มีสมาธิได้ง่าย สติตั้งมั่นได้เร็ว จึงเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าจะดี แต่ก็ยังหวั่นหวาดและเกรงว่าเราจะเป็นที่นำมาซึ่งลัทธิใหม่ ซึ่งลบล้างความเชื่อและคำสอนเก่าๆ ซึ่งเขาถือว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็เลยอยากออกตัวว่า วิชาสมาธิพระโพธิสัตว์นี้เป็นประสบการณ์เฉพาะตัว เป็นความรู้เฉพาะตัวของหลวงปู่ ถ้าลูกหลานยอมรับก็มีสิทธิ์ที่จามาเรียนรู้ แต่ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะเรียนรู้เพราะมันไม่ใช่วิชาสากล ที่ใครๆ ก็จะทำได้ "หลวงปู่ครับ การหายใจของสมาธิพระโพธิสัตว์ต้องมีการอั้นหายใจหรือเปล่าครับ" "จริงๆ แล้วไม่ได้อั้นหายใจ แต่ที่ให้หายใจเข้าแล้วนับ1-2-3-4-5 ก็เพื่อให้ปอดได้ขยายได้ซึมซับพลังงานอย่างสมบูรณ์แบบ ปกติปอดของคนเราทำงานไม่สมบูรณ์ จึงทำให้ร่างกายเราทำงานน้อยถอยลง สมาธิพระโพธิสัตว์คือ การทำให้อวัยวะทั้งหลายทำงานภายในกายให้มีประสิทธิภาพสมบูรณ์แบบ จงหายใจให้เต็มปอด นับจังหวะให้ครบเสร็จแล้วให้ผ่อนออก ผ่อนออกให้หมด จงอย่าหายใจเข้าผิดว่าหลวงปู่ให้หายใจแล้วอั้นไว้ แต่จงหายใจโดยใช้ศักยภาพของปอดให้เต็มที่ แล้วหายใจออกให้แน่ใจว่าออกจนหมด ที่หลวงปู่นับเลขก็เพื่อที่จะให้เธอได้รู้ว่าลมหายใจของเรานั้น มันกว้างขวางยิ่งใหญ่ขนาดไหน การหายใจออกหมดก็เพื่อให้แน่ใจว่า เราต้องการลมเข้าแล้วจริงๆ" "หลวงปู่ครับ ในขั้นสุดท้าย หรือท่าที่ 8 ของสมาธิพระโพธิสัตว์ ของสมาธิพระโพธิสัตว์ ความสัมพันธ์ระหว่างลมหายใจเข้า-ออก หรือขั้นที่ 8 กับการเปลี่ยนท่าของมือจะเป็นอย่างไรครับ" "ในขั้นสุดท้าย หรือขั้นที่ 8 ของสมาธิพระโพธิสัตว์ มันจะไม่ใช่แค่เพียงมีลมหายใจเข้า แล้วสัมพันธ์กับอิริยาบถที่เปลี่ยนแปลงเท่านั้น แต่ในขั้นนี้มันจะสามารถสัมพันธ์กับพลังแห่งจักรวาลและอณูแห่งบรรยากาศรอบข้างได้ คือมันรู้ว่าการเกิด-การดับ การเปลี่ยนแปลงของโมเลกุลในร่างกายและพลังรอบตัวเราได้ แต่ในท่าที่ 4 หรือพระโพธิสัตว์ภาวนาที่หลวงปู่ถ่ายทอดให้พวกเธอนั้น ยังอยู่ในขั้นการหายใจต้องควบคุมให้สัมพันธ์กับอิริยาบถตามระบบการทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมือขวา มือซ้าย มือล่าง มือบน ลมหายใจต้องประสานกลมกลืน พวกเธอจะต้องฝึกจนกระทั่ง เมื่อยกมือก็รู้ว่าหายใจเข้า เมื่อวางมือลงก็รู้ว่าหายใจออก เมื่อหมุนมือขวาขึ้น มือซ้ายอยู่ล่างก็รู้วาหายใจเข้า เมื่อขยับเปลี่ยนมือซ้ายขึ้น มือขวาลงก็รู้ว่าหายใจออก การกระทำในอิริยาบถทั้งหลายกลมกลืนกับลมหายใจนี้ เป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้เรารู้จักมิติแห่งกาลเวลา และพลังในจักรวาลทั้งหลายได้" "หลวงปู่ครับ ในตอนตั้งมือ เป็นช่วงกึ่งกลางระหว่างลมหายใจเข้าและออกหรือเปล่าครับ" "ในกระวนการตั้งมือนั้นมันเป็นการโคจรของพลังปราณในกาย มันเป็นกระบวนการของการบังคังพลังในกายให้เคลื่อนจากมือขวาย้ายมามือซ้าย สู่ท่อนแขนหัวไหล่ แล้วพุ่งออกไปสู่มือขวา เป็นการหมุนเวียนของพลังแล้วใช้พลัง อันเป็นขั้นตอนสุดท้ายของท่าพระโพธิสัตว์ภาวนา ส่วนกระบวนการหายใจยังปกติ" "หัวใจของสมาธิพระโพธิสัตว์ คืออะไรครับ" "คือ การหายใจอย่างผ่อนคลาย ใช้ศักยภาพของร่างกายให้สมบูรณ์ อ่อนโยน นิ่มนวล แฝงด้วยพลังอันลึกล้ำ เป็นการแสดงออกซึ่งอำนาจ ศักยภาพในตนเอง กระบวนการหายใจเป็นเทคนิคของแต่ละบุคคล บางคนหายใจได้ยาว บางคนหายใจได้สั้น มันขึ้นกับอวัยวะของผู้นั้น บุญทำกรรมแต่งแต่เมื่อเราหายใจเข้าไปก็ต้องมั่นใจว่า เราดูดกลิ่นไอของพลังและความสุขสมบูรณ์ความเสริมร้าง ซ่อมแซม และส่งเสริมพลังปราณภายในเข้าไป และคราใดที่หายใจออกก็ต้องถ่ายเทของเสียทั้งหลาย ความรุ่มร้อน ความอึดอัดขัดเคือง ความยุ่งเหยิง ฟุ้งซ่าน รำคาญ โกรธเกลียดออกไปด้วย ลมหายใจที่ผ่อนออกนั้นคือ การผ่อนออกของมลภาวะดุจคนที่ท้องผูกแล้วได้ระบาย.." "…แต่ถ้าหายใจออกแล้วยังเฉยๆ ไม่มีอะไร แสดงว่าเราไม่มีจิตคล้อยตามลมหายใจ อารมณ์ ทั้งหลายกำลังแบ่งแยก ถูกปรุงแต่งจาก 1 เป็น 2 เป็น 3 เป็น 4 พลังงานของเรากระจัดกระจายไม่รวมเป็นกลุ่มเป็นก้อน แต่ถ้าเมื่อใดที่เราหายใจออกแล้วรู้สึกว่ามันได้ผ่อนคลาย มลภาวะทั้งหลายได้ละทิ้งนั้นเป็นกระบวนการที่ได้รวบรวมพลังเป็นกลุ่มเป็นก้อน และได้ใช้ผลักดันของเสียข้างในออกไปกับลมหายใจที่ผ่อนออกได้.." "..ลมหายใจที่เต็มไปด้วยการผ่อนคลายนั้น จึงเป็นลมหายใจที่ สร้างสรรค์ สร้างเสริม ซ่อมแซม และส่งเสริมให้มีพลังชีวิตใหม่ๆ ปรากฏขึ้นความรู้สึกนึกคิดชีวิตจิตวิญญาณของเราก็ได้รับการพัฒนาไปตามกระบวนการใหม่ๆ ชีวิตใหม่วิถีทางใหม่ และวิธีการหายใจชนิดใหม่นี้ ซึ่งจะทำให้ระบบชีวิตความคิด สมอง สติปัญญาของเราได้ใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ มีภูมิคุ้มกันความคิดการกระทำและคำพูดของตัวเราได้ อย่างหลวงปู่นี้ ตามองเห็นรูปได้ 360 องศา หูฟังเสียงได้ไกลที่สุดได้ 5 กิโลเมตร จมูกรับกลิ่นได้ 180 กลิ่น ลิ้นรับรสได้ 60 รส ผิวกายรับสัมผัส ความชื้น ความร้อน ความแข็งกระด้างของบรรยากาศและโมเลกุลรอบกายเราได้อย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์ กระบวนการเหล่านี้เป็นกระบวนการเสริมสร้างประสิทธิภาพและกายภาพของชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าสอนและสั่งให้เราพัฒนาชีวิตของเราเป็นศิลปะ" "ในการเคลื่อนไหวมือในการฝึกสมาธิพระโพธิสัตว์ภาวนา เราจะทราบได้อย่างไรว่า เมื่อจิตเรามาถึงขั้นนี้เราจึงเปลี่ยนมือได้" "มันอยู่ที่เทคนิค เหมือนกับคนขับรถยนต์ เมื่อเข่าเกียร์หนึ่งต้องมีคนบอกมั้ยว่าให้เข้าเกียร์สอง มันอยู่ที่เทคนิคบางคนเปลี่ยนเป็นเกียร์สามแล้ว ยังต้องกลับไปเกียร์หนึ่งใหม่ เพราะสถานภาพไม่อำนวย" "ขอให้หลวงปู่บอกวิธีแก้การตกอยู่ในภวังค์ขณะกำลังทำสมาธิด้วยครับ" "ภวังค์กับจิตเป็นเรื่องราวของหลุมอากาศ เมื่อตกภวังค์เหมือนตกหลุมอากาศ ทำให้เราเคว้งคว้าง สิ่งที่ได้รับคือ กระบวนการแห่งความมืดบอด ความดำ และเราจะโดนกักขังให้อยู่กับที่ วิธีแก้ไขคือ หายใจเข้าลึกๆ คนที่เข้าไปสู่ภวังค์ตกอยู่ภวังค์ก็เพราะหายใจไม่เป็น ไม่มีระบบในการหายใจ ไม่มีกระบวนการควบคุมลมหายใจ จนกระทั่งลมหายใจมันขาดออกเหมือนกับเราอยู่นิ่งๆ เฉยๆ สมัยก่อนคนที่ถึงตรงนี้มีมาก จนกระทั่งอวดอ้างว่าตนเองเป็นอรหันต์ พระพุทธเจ้า ก็ต้องบอกว่าไม่ใช่ มันเป็นเรื่องของคนตาบอดที่เข้าไปในความมืดแล้วหลงอยู่ในนั้น มันอยู่ในนั้นโดยไม่มีอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดใดๆ เรื่อยๆ เงียบๆ เฉยๆ เหมือนคนตาบอดอย่างนั้น จึงคิดว่าตนเองหมดตัณหา หมดกามกิเลส หมดความผูกพันแล้ว แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ มันเป็นกระบวนการของภวังค์จิต ซึ่งเราไม่สามารถติดตามความเป็นไปของจิตได้ มันเป็นมายาชนิดหนึ่งของจิตที่แสดงออกไว้เพื่อหลอกล่อให้เราหลงใหลว่า เราเป็นผู้ชนะ เป็นผู้ฉลาด เป็นผู้หมดแล้วจากอุปกิเลสแต่ไม่ใช่ ทางที่แก้คือ หันมาสู่กระบวนการหายใจอย่างเป็นระบบอย่างที่สอนไว้แล้วก็พอจะแก้ได้ อนึ่ง คนที่ตกภวังค์ ปอดเกือบไม่มีการหดเข้าและขยายออกเลย คล้ายกับคนที่เข้านิโรธสมาบัติ แต่ไม่เชิงนิโรธสมาบัติ เพราะคนที่เข้านิโรธสมาบัติมันจะหายใจเต็มที่ แต่เหมือนกับไม่ได้หายใจ มันเป็นการตัดสัญญา" "หลวงปู่มีวิธีอย่างไรที่มีความเพียรในการทำสมาธิโดยที่ไม่ปวดเมื่อยตลอดเวลาที่ทำสมาธิ และจะสลัดให้หลุดอย่างไรจากมโนภาพครับ" "ตอนที่หลวงปู่ทำสมาธิใหม่ๆ ก็รู้สึกวุ่นวาย สับสนเหมือนกัน พอหลับตานั่งก็เห็นภาพ คิดเป็นเรื่องโน้นเรื่องนี้ แต่มีช่วงหนึ่งที่เหมือนมีอะไรมาดลบันดาลว่าถ้ามัวคิดอยู่อย่างนี้ เราจะไม่มีวันรู้จักกับตัวของเราเอง ก็เลยพยายามสลัดให้หลุดบอกกับตัวเองว่าชีวิตเรามาคนเดียว สิ่งที่เป็นเรื่องตัวเราคนเดียวนั้น เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ให้หมดก่อน นี่คือวิธีคิดของหลวงปู่…" "..เวลาที่นั่งหลับตาแล้ว ยังไม่เคยนะว่าเมื่อใดที่หลวงปู่นั่งหลับตาแล้วมีไอ้นั่นผุดขึ้น ไอ้นี่ผุดขึ้น ไม่เคยมีความคิดแตกแยก หากหลับตาเมื่อต้องการสมาธิต้องไม่ให้มันเกิดกระบวนการความคิดที่แตกแยก จะได้รวบรวมพลังงานทั้งปวงได้ หลวงปู่มีแนวความคิดที่ค่อนข้างไม่เหมือนคนอื่นนะ อย่างบางคนทำสมาธิแล้วต้องภาวนา พุทโธ แต่หลวงปู่จะไม่ เพราะเราต้องการพลังจากน้ำ แล้วให้น้ำรั่วออกไปทาง หู ตา จมูก ปาก น้ำที่มีอยู่มันก็ลดน้อยลง แล้วพลังมันได้มาจากไหน วิธีคิดของปู่ก็คือ เมื่อต้องการพลังจากน้ำก็ต้องหาน้ำมาเติมให้มันเต็มเสียก่อน สะสมพลังจากน้ำไว้ไม่ให้มันรั่วไหลจากที่ของมันไป เมื่อใดที่น้ำเต็มที่แล้วเราจะใช้ทำอะไรก็สามารถทำได้.." "…หลวงปู่จึงมีคำพูดว่า ลูกรัก.. ถ้าเมื่อใดที่เจ้าต้องการสมาธิ เห็นพระ พุทธเจ้า ต้องฆ่าทิ้ง เห็นพระธรรมต้องเผาทิ้ง เห็นพระสงฆ์ต้องหนีให้ไกลเพราะการทำสิ่งเหล่านี้จะทำให้เจ้าหลงไหลและมัวเมาตกเป็นทาสของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ในทางที่ไม่เป็นสมาธิ ความหมายของสมาธิคือไม่อยู่กับอะไร แต่อยู่กับตัวเรา มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว บางคนเรียนสมาธิจากพุทโธ หลวงปู่คิดว่าเป็นวิธีที่เนิ่นช้า และไม่ตรงกับสิ่งที่เราต้องการ เราต้องการความสงบ แต่กลับไปพูดกับพระพุทธเจ้า ภาวนาหาพระพุทธเจ้า เราต้องควบคุมสันติสุข กลับไปนึกถึงพระธรรม จึงควรพูดเสียใหม่ว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นเครื่องกำหลาบกิเลศอย่างหยาบและเป็นเครื่องมือที่จะทำให้จิตเราสลดสังเวช แต่มันไม่ใช่เครื่องที่จะทำให้เราเกิดสมาธิ เพราะเป็นเรื่องของตัวเราที่จะต้องสลัดตัดให้หลุดฉุดตัวเราให้มันขึ้นมาจากกองขยะที่เหลวแหลกเละเทะ พระพุทธเจ้าก็ช่วยไม่ได้ พระธรรมก็ช่วยไม่ได้ พระสงฆ์ก็ช่วยไม่ได้ ตัวเราจึงจะช่วยตัวเรา ไม่อย่างนั้นพระพุทธเจ้าจะบอกกับเราหรือว่า ตนแลเป็นที่พึงแห่งตน สมาธิเป็นเรื่องส่วนตัวเป็นโลกส่วนตัว เป็นกระบวนการส่วนตัวของเราที่เริ่มจากการปลุกครูของตนเองขึ้นมาสอน รักษาสมดุลของชีวิต รักษาความเป็นอิสระของตนเองได้ ปลดปล่อยสิ่งที่เราเก็บเอาไว้ให้ออกไป รื้อขยะที่มีหมักหมมให้ออกไป หากทำได้เช่นนี้แล้วหลับตาก็เป็นสมาธิ ลืมตาก็เป็นสมาธิ เดินอยู่ นั่งอยู่ ยืนอยู่ก็เป็นสมาธิ… หากทำด้วยวิธีอันเลิศ การฝึกสมาธิพระโพธิสัตว์จะทำให้มีพลังชนิดหนึ่งออกมาจากใจกลางฝ่ามือ ออกมาบริเวณช่วงแขน ลำตัวและผิวกาย พระเขาเคยบอกว่าเวลาฝึกสมาธิแล้ว ลืมตาดูหลวงปู่ เขาจะเห็นแสงเรืองๆ เหมือนมีรัศมีออกมา หลวงปู่ไม่รู้ว่ามีหรือไม่รู้แต่ว่าตัวเองชุ่มฉ่ำ กระชุ่มกระชวย มีพลังเยอะขึ้น วิชาสมาธิพระโพธิสัตว์ มันจะทำให้จิตวิญญาณ สติ สมาธิ และกายรวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้อย่างชนิดเฉียบพลัน รวดเร็ว เด็ดขาด หลวงปู่คิดว่า พวกเธอก็ทำได้ไม่ใช่เรื่องยาก สำคัญอยู่ที่อย่าไปหวังผลเลิศ แต่จงสรรหาวิธีที่เลิศ แล้วเราจะนำมาใช้เอง วิชาพระโพธิสัตว์ภาวนา วิชาลม 7 ฐาน ของหลวงปู่ได้มาจากสมาธิทั้งสิ้นไม่ได้เรียนรู้จากตำราเล่มใดเลย.." ..หลังจากนั้นอีกสามเดือน พวกผม ก็ได้รับการถ่ายทอด สมาธิพระโพธิสัตว์ อีก 7 ท่าที่เหลือจาก "หลวงปู่" โดยผ่านการนิมิตจนสมบูรณ์ในปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2541
หลวงปู่ : สมาธิลม 7 ฐานของหลวงปู่พุทธะอิสระ
ถ่ายทอดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2541…….
สิ่งที่หลวงปู่รู้นี้ ไม่ได้จำขี้ปากชาวบ้านมา ไม่ได้ลอกเลียนแบบจากตำราเล่มไหนไม่ได้ไปศึกษาจากสำนักใด แต่มันเป็นความรู้ด้วยการถ่ายทอดวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ จิตถึงจิต ธรรมถึงธรรม กายต่อกาย เพราะฉะนั้นคนที่จะเรียนรู้มันจนครบถ้วนกระบวนความจนถึงความหมายของคำว่า 3 ศักดิ์สิทธิ์ได้นั้น ต้องทำให้ครูแน่ใจเสียก่อนว่า ศิษย์ผู้นี้ดูแล้วมีดี แต่ถ้าดูแล้วอัปรีย์ถ่ายทอดไปก็ไม่มีประโยชน์ แถมยังให้โทษอีกต่างหาก
วิชาลม 7 ฐานเป็นวิชาที่สามารถครอบงำจักรวาลก็ยังได้ สามารถยืดอายุขัยให้ยาวนานก็ยังได้ สามารถจะทำให้คนโง่ที่สุดกลายเป็นคนฉลาดเยี่ยมยุทธ์ที่สุดในโลกก็ได้ สามารถทำให้มนุษย์เป็น "ยอดมนุษย์" ก็ได้ สามารถทำให้เราซึมสิงซึมซับกลิ่นไอบรรยากาศพลังรอบ ๆ ตัวเราเข้ามาสู่ตัวเราก็ได้ เพราะฉะนั้นการจะเรียนรู้วิชาลม 7 ฐานก็ต้องเริ่มต้นจากการจัดโครงสร้างของกายเสียก่อน
เอาความรู้สึกลึก ๆ สำรวจกาย หลับตาก็ได้ ลืมตาก็ได้ กระดูกทุกข้อต้องตั้งตรงเป็นแนวดิ่งกับพื้น อิริยาบถที่นั่งต้องนั่งด้วยความรู้สึกผ่อนคลาย ไม่ใช่เกร็งถมึงถึงจนกลายเป็นความตึงเครียด ส่งความรู้สึกสำรวจโครงสร้างของร่างกายตั้งแต่หัวจรดปลายตีน ลูกคลำไขกระดูกและเนื้อกระดูกของตน หลับตาระลึกดูโครงสร้าง กระดูกหัว กระดูกหน้า แก้ม ปาก ต้นคอ ไหล่ ไขสันหลัง กระดูกสันหลัง ท่อนแขน
เมื่อสำรวจตรวจสอบกระดูกทุกข้อของเราด้วยการส่งความรู้สึกลึก ๆ ลงไปภายในกายได้ดังนี้ ก็จงพยายามให้เกิดความชัดเจนกระจ่างชัดภายในโครงสร้างกระดูก ตรวจสอบไปมา ก็คือ ตรวจขึ้น แล้วก็ตรวจลง ตอนนี้ต้องไม่ปรากฏอารมณ์ใด ๆ นอกจากการตรวจสอบโครงสร้างและกระดูกภายในตนเท่านั้น ไร้ความคิดสิ้นความรู้สึก นึกแต่เพียงโครงกระดูกภายในกายตน
ความหมายของประโยคที่ว่า "ไร้ความคิด สิ้นความรู้สึก" เป็นเรื่องราวของการจัดระบบและระเบียบแห่งโครงสร้างของตน มันจะเป็นวิธีหนึ่งใน 3 ศักดิ์สิทธิ์ คือ การทำกายให้ศักดิ์สิทธิ์ขั้นพื้นฐาน…… พยายามทำให้เกิดความกระจ่างชัด ระลึกรู้ถึงโครงสร้างกระดูกภายในกายให้ได้ทุกข้อ ถ้ารู้สึกว่าหัวนึกถึงยาก ก็ให้นึกถึงมือก่อนก็ได้ กระดูกมือ กระดูกแขน กระดูกซี่โครง หรือกระดูกสันหลัง
คนที่มีจิตวิญญาณ กายกับใจผนึกแนบแน่นรวมกันเป็นหนึ่งแล้ว เสียงและความรู้สึกใด ๆ จะไม่ปรากฏขึ้น เมื่อทำได้อย่างนี้ โบราณเขาเรียกว่า "ตบะ" แปลว่า พลังอันศักดิ์สิทธิ์ ไม่ต้องคิดอะไร ไม่ต้องนึกถึงธรรมะ พุทโธ ธัมโม สังโฆใด ๆ นึกแต่ "กายในกาย" สำรวจเพียงแค่โครงสร้างและกระดูกของตนเท่านั้นพอ อย่างที่หลวงปู่เคยเขียนบทโศลกบอกไว้ว่า
"ลูกรัก ถ้าเจ้าต้องการสมาธิ พบพระพุทธเจ้าต้องฆ่าทิ้ง"
เห็นพระธรรมต้องเผาทิ้ง เจอพระสงฆ์ต้องหนีให้ไกล"
เพราะเมื่อใดที่เราไปใส่ใจยุ่งกับสิ่งที่ปรากฏในขณะที่เราต้องการสันติสุขและความสงบ นั่นมันกำลังจะดึงเราออกไปนอกกาย สมาธิจิตและพลังทั้งหลายจะสูญเสียไปกับการได้นึกถึงพระพุทธเจ้า คิดถึงพระธรรม น้อมนำถึงพระสงฆ์อย่างนั้นมันก็ไม่ใช่เป็นตัวเรา ไม่ใช่เป็นของของเรา ไม่ใช่เป็นกายเรา ไม่ใช่อารมณ์เรา ไม่ใช่จิตวิญญาณเรา ไม่ใช่ความรู้สึกเรา มันกลายเป็นของใครไปหมดแล้ว ความรู้สึกนึกคิดและจิตวิญญาณก็จะโลดแล่นหลุดออกไปนอกกายในทันที เพราะฉะนั้นเวลานี้ต้องไม่มีอะไรทั้งหมด นอกจากโครงสร้างภายในกายและตัวเอง
อารมณ์ที่มันจะได้ มันจะเป็นความเงียบ ๆ ถ้าสำรวจตรวจถึงโครงสร้างของตนพบ มันจะเป็นความสว่าง……ความปล่อยวางของอารมณ์ ความตึงเครียดจะหมดไป อิริยาบถจิตวิญญาณจะผ่อนคลาย ไม่ต้องภาวนาอะไร ไม่ต้องทำความรู้สึกจากอะไรมากไปกว่าการรู้เพียงแค่โครงกระดูกของตนภายในกายมีกี่ข้อ…. หากพวกเธอหัดแล้วเริ่มรู้สึกว่าใจนิ่งขึ้น ก็แสดงว่า พวกเธอเริ่มรู้จักวิธีทำให้กายศักดิ์สิทธิ์แล้ว จากนั้นก็จงหัดทำบ่อย ๆ ทำให้เป็นนิจศีล แล้วเราก็จะรู้ว่า กายของเรามีอำนาจเหนือสรรพสิ่ง
จงทำให้กายกับจิตวิญญาณและใจรวมกันเป็นหนึ่งเหมือนกับบุรุษผู้แข็งแรงแบกสายยางน้ำซึ่งไม่รั่ว ไม่หล่นไปไหน เอาไปฉีดทำลายภูเขาและหินผา ปล่อยให้น้ำมันพุ่งออกมาอย่างรุนแรง โดยไม่มีรอยรั่วจากสายยาง นั่นถือว่าเรามีพลัง อันเต็มเปี่ยม แต่ถ้าเมื่อใดที่เราปล่อยให้น้ำมันรั่วไหลออกไปจากตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัส ตามพระบาทพระศาสดา นึกถึงพระธรรมในตำราใคร่ครวญหาพระสงฆ์ แสดงว่าเราสูญสิ้นพลังไปกับการรั่วไหลนึกคิดเหล่านั้นแล้ว แล้วเราจะใช้พลังอะไรสำหรับการกำกับกาย ? คนโง่เขามักจะสอนกันอย่างนี้ไปชั่วชีวิตแหละ แล้วก็โง่กันอยู่อย่างปัจจุบันนี้ หลาย ๆ สำนักก็ทำกันอย่างนี้
วิถีทางของพระพุทธะนั้น ขอให้ลองนึกถึงธรรมชาติสิ น้ำอยู่ในตุ่มเต็ม ๆ แล้วอยู่ดี ๆ ปล่อยให้รั่วไหลออกไปตามรูเล็ก ๆ มันจะเหลือให้เราได้ใช้สักกี่วันกัน พลังคือสมาธิ และสมาธิก็คือพลัง คนมีสมาธิคือคนมีพลัง แล้วถ้าพลังมันไหลรั่วไปจากตาเห็น ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ภาวนา หรืออะไรก็ตามที แล้วจะบอกว่ามีพลังได้อย่างไร เพราะฉะนั้น คำว่าสมาธิก็คือ สภาวะแห่งพลังที่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนซึ่งมันจะมีประโยชน์ต่อเราได้ก็ต่อเมื่อมันอยู่กับเรา มันไม่ได้อยู่กับพระพุทธ ไม่ใช่อาศัยพระธรรม ไม่ใช่ฝักใฝ่อยู่กับพระสงฆ์
การที่หลวงปู่พูดเช่นนี้ ฟังดูผิวเผินเหมือนหลวงปู่เป็นกบฏ ไม่เคารพพระศาสดา แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ เพราะอารมณ์สมาธิ ก็คือสภาวะความคิดไม่แตกแยก ความรู้สึกไม่แตกแยก ความเข้าใจไม่แตกแยก มันต้องรวมกับกายนี้ นั่นคือสมาธิ แต่ถ้ามันแตกแยกออกไป มันเป็นกะทิ มันไม่ใช่สมาธิ มันใช้อะไรไม่ได้เพราะสมาธิคือ กายกับใจรวมกันเป็นกลุ่มก้อน เหมือนกับองค์กรแห่งพลังงานที่โดนกักเก็บเอาไว้ในหม้อแบตเตอรี่ ถ้าหม้อมันไม่รั่ว น้ำกลั่นมันไม่แห้ง มันใช้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
เพราะฉะนั้น ความหมายของการทำให้กายศักดิ์สิทธิ์จึงไม่ใช่เพียงแค่จัดระเบียบของกายเฉย ๆ เท่านั้น หรือทำงานให้เกิดสาระอย่างเดียว แต่มันรวมถึงการรวบรวมพลังทั้งนอกและในให้เป็นหนึ่งเดียวกับกาย คนสมัยโบราณเวลาเขาทำสมาธิ เขาจึงสามารถทนต่อทุกสภาวะได้ เขาจึงสามารถใช้พลังที่มีในการกำราบป้องกันภัยที่เกิดขึ้นรอบข้างได้….. ขอเพียงแค่เรารวบรวมกายกับใจสำรวจพิสูจน์กระดูกทุกข้อภายในกายให้ครบ เมื่อกายศักดิ์สิทธิ์ ธรรมะศักดิ์สิทธิ์จะอุบัติขึ้น จิตศักดิ์สิทธิ์ก็จะเป็นไปเอง แล้วทีนี้ลมทั้ง 7 ฐานก็จะปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า เราจะรู้จักเคล็ดวิธีของการเดินลมในฐานทั้ง 7 เทียบเท่ากลุ่มเจ็ดดาวเหนือบนท้องฟ้าในทิศเหนือ
-----------------------------------------------------------------------------
"หลวงปู่ครับ ขอความกรุณาช่วยขยายความ การสำรวจโครงสร้างกระดูกของร่างกายให้ละเอียดขึ้นกว่าเดิมด้วยเถอะครับ"
ขอให้เธอมองเป็นภาพรวม ๆ ก่อนลูก มองในภาพเหมือนกับพวกเธอที่นั่งอยู่ตรงนี้แล้วเห็นหลวงปู่เต็มตา พวกเธอจะสามารถจับภาพได้โดยไม่จำเป็นต้องไปเจาะลึกเอาแว่นขยายไปส่อง ไม่ต้องถึงขนาดนั้น แค่พื้น ๆ มองเป็นภาพรวม ๆ ของโครงสร้างก็พอ โดยเอา "ตาใน" ฉายส่องดู เหมือนสปอตไลท์ที่ไล่เก็บรายละเอียดแบบไม่ค่อยละเอียดนัก แบบหยาบ ๆ ว่า นี่คือกะโหลกศรีษะนะ มันมีรูปร่างแบบนี้นะ
ถ้าเธอยังนึกแบบนั้นไม่ได้ หลวงปู่จะสอนพระว่า ถ้านึกไม่ออก บอกไม่ได้ เพราะ "ตาใน" ยังไม่สว่างพอ นึกไม่รู้ ดูไม่เห็น ก็ให้ใช้วิธีหลับตาแล้วเอามือคลำกะโหลกศรีษะของตัวเอง แล้วใช้ความรู้สึกจับตามก็ได้ เสร็จแล้วก็เปลี่ยนจากกะโหลกศรีษะลงมาที่ต้นคอ จากต้นคอลงมาที่หัวไหล่ ไล่ลงมาเรื่อย ๆ …. ในขณะที่เรากำลังสำรวจโครงสร้างอยู่นี้ สมองของเราจะค่อย ๆ โล่ง ความคิดจะไม่ปรากฏอารมณ์มันจะไม่ปรุง เมื่อความคิดไม่ปรากฏ อารมณ์ไม่ปรุง แสดงว่า กายกับใจเรารวมกัน สมาธิมันจะเกิดตรงนั้น
บางครั้งอาการจับจ้องมองภาพภายในมันอาจจะเลือนไป อาจจะเผลอวูบไปคิดถึงเรื่องอื่น ๆ เมื่อเรารู้ตัวเราต้องหยุดหายใจทันที คือไม่หายใจเข้าและไม่หายใจออก จนกว่าร่างกายมันจะทนไม่ได้แล้วจึงเริ่มหายใจใหม่ เพราะอะไร ? เพราะธรรมชาติของกายกับใจมันมีสื่อสัมพันธ์อันแนบแน่นต่อกัน ใจจะกลับมาเพื่อดูแลระวังรักษากาย ถึงเวลานั้นเมื่อเราเลิกหายใจสิ่งที่มันหลุดออกไปก็จะกลับเข้ามามันจะมาเตือนให้เราหายใจ มิฉะนั้นเราจะตาย เราก็จะเริ่มหายใจยาว ๆ สูดเข้ายาว ๆ แบบสุภาพนิ่มนวลและอ่อนโยน เสร็จแล้วก็ค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจออกอย่างผ่อนคลาย ปล่อยวาง และหมดจด ทำอย่างนี้สัก 5 ครั้ง 10 ครั้ง พอให้ร่างกายรู้ว่าอย่าออกไปอีกนะ แล้วก็เริ่มจัดโครงสร้างใหม่ต่อ หรือเริ่มต้นใหม่ในการสำรวจโครงสร้าง โดยเธอต้องทำให้เป็นธรรมชาติที่สุด
การสำรวจร่างกายในวิชาลม 7 ฐานนั้น การนั่งถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก แต่ถ้าเราค่อยเป็นค่อยไป ทำไปทีละขั้นก็จะก้าวหน้าไปได้เอง วันนี้อาจจะสำรวจได้แค่กะโหลกศรีษะ พรุ่งนี้อาจจะได้หัวไหล่ ต้นคอ มะรืนนี้อาจจะได้หน้าอก สัปดาห์หน้าอาจจะได้ช่องท้องหรือกระดูกสันหลัง ค่อย ๆ เป็นไปอย่างนี้ ค่อย ๆ ที่จะรู้จักหน้าตาแท้ ๆ ของตัวเอง อย่างพินิจพิจารณา ไม่ใช่รู้จักแบบผิวเผิน
วิธีนั่ง หลวงปู่ชอบที่จะนั่งแบบผ่อนคลาย คือ นั่งในลักษณะสามเหลี่ยมมุมแหลม เราต้องเข้าใจหลักสรีระร่างกายของเราก่อนว่า ทวารที่ผ่อนคลายได้ดี คือทวารที่มันมีรูให้ออก เพราะมันปฏิเสธไม่ได้ว่า รักแร้ของเรามันสามารถผ่อนคลายความร้อน ความถมึงทึงและไออุ่นออกมาได้เหมือนกัน
เมื่อนั่งแล้วก็ลองโยกตัวไปข้างหลังหน่อยนึง จัดโครงสร้างย้ายไปข้างขวาหน่อยนึง ข้างซ้ายหน่อยนึง เพื่อสำรวจดูว่า กระดูกข้อใดมันบกพร่องในร่างกายแล้วเราจะรู้ว่า เราจะเป็นโรคอะไรด้วย สำรวจดูทั้งหน้าหลังซ้ายขวา เมื่อเห็นว่าทุกอย่างในกายเราไม่มีอะไรบกพร่อง คือวอร์มได้ที่แล้วก็เริ่มนั่ง ทำตัวให้ตรง ตามองลงต่ำ ทอดตาลงต่ำ แต่ไม่ใช่ก้ม คือ คอต้องไม่เสียศูนย์ อย่าเชิดคาง ตาทอดลงต่ำขนาด 90 องศา แล้วค่อย ๆ หรี่เปลือกตาลงอย่างอ่อนโยนและนิ่มนวล ไม่ใช่รีบหลับแล้วเกร็งลูกตาปี๋ จงหรี่เปลือกตาลงอย่างอ่อนโยนนิ่มนวลสุภาพ จากนั้นก็เริ่มส่งความรู้สึกสำรวจตั้งแต่โครงกระดูกของศรีษะลงมา
ถ้ากายกับใจเรารวมกันจริง ๆ เราจะรู้สึกว่าความร้อน ความง่วง ความเพลีย ความเบื่อ ความเซ็ง ความเครียด ความอึดอัดขัดเคืองมันจะพากันวิ่งออกไปจากตัวเรา มันจะคล้าย ๆ กับผู้ใหญ่ที่เข้ามาในบ้าน เด็กซน ๆ ที่กำลังเล่นอยู่ก็จะหยุดพฤติกรรมโจรขโมยที่อยู่ในบ้านก็จะวิ่งหนีออกไปจากบ้านทันที รวมความแล้วถ้ากายรวมใจจริง ๆ มลภาวะในตัวเราจะหายไปหมด มันจะออกไปทางอะไรที่เรารู้สึกได้ ออกจากตา จากหู จากจมูก จากผิวหนัง ความอุ่น ความร้อน มันจะมีความรู้สึกทันทีว่าความร้อนในกายมันจะพุ่งออกตามผิวหนัง มลภาวะของเสียทั้งหลายมันจะออกตามผิวหนัง ตามทวารทั้งหลาย แม้กระทั่งที่เส้นผมและที่หัว แต่อันนี้เป็นความรู้สึกที่ละเอียดขึ้น ผู้หัดใหม่ยังไม่ต้องสนใจ ให้สนใจแค่โครงสร้างของกายเท่านั้น
อย่าลืมนะลูก ถ้ารู้สึกว่าตัวเรากับใจมันจะแยกกันแล้ว มันเกิดความคิดขึ้นมาแล้ว ก็จงหยุดลมหายใจเสีย ถ้าไม่คิดเตือนตัวเอง ชาตินี้ก็ไม่มีใครเตือนเราได้หรอกลูก ถ้าไม่สนใจจะรู้จักหน้าตาแท้ ๆ ของตัวเอง แล้วเมื่อไหร่จะได้รู้จัก ถ้าไม่รู้จักวันนี้ รอถึงพรุ่งนี้ก็ไม่มีสิทธิ์แล้วละ เหตุผลก็เพราะ เราไม่รู้ว่ามัจจุราชจะเข้ามาถามหาและดึงเราไปเมื่อไหร่
----------------------------------------
ครั้งใดที่เรารู้สึกท้อแท้ ท้อถอย หมดเรี่ยวแรง ขัดเคือง กลัดกลุ้ม ฟุ้งซ่าน และอึดอัดรำคาญ จงกลับเช้ามาสู่บ้านของตนเสีย แล้วก็ปิดประตูหน้าต่าง อย่าปล่อยให้มารและศัตรูหรือลมพายุร้ายพัดสาดเข้ามาสู่นครกายแห่งนี้ สมัยก่อนหลวงปู่เคยเขียนสูตรไว้สูตรหนึ่งเรียกว่า "นครกาย" ในนั้นหลวงปู่บอกว่า
"ใจคือเจ้าเมือง หัวและสมอง ความรู้สึกนึกคิด คือมหาอำมาตย์
อวัยวะทั้ง 32 อย่างก็คือ ทหารดี ทหารเลว และทหารยาม"
เพราะฉะนั้นถ้าเจ้าเมืองดี มันก็จะสามารถรักษาเมืองนี้ให้อยู่รอดปลอดภัยจากข้าศึกศัตรูที่จะมาจ้องมาปล้นทำร้ายมาโจมตีได้ แต่ถ้าเจ้าเมืองอัปรีย์ กายนี้ก็จะเป็นทาสตลอดกาล
ทุกครั้งที่เรารู้สึกท้อแท้และท้อถอย จงเฝ้ามองดูตัวเอง ให้กำลังใจตัวเอง สนับสนุนส่งเสริมสถานภาพที่ตกต่ำภายในตัวเองให้ตั้งมั่นขึ้นในกาย ชั่วชีวิตของหลวงปู่ไม่เคยมีความหวัง ไม่เคยมีใครให้กำลังใจ และไม่เคยคิดจะขอกำลังใจและความหวังจากใคร ทุกอย่างมันถูกสร้างและดลบันดาลให้มันเกิดขึ้นในตัวเองตลอด เพราะฉะนั้น ข้าจึงอยู่ได้ในทุกที่ ทุกถิ่น ทุกหนทางอย่างไม่หวาดหวั่น ไม่สะดุ้งผวา ไม่วิตกกังวล ไม่เกรงกลัว และมีชีวิตอยู่อย่างเสรีภาพ เป็นตัวของตัวเอง มีอิสระ แถมมีความสุขอีกต่างหาก
หลวงปู่จึงเชื่อว่า วิถีชีวิตที่หลวงปู่ทำอยู่นี้ไม่ได้ผิดจุดประสงค์ของพระพุทธองค์ใดในโลกในจักรวาล วิถีชีวิตที่กูกำลังถ่ายทอดให้พวกมึงอยู่นี้ มันเป็นวิถีชีวิตของผู้กล้าในโลก เป็นวิถีชีวิตของนักรบผู้แกร่ง กล้า องอาจและอาจหาญ เป็นผู้สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทุกเหตุ และเป็นผู้คงดำรงไว้ซึ่งความเป็นตัวของตัวเอง มีอิสระอย่างสมบูรณ์แบบ ภาษาธิเบตเขาเรียกชีวิตอย่างนี้ว่า "ซัมบาลา" หรือ "นักรบผู้กล้า"
เราไม่ใช่กล้าที่ไปรบท้าตีท้าต่อยกับใคร แต่เรากล้าที่จะรบและสามารถที่จะชนะในจิตวิญญาณของตัวเอง
ถึงแม้หลวงปู่จะพูดไม่ไพเราะ กิริยาหยาบกระด้าง แสดงตนเหมือนกับเป็นคนที่ไร้การศึกษา ไม่มีมารยาท แต่ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น มันมาจากเหตุปัจจัยของเจตนา เพราะเคยมีคำพูดของคนที่รู้จักหลวงปู่จริง ๆ อยู่แค่สี่คนว่า ถ้าหลวงปู่เป็นตัวของตัวเองและทำอย่างที่ตัวเองเป็น นั้นหมายถึงว่า แสดงสิ่งที่ตัวเองเป็นตัวของตัวเองจริง ๆ แล้ว เทวดาอาจตกสวรรค์เพราะมันมาหลงเสน่ห์กู เพราะด้วยความรู้ความสามารถ ด้วยประสบการณ์ที่สะสมมาเนิ่นนาน และด้วยวิธีที่แสดงออกอย่างชาญฉลาด สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือทำให้เกิดเสน่ห์ ทุกคนมีสิทธิ์เป็นไม่ใช่เฉพาะหลวงปู่เท่านั้น เสน่ห์ไม่ได้มาจากการลงนะหน้าทอง ไม่ได้มาจากการแขวนพระสมเด็จ แต่มันได้มาจากความรู้ ความสามารถ และการกระทำของตัวเราเอง แต่เพราะหลวงปู่ไม่ได้ปรารถนาจะสร้างเสน่ห์ให้แก่ตัวเอง ก็เลยพยายามจะทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม พยายามจะผลักดันให้ทุกคนได้สิ่งดี ๆ ไปซึ่งสามารถจะนำไปใช้ ไม่ใช่มาหลงใหลในเสน่ห์
หากต้องการจะทำอะไรแล้วประสบความสำเร็จ ก็จงใช้ชีวิตดั่ง "น้ำ" จงทำตัวให้เป็นน้ำ ใส่ตุ่มก็เป็นรูปตุ่ม ใส่ขวดก็เป็นรูปขวด ใส่แก้วก็เป็นรูปแก้ว คนอื่นดูเราว่าอ่อนโยน อ่อนไหว แต่เราหาใช่อ่อนแอ คนอื่นดูเราว่าไม่เข้มแข็ง แต่เรามากมีไปด้วยพลังมหาศาล ภูเขา แผ่นดิน สามารถละลายได้ด้วยน้ำของเรา ด้วยตัวเรา ไม่มีอะไรที่น้ำอยู่ไม่ได้ เพราะฉะนั้นคุณสมบัติของน้ำที่วิเศษสูงสุดคือ "ความเย็น"
ถ้าเราทำตัวให้ได้ดั่งน้ำ ในที่ที่ร้อนรุ่ม เราจะสงบและเยือกเย็น ในที่ที่สับสนและวุ่นวายไร้พลังและเสถียรภาพ เราจะมากมีไปด้วยพลังอำนาจและมั่นคงในเสถียรภาพของตน ความหมายของคุณสมบัติแห่งน้ำ ถ้าน้อมนำมาใช้ในชีวิตของตนแค่นี้ก็เป็นสุขแล้ว ไม่ต้องเรียนรู้อย่างอื่นมากไปกว่านี้หรอก
เพราะฉะนั้น การมีชีวิตอยู่อย่างเสรีภาพและอิสระถือว่าเป็นสูตรสำเร็จของการได้มีลมหายใจ มีชีวิต ได้พลัง ใช้พลัง สร้างสรรค์สาระ หมดลมหายใจ ไร้ชีวิต สิ้นพลัง ขาดสาระ เราจะมีลมหายใจเป็นเจ้าของชีวิต ใช้พลังสร้างสรรค์สาระได้นั้นก็ต่อเมื่อเราต้องมีสิทธิ์อันสมบูรณ์แบบในลมหายใจ ในชีวิต ในพลัง ไม่ใช่มีบ้าง.. ไม่มีบ้าง……เผื่อว่า……อาจจะ….ใช่มั้ง….อยากจะมี……เหล่านี้ยังคุยกันคนละเรื่อง คนละภาษา ยังไม่เหมาะที่จะต้องมาร้องเรียก ร้องเรียนในเรื่องใด ๆ
คนที่บอกว่าร้องเรียน แสดงออกเพราะต้องการรักษาสิทธิ์ ก็ต้องขอถามกลับไปว่าสิทธิ์ของใคร ? สิทธิ์ของตัวเราเองหรือของผีห่าซาตานที่มาสิงสถิตอยู่ในจิตวิญญาณของเรา ถ้าเป็นสิทธิ์ของตัวเราเองล้วน ๆ นั้นมันต้องเป็นตัวเองที่ผ่านการกำจัดขยะเก่า ไม่มีขยะใหม่ ของดีที่มีอยู่แล้วทำให้ผ่องใสก็มีสิทธิ์ที่จะร้องเรียกร้องเรียนอะไรได้ เหมือนกับถังขยะที่มันเปล่า มันว่างพร้อมที่จะบรรจุขยะหรืออะไรก็ได้ ที่ใครจะใส่มันลงไป แต่ถ้ามันเต็ม แถมยังสกปรก มีฝาปิดต่างหาก หากยังหน้าด้านไปร้องเรียนเรียกร้องสิทธิ์ มันจะดูทุเรศไป มันจะไม่สมบูรณ์ แล้วมันจะกลายเป็นการประณามตัวเองในต่อหน้าและลับหลังสังคม
ดังนั้นศิลปะในการใช้ชีวิตและรู้จักชีวิต ซึมสิงเข้าใจความหมายของชีวิตอย่างนี้ มันเป็นศิลปะสูงสุดของพระศาสดา พระพุทธะ และพระเป็นเจ้า เราไม่ต้องไปถามว่าใครคือพระศาสดา ใครคือพระพุทธะ หรือใครคือพระเป็นเจ้า แต่เราต้องถามตัวเราว่าเราคือใคร และรู้จักตัวเราที่แท้จริงให้ได้ เท่านั้นก็พอแล้ว
ลำนำบูชาวิชาลม 7 ฐาน
โอม มณี ปัทเม ฮุม
โลกุตตะโร จะ มหาเถโร อะหังวันทามิ ตังสะทา
โลกุตตะโร จะ มหาเถโร อะหังวันทามิ ตังสะทา
โลกุตตะโร จะ มหาเถโร อะหังวันทามิ ตังสะทา
วิชาลม 7 ฐาน คือ การเข้าถึงธรรมอันหมายถึง ธรรมชาติแท้ของจิตวิญญาณ
วิชาลม 7 ฐาน คือ วิถีทางของการปลุกครูผู้อารีที่หลับใหลอยู่ในห้วงลึกของจิตวิญญาณให้ตื่นขึ้นมาอบรม สั่งสอน กระตุ้นเตือนผู้นั้น จนกระทั่งผู้นั้นกลายเป็นครูที่แท้จริงของตัวเองและผู้อื่นได้
วิชาลม 7 ฐาน คือ วิชาศักดิ์สิทธิ์ของคุรุผู้ศักดิ์สิทธิ์
เคล็ดวิชาลม 7 ฐาน แฝงเร้นอยู่ในข้ออรรถธรรมทั้งหลายของบรมครูหลวงปู่เทพอุดรอิสระธรรมมุนี ผู้เป็นพระมหาโพธิสัตว์เจ้า มันเป็นปริศนาในกลบทธรรม ผู้ที่จะสามารถหยั่งรู้ ถึงมันได้ ผู้นั้นจะต้องใช้ปัญญาอันนิ่งของตัวเองเท่านั้น ไม่อาจพึ่งพึงอาศัยถ้อยคำของใครที่ไหนได้
มานะ ความถือดี ความถือตัวถือตน ความเย่อหยิ่ง คือตัวกางกั้นขัดขวางปัญญาที่จะหยั่งรู้วิชาลม 7 ฐาน อันเป็นกุญแจวิเศษที่สามารถหยั่งรู้ในสรรพวิทยาทั้งปวงได้วิชาลม 7 ฐานจะตกทอดแก่ผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน พึ่งตนเองได้และทำตนให้เป็นที่พึ่งแก่ผู้อื่นได้เท่านั้น
ลำตัวตั้งตรง สายตาทอดต่ำ นั่งด้วยความผ่อนคลาย เดินลมหายใจเข้าเบา ๆ ลึก หายในออกนิ่มนวลผ่อนคลาย จนกายกับใจรวมกันเป็นหนึ่ง
ความสงบที่ได้จากกายรวมใจ เมื่อใช้สยบความวุ่นวายและอึดอัดขัดเคืองคือวิชาขันธมาร ซึ่งเป็นหนึ่งในวิชาของวิชาลม 7 ฐาน
การส่งความรู้สึกเข้าไปสำรวจโครงสร้างภายในกาย ตั้งแต่กะโหลกศรีษะเรื่อยมาจนถึงกระดูกสันหลังทุกข้อ รวมทั้งกระดูกซี่โครง แขน มือ ขา เท้า คือวิชาย้ายเส้นเอ็น ในวิชาลม 7 ฐาน เพื่อให้ลมปราณแล่นไหลไปในกระดูก ทำให้ร่างกายโล่งโปร่งเบาสบาย
วิชาลม 7 ฐาน คืออาวุธใน การขับไล่มารซาตานมิให้มามีอำนาจครอบงำตัวเราได้อย่างเด็ดขาด อย่างเด็ดเดี่ยว อย่างผู้รู้ ผู้ตื่น ซึ่งทำให้จิตวิญญาณของเราเข้าถึงความเบิกบานได้
วิชาลม 7 ฐาน ให้ความสำคัญในสมาธิมากกว่าอภิญญา เพราะอภิญญาเปรียบเหมือนละอองฝน ส่วนสมาธิเปรียบเหมือนน้ำฝน ซึ่งยังประโยชน์ให้แก่เรามากกว่าละอองฝนมากนัก
สมาธิของวิชาลม 7 ฐาน สามารถทำได้ทุกขณะ ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ไม่จำเป็นต้องหาวิเวกหรือเวลาที่ปราศจากการงานใด ๆ ทั้งสิ้น จึงเป็นสมาธิแบบวิถีของธรรมชาติ เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วใช้จิตพิจารณาความจริงของขันธ์ 5 อันไม่เที่ยงแล้วในที่สุดเมื่อจิตจะเกิดปัญญาญาณทำให้ละวางและเข้าหาความหลุดพ้นได้ การละวางและมีดวงตาเห็นธรรมจึงเกิดจากปัญญาที่ได้จากจิตที่สงบ ปราศจากอารมณ์ปรุงแต่ง มิใช่ได้จากผลแห่งอภิญญาหรือสมถะกัมมัฏฐานอันเป็นช่องทางที่เล็กและแคบเท่ารูเข็ม
วิชาลม 7 ฐาน คือ การฝึกรวมกายกับใจให้เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งจะทำให้ผู้นั้นพ้นจากสภาวะปรุงแต่งของอารมณ์ ทำให้มีพลังและเข้าถึงแหล่งแห่งพลังอันไม่มีวันสิ้นสุดได้
จิตกับกายที่รวมกันจะทำให้ผู้นั้นเป็นผู้ชนะต่อสรรพสิ่ง เราไม่จำเป็นต้องคอยเวลารวมใจกับกายให้เป็นหนึ่งเดียวในตอนเย็นหรือตอนเช้า แต่เราควรจะรวมกายกับจิตให้เป็นหนึ่งได้ทุกเวลาที่มีโอกาสที่จะทำ และนำพลังนั้นไปสร้างสรรค์กิจกรรมอันมีประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ
การฝึกจิตให้รวมกับกายเป็นหนึ่งเดียวจะทำให้เกิด 3 ศักดิ์สิทธิ์ คือ กายศักดิ์สิทธิ์ ธรรมศักดิ์สิทธิ์ และจิตศักดิ์สิทธิ์
วิชาลม 7 ฐาน จึงเป็นสุดยอดวิชาของพระโพธิสัตว์ และเป็นวิชาที่แท้จริงที่จะทำให้ผู้นั้นเป็นพระพุทธะได้ เพราะเคล็ดสุดยอดของสมาธิแบบพระพุทธเจ้าคือกายรวมกับใจ
วิชาลม 7 ฐานนี้เป็นวิชาหนึ่งที่สมเด็จพระสัมาสัมพุทธเจ้าทรงถ่ายทดให้พระมหากัสสปะและเป็นวิชาเดียวที่พระองค์ทรงยอมรับว่า กัสสปะ เธอมีธรรมอันเสมอเรา แต่วิชานี้ไม่ค่อยปรากฏในตำราเล่มใด ๆ และก็ไม่เคยปรากฏในคำสอนของศาสดา ลัทธิศาสนา หรือคำสอนของเกจิอาจารย์องค์ไหน ๆ เพราะวิชาลม 7 ฐานนี้เป็นเรื่องของการถ่ายทอดกันจากจิตสู่จิต วิญญาณสู่วิญญาณ กายสู่กาย
ข้าพเจ้า (สุวินัย) มีบุญเหลือเกิน ที่สามารถ "ตาสว่าง" จนหยั่งรู้ในเคล็ดการฝึกวิชาลม 7 ฐาน อย่างกระจ่างแจ้งได้ด้วยตนเอง ในขณะที่กำลังนั่งสมาธิปฏิบัติธรรมอยู่ที่ถ้ำแก้วมังกรทอง (ถ้ำไก่หล่น) ร่วมกับศิษย์สำนักยุทธธรรมและชาวชมรมมังกรธรรม ในตอนบ่ายของวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 1999 ภายหลังจากที่ข้าพเจ้าได้อธิษฐานจิตต่อหน้าเจดีย์เบญจมหาโพธิสัตว์คนเดียวในตอนบ่ายวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1999 เพื่อขอพรและมหากรุณาจากมหาโพธิสัตว์ทั้งห้าให้ข้าพเจ้าสามารถกระจ่างแจ้งในวิชาลม 7 ฐานได้
ไม่มีพรอันใดประเสริฐสุดเท่ากับการรู้แจ้ง ข้าพเจ้าผู้เป็นศิษย์ของบรมครูหลวงปู่เทพอุดรอิสระธรรมมุนี ขอน้อมกราบลง ณ เบื้องบาทแห่งพระพุทธในความเมตตาอย่างเหลือล้นประมาณที่ให้แก่ "ผู้แสวงธรรม" อย่างผู้น้อยเช่น ข้าพเจ้า
อิติปิโส ภะคะวา
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
"ใจคือเจ้าเมือง หัวและสมอง ความรู้สึกนึกคิด คือมหาอำมาตย์
อวัยวะทั้ง 32 อย่างก็คือ ทหารดี ทหารเลว และทหารยาม"
เพราะฉะนั้นถ้าเจ้าเมืองดี มันก็จะสามารถรักษาเมืองนี้ให้อยู่รอดปลอดภัยจากข้าศึกศัตรูที่จะมาจ้องมาปล้นทำร้ายมาโจมตีได้ แต่ถ้าเจ้าเมืองอัปรีย์ กายนี้ก็จะเป็นทาสตลอดกาล
ทุกครั้งที่เรารู้สึกท้อแท้และท้อถอย จงเฝ้ามองดูตัวเอง ให้กำลังใจตัวเอง สนับสนุนส่งเสริมสถานภาพที่ตกต่ำภายในตัวเองให้ตั้งมั่นขึ้นในกาย ชั่วชีวิตของหลวงปู่ไม่เคยมีความหวัง ไม่เคยมีใครให้กำลังใจ และไม่เคยคิดจะขอกำลังใจและความหวังจากใคร ทุกอย่างมันถูกสร้างและดลบันดาลให้มันเกิดขึ้นในตัวเองตลอด เพราะฉะนั้น ข้าจึงอยู่ได้ในทุกที่ ทุกถิ่น ทุกหนทางอย่างไม่หวาดหวั่น ไม่สะดุ้งผวา ไม่วิตกกังวล ไม่เกรงกลัว และมีชีวิตอยู่อย่างเสรีภาพ เป็นตัวของตัวเอง มีอิสระ แถมมีความสุขอีกต่างหาก
หลวงปู่จึงเชื่อว่า วิถีชีวิตที่หลวงปู่ทำอยู่นี้ไม่ได้ผิดจุดประสงค์ของพระพุทธองค์ใดในโลกในจักรวาล วิถีชีวิตที่กูกำลังถ่ายทอดให้พวกมึงอยู่นี้ มันเป็นวิถีชีวิตของผู้กล้าในโลก เป็นวิถีชีวิตของนักรบผู้แกร่ง กล้า องอาจและอาจหาญ เป็นผู้สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทุกเหตุ และเป็นผู้คงดำรงไว้ซึ่งความเป็นตัวของตัวเอง มีอิสระอย่างสมบูรณ์แบบ ภาษาธิเบตเขาเรียกชีวิตอย่างนี้ว่า "ซัมบาลา" หรือ "นักรบผู้กล้า"
เราไม่ใช่กล้าที่ไปรบท้าตีท้าต่อยกับใคร แต่เรากล้าที่จะรบและสามารถที่จะชนะในจิตวิญญาณของตัวเอง
ถึงแม้หลวงปู่จะพูดไม่ไพเราะ กิริยาหยาบกระด้าง แสดงตนเหมือนกับเป็นคนที่ไร้การศึกษา ไม่มีมารยาท แต่ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น มันมาจากเหตุปัจจัยของเจตนา เพราะเคยมีคำพูดของคนที่รู้จักหลวงปู่จริง ๆ อยู่แค่สี่คนว่า ถ้าหลวงปู่เป็นตัวของตัวเองและทำอย่างที่ตัวเองเป็น นั้นหมายถึงว่า แสดงสิ่งที่ตัวเองเป็นตัวของตัวเองจริง ๆ แล้ว เทวดาอาจตกสวรรค์เพราะมันมาหลงเสน่ห์กู เพราะด้วยความรู้ความสามารถ ด้วยประสบการณ์ที่สะสมมาเนิ่นนาน และด้วยวิธีที่แสดงออกอย่างชาญฉลาด สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือทำให้เกิดเสน่ห์ ทุกคนมีสิทธิ์เป็นไม่ใช่เฉพาะหลวงปู่เท่านั้น เสน่ห์ไม่ได้มาจากการลงนะหน้าทอง ไม่ได้มาจากการแขวนพระสมเด็จ แต่มันได้มาจากความรู้ ความสามารถ และการกระทำของตัวเราเอง แต่เพราะหลวงปู่ไม่ได้ปรารถนาจะสร้างเสน่ห์ให้แก่ตัวเอง ก็เลยพยายามจะทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม พยายามจะผลักดันให้ทุกคนได้สิ่งดี ๆ ไปซึ่งสามารถจะนำไปใช้ ไม่ใช่มาหลงใหลในเสน่ห์
หากต้องการจะทำอะไรแล้วประสบความสำเร็จ ก็จงใช้ชีวิตดั่ง "น้ำ" จงทำตัวให้เป็นน้ำ ใส่ตุ่มก็เป็นรูปตุ่ม ใส่ขวดก็เป็นรูปขวด ใส่แก้วก็เป็นรูปแก้ว คนอื่นดูเราว่าอ่อนโยน อ่อนไหว แต่เราหาใช่อ่อนแอ คนอื่นดูเราว่าไม่เข้มแข็ง แต่เรามากมีไปด้วยพลังมหาศาล ภูเขา แผ่นดิน สามารถละลายได้ด้วยน้ำของเรา ด้วยตัวเรา ไม่มีอะไรที่น้ำอยู่ไม่ได้ เพราะฉะนั้นคุณสมบัติของน้ำที่วิเศษสูงสุดคือ "ความเย็น"
ถ้าเราทำตัวให้ได้ดั่งน้ำ ในที่ที่ร้อนรุ่ม เราจะสงบและเยือกเย็น ในที่ที่สับสนและวุ่นวายไร้พลังและเสถียรภาพ เราจะมากมีไปด้วยพลังอำนาจและมั่นคงในเสถียรภาพของตน ความหมายของคุณสมบัติแห่งน้ำ ถ้าน้อมนำมาใช้ในชีวิตของตนแค่นี้ก็เป็นสุขแล้ว ไม่ต้องเรียนรู้อย่างอื่นมากไปกว่านี้หรอก
เพราะฉะนั้น การมีชีวิตอยู่อย่างเสรีภาพและอิสระถือว่าเป็นสูตรสำเร็จของการได้มีลมหายใจ มีชีวิต ได้พลัง ใช้พลัง สร้างสรรค์สาระ หมดลมหายใจ ไร้ชีวิต สิ้นพลัง ขาดสาระ เราจะมีลมหายใจเป็นเจ้าของชีวิต ใช้พลังสร้างสรรค์สาระได้นั้นก็ต่อเมื่อเราต้องมีสิทธิ์อันสมบูรณ์แบบในลมหายใจ ในชีวิต ในพลัง ไม่ใช่มีบ้าง.. ไม่มีบ้าง……เผื่อว่า……อาจจะ….ใช่มั้ง….อยากจะมี……เหล่านี้ยังคุยกันคนละเรื่อง คนละภาษา ยังไม่เหมาะที่จะต้องมาร้องเรียก ร้องเรียนในเรื่องใด ๆ
คนที่บอกว่าร้องเรียน แสดงออกเพราะต้องการรักษาสิทธิ์ ก็ต้องขอถามกลับไปว่าสิทธิ์ของใคร ? สิทธิ์ของตัวเราเองหรือของผีห่าซาตานที่มาสิงสถิตอยู่ในจิตวิญญาณของเรา ถ้าเป็นสิทธิ์ของตัวเราเองล้วน ๆ นั้นมันต้องเป็นตัวเองที่ผ่านการกำจัดขยะเก่า ไม่มีขยะใหม่ ของดีที่มีอยู่แล้วทำให้ผ่องใสก็มีสิทธิ์ที่จะร้องเรียกร้องเรียนอะไรได้ เหมือนกับถังขยะที่มันเปล่า มันว่างพร้อมที่จะบรรจุขยะหรืออะไรก็ได้ ที่ใครจะใส่มันลงไป แต่ถ้ามันเต็ม แถมยังสกปรก มีฝาปิดต่างหาก หากยังหน้าด้านไปร้องเรียนเรียกร้องสิทธิ์ มันจะดูทุเรศไป มันจะไม่สมบูรณ์ แล้วมันจะกลายเป็นการประณามตัวเองในต่อหน้าและลับหลังสังคม
ดังนั้นศิลปะในการใช้ชีวิตและรู้จักชีวิต ซึมสิงเข้าใจความหมายของชีวิตอย่างนี้ มันเป็นศิลปะสูงสุดของพระศาสดา พระพุทธะ และพระเป็นเจ้า เราไม่ต้องไปถามว่าใครคือพระศาสดา ใครคือพระพุทธะ หรือใครคือพระเป็นเจ้า แต่เราต้องถามตัวเราว่าเราคือใคร และรู้จักตัวเราที่แท้จริงให้ได้ เท่านั้นก็พอแล้ว
ลำนำบูชาวิชาลม 7 ฐาน
โอม มณี ปัทเม ฮุม
โลกุตตะโร จะ มหาเถโร อะหังวันทามิ ตังสะทา
โลกุตตะโร จะ มหาเถโร อะหังวันทามิ ตังสะทา
โลกุตตะโร จะ มหาเถโร อะหังวันทามิ ตังสะทา
วิชาลม 7 ฐาน คือ การเข้าถึงธรรมอันหมายถึง ธรรมชาติแท้ของจิตวิญญาณ
วิชาลม 7 ฐาน คือ วิถีทางของการปลุกครูผู้อารีที่หลับใหลอยู่ในห้วงลึกของจิตวิญญาณให้ตื่นขึ้นมาอบรม สั่งสอน กระตุ้นเตือนผู้นั้น จนกระทั่งผู้นั้นกลายเป็นครูที่แท้จริงของตัวเองและผู้อื่นได้
วิชาลม 7 ฐาน คือ วิชาศักดิ์สิทธิ์ของคุรุผู้ศักดิ์สิทธิ์
เคล็ดวิชาลม 7 ฐาน แฝงเร้นอยู่ในข้ออรรถธรรมทั้งหลายของบรมครูหลวงปู่เทพอุดรอิสระธรรมมุนี ผู้เป็นพระมหาโพธิสัตว์เจ้า มันเป็นปริศนาในกลบทธรรม ผู้ที่จะสามารถหยั่งรู้ ถึงมันได้ ผู้นั้นจะต้องใช้ปัญญาอันนิ่งของตัวเองเท่านั้น ไม่อาจพึ่งพึงอาศัยถ้อยคำของใครที่ไหนได้
มานะ ความถือดี ความถือตัวถือตน ความเย่อหยิ่ง คือตัวกางกั้นขัดขวางปัญญาที่จะหยั่งรู้วิชาลม 7 ฐาน อันเป็นกุญแจวิเศษที่สามารถหยั่งรู้ในสรรพวิทยาทั้งปวงได้วิชาลม 7 ฐานจะตกทอดแก่ผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน พึ่งตนเองได้และทำตนให้เป็นที่พึ่งแก่ผู้อื่นได้เท่านั้น
ลำตัวตั้งตรง สายตาทอดต่ำ นั่งด้วยความผ่อนคลาย เดินลมหายใจเข้าเบา ๆ ลึก หายในออกนิ่มนวลผ่อนคลาย จนกายกับใจรวมกันเป็นหนึ่ง
ความสงบที่ได้จากกายรวมใจ เมื่อใช้สยบความวุ่นวายและอึดอัดขัดเคืองคือวิชาขันธมาร ซึ่งเป็นหนึ่งในวิชาของวิชาลม 7 ฐาน
การส่งความรู้สึกเข้าไปสำรวจโครงสร้างภายในกาย ตั้งแต่กะโหลกศรีษะเรื่อยมาจนถึงกระดูกสันหลังทุกข้อ รวมทั้งกระดูกซี่โครง แขน มือ ขา เท้า คือวิชาย้ายเส้นเอ็น ในวิชาลม 7 ฐาน เพื่อให้ลมปราณแล่นไหลไปในกระดูก ทำให้ร่างกายโล่งโปร่งเบาสบาย
วิชาลม 7 ฐาน คืออาวุธใน การขับไล่มารซาตานมิให้มามีอำนาจครอบงำตัวเราได้อย่างเด็ดขาด อย่างเด็ดเดี่ยว อย่างผู้รู้ ผู้ตื่น ซึ่งทำให้จิตวิญญาณของเราเข้าถึงความเบิกบานได้
วิชาลม 7 ฐาน ให้ความสำคัญในสมาธิมากกว่าอภิญญา เพราะอภิญญาเปรียบเหมือนละอองฝน ส่วนสมาธิเปรียบเหมือนน้ำฝน ซึ่งยังประโยชน์ให้แก่เรามากกว่าละอองฝนมากนัก
สมาธิของวิชาลม 7 ฐาน สามารถทำได้ทุกขณะ ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ไม่จำเป็นต้องหาวิเวกหรือเวลาที่ปราศจากการงานใด ๆ ทั้งสิ้น จึงเป็นสมาธิแบบวิถีของธรรมชาติ เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วใช้จิตพิจารณาความจริงของขันธ์ 5 อันไม่เที่ยงแล้วในที่สุดเมื่อจิตจะเกิดปัญญาญาณทำให้ละวางและเข้าหาความหลุดพ้นได้ การละวางและมีดวงตาเห็นธรรมจึงเกิดจากปัญญาที่ได้จากจิตที่สงบ ปราศจากอารมณ์ปรุงแต่ง มิใช่ได้จากผลแห่งอภิญญาหรือสมถะกัมมัฏฐานอันเป็นช่องทางที่เล็กและแคบเท่ารูเข็ม
วิชาลม 7 ฐาน คือ การฝึกรวมกายกับใจให้เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งจะทำให้ผู้นั้นพ้นจากสภาวะปรุงแต่งของอารมณ์ ทำให้มีพลังและเข้าถึงแหล่งแห่งพลังอันไม่มีวันสิ้นสุดได้
จิตกับกายที่รวมกันจะทำให้ผู้นั้นเป็นผู้ชนะต่อสรรพสิ่ง เราไม่จำเป็นต้องคอยเวลารวมใจกับกายให้เป็นหนึ่งเดียวในตอนเย็นหรือตอนเช้า แต่เราควรจะรวมกายกับจิตให้เป็นหนึ่งได้ทุกเวลาที่มีโอกาสที่จะทำ และนำพลังนั้นไปสร้างสรรค์กิจกรรมอันมีประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ
การฝึกจิตให้รวมกับกายเป็นหนึ่งเดียวจะทำให้เกิด 3 ศักดิ์สิทธิ์ คือ กายศักดิ์สิทธิ์ ธรรมศักดิ์สิทธิ์ และจิตศักดิ์สิทธิ์
วิชาลม 7 ฐาน จึงเป็นสุดยอดวิชาของพระโพธิสัตว์ และเป็นวิชาที่แท้จริงที่จะทำให้ผู้นั้นเป็นพระพุทธะได้ เพราะเคล็ดสุดยอดของสมาธิแบบพระพุทธเจ้าคือกายรวมกับใจ
วิชาลม 7 ฐานนี้เป็นวิชาหนึ่งที่สมเด็จพระสัมาสัมพุทธเจ้าทรงถ่ายทดให้พระมหากัสสปะและเป็นวิชาเดียวที่พระองค์ทรงยอมรับว่า กัสสปะ เธอมีธรรมอันเสมอเรา แต่วิชานี้ไม่ค่อยปรากฏในตำราเล่มใด ๆ และก็ไม่เคยปรากฏในคำสอนของศาสดา ลัทธิศาสนา หรือคำสอนของเกจิอาจารย์องค์ไหน ๆ เพราะวิชาลม 7 ฐานนี้เป็นเรื่องของการถ่ายทอดกันจากจิตสู่จิต วิญญาณสู่วิญญาณ กายสู่กาย
ข้าพเจ้า (สุวินัย) มีบุญเหลือเกิน ที่สามารถ "ตาสว่าง" จนหยั่งรู้ในเคล็ดการฝึกวิชาลม 7 ฐาน อย่างกระจ่างแจ้งได้ด้วยตนเอง ในขณะที่กำลังนั่งสมาธิปฏิบัติธรรมอยู่ที่ถ้ำแก้วมังกรทอง (ถ้ำไก่หล่น) ร่วมกับศิษย์สำนักยุทธธรรมและชาวชมรมมังกรธรรม ในตอนบ่ายของวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 1999 ภายหลังจากที่ข้าพเจ้าได้อธิษฐานจิตต่อหน้าเจดีย์เบญจมหาโพธิสัตว์คนเดียวในตอนบ่ายวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1999 เพื่อขอพรและมหากรุณาจากมหาโพธิสัตว์ทั้งห้าให้ข้าพเจ้าสามารถกระจ่างแจ้งในวิชาลม 7 ฐานได้
ไม่มีพรอันใดประเสริฐสุดเท่ากับการรู้แจ้ง ข้าพเจ้าผู้เป็นศิษย์ของบรมครูหลวงปู่เทพอุดรอิสระธรรมมุนี ขอน้อมกราบลง ณ เบื้องบาทแห่งพระพุทธในความเมตตาอย่างเหลือล้นประมาณที่ให้แก่ "ผู้แสวงธรรม" อย่างผู้น้อยเช่น ข้าพเจ้า
อิติปิโส ภะคะวา
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
"ชั่วชีวิตหลวงปู่ เวลาจะเรียนรู้เรื่องอะไร หลวงปู่ต้องทำความเข้าใจถึงคนที่จะให้เราเรียนด้วยว่า เขาต้องการอะไรจากเรา แล้วสิ่งที่เราเรียนมันก็ทำให้เรารู้จริงจนแจ่มแจ้ง ไม่ใช่รู้จำแล้วทำไม่ได้"
หลวงปู่พุทธะอิสระ
หลวงปู่พุทธะอิสระ
หลวงปู่ : วิชาลม 7 ฐานเป็นสุดยอดวิชาของพระโพธิสัตว์
เท่าที่ตัวผมได้ค้นคว้ามาในช่วงหกปีมานี้ "หลวงปู่" ได้ถ่ายทอดเคล็ดวิชาลม 7 ฐานให้แก่ลูกหลานเพียง 2 ครั้งเท่านั้น ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2536 ครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2540 ระหว่างที่พวกผมไปบวชชีพราหมณ์ที่ถ้ำไก่หล่น เนื่องจากวิชาลม 7 ฐานนี้เป็นวิชาศักดิ์สิทธิ์ ท่านคงเลือกถ่ายทอดในบรรยากาศศักดิ์สิทธิ์ ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และตัวผู้รับก็อยู่ในสภาวะ กาย-จิตศักดิ์สิทธ์ หรือในสภาวะ "ผู้บวช "เท่านั้น เพราะฉะนั้นการถ่ายทอดวิชาลม 7 ฐานของ "หลวงปู่" จึงมีความหมายยิ่งในแต่ละครั้ง หาก "หลวงปู่" จะไปจากพวกเราจริงในปี พ.ศ.2542 ตามที่ผมได้รับทราบจากมาจากศิษย์ผู้ใกล้ชิด บางทีการถ่ายทอดเคล็ดวิชาลม 7 ฐาน ให้แก่พวกผมตอนปลายปี พ.ศ. 2540 อาจจะเป็นครั้งสุดท้ายก็เป็นได้ ดังนั้นผมขอถอดเทปการถ่ายทอดเคล็ดวิชาลม 7 ฐานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2536 มาลงในที่นี้อย่างละเอียด เพื่อให้เป็นหลักฐานสมบูณ์ที่มีค่ายิ่งสำหรับอนุชนคนรุ่นหลังที่คงไม่ได้มีโอกาสสัมผัสใกล้ชิดกับ "หลวงปู่" เหมือนพวกผม….
"หลวงปู่"ได้ถ่ายทอดดังนี้
(1) "ปราชญ์โบราณเขาบอกว่าตื่นเช้าขึ้นมา คนที่มีความคิดก้าวไกล ผู้นำที่ยิ่งใหญ่และผู้ที่มีปัญญาฉลาดหลักแหลมผ่องใส เขาจะมีวิธีการเจริญปัญญา ทำให้สมองแจ่มใสและใช้งานได้สมบูรณ์ตลอดทั้งวัน… ตื่นเช้าขึ้นมาต้องเช้าๆนะ ไม่ใช่เช้าแก่ๆ ยังไม่เห็นแสงอาทิตย์ มีแต่แสงสว่างแต่ยังไม่มีแสงอาทิตย์ ให้เงยหน้ามองไปในท้องฟ้า แล้วก็ปล่อยความคิด จิตวิญญาณให้เปิดกว้างไกล ใช้สายตาสำรวจองศาในการมองให้ครบ 180 องศา นั่นคือ เปิดตาให้มองกว้าง รับสัมผัสเสียงทั้งหมดที่มีอยู่รอบๆกายให้ครบทุกชนิด สูดกลิ่นรอบๆกายที่มีอยู่รอบๆให้ครบทุกอย่างครบถ้วน ผิวหนังเปิดกว้างรับสัมผัสกลิ่นไอของธรรมชาติและบรรยากาศรอบๆ ทำให้อวัยวะทั้งหลายตื่นตัว ตื่นตน เตรียมที่จะเป็นคนที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่นใน 24 ชั่วโมงข้างหน้า เมื่อฝึกอย่างนี้ทุกๆวัน นั่นคือ คุณสมบัติของผู้นำ ผู้ยิ่งใหญ่ มันจะสั่งสอน สั่งสม อบรมสมอง และเซลล์ประสาททั้งหลายให้ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ และเตรียมการที่จะทำงานหนักในเวลาต่อไป เหมือนกับเราติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้เพื่อจะให้มันสูบฉีดน้ำมันไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์จนเห็นว่าพอสมควรแก่เวลา เราก็เดินเครื่องยนต์ทำงาน มันจะไปได้อย่างนิ่มนวลคล่องแคล่วแล้วก็กระฉับกระเฉง….."
ขยายความ…….หากจำได้ว่าในปี พ.ศ. 2540 "หลวงปู่" ได้สอนพวกผมว่า วิชาลม 7 ฐานหมายถึง ศิลปะในการดำรงชีวิต สิ่งที่หลวงปู่ถ่ายทอดข้างต้นก็คือ สำเนียกรับทราบแบบมีศิลปะ ดูแบบมีศิลปะ ฟังแบบมีศิลปะ และสัมผัสซึมสิงแบบมีศิลปะอันเป็นฐานขั้นต่อๆ ไปจากการหายใจอย่างมีศิลปะซึ่งเป็นฐานที่ 1 ของลม 7 ฐาน นั่นเอง!! "หลวงปู่" ท่านกล่าวไว้ชัดเจนว่า แต่ละเช้าในช่วงที่ไม่ใช่เช้ามืด คือพอเห็นแสงสว่างแต่ยังไม่เห็นแสงอาทิตย์ ให้เราเงยหน้ามองขึ้นไปในท้องฟ้า ปล่อยความคิด ความรู้สึกให้เปิดกว้างไกล ใช้สายตาสำรวจไปโดยรอบ มองให้กว้าง รับฟังเสียงต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบกายให้ครบถ้วน สูดกลิ่นรอบ ๆ กายให้ครบทุกอย่าง หายใจด้วยผิวหนังจนมันสัมผัสซึมสิงกลิ่นไอของธรรมชาติและบรรยากาศรอบ ๆ ได้หมด "หลวงปู่" บอกว่าวิธีการข้างต้นนี้จะทำให้ตัวเราพร้อมที่จะเป็น "พุทธะ" ตลอดทั้งวันของวันนั้นได้ ดุจการติดเครื่องยนต์เพื่อเตรียมให้มันใช้งานหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดวันนั้น ท่านยังบอกว่านี่แหละคือ เคล็ดในการดำรงชีวิตของ "มหาบุรุษ" ฐานที่ 1 ของลม 7 ฐาน เราต้องฝึกทุกครั้งที่คิดถึงมันด้วยการหายใจแบบโกลัมปะ แต่ฐานอื่น ๆ อย่างน้อยอีก 4 ฐานของลม 7 ฐาน ควรฝึกทุกเช้าในเวลาเช้าตรู่ ตามเคล็ดข้างต้น
(2) "เมื่อเรายืนสัมผัสต่อกลิ่นไอเรียบร้อยแล้ว เธอจงยกแข้งยกขาแบบชนิดที่มีจิตใจกำกับควบคุมในการยก ควบคุมพลังที่หมุนเวียนไปตามกระบวนการของการเคลื่อนไหวแขนขาที่สบาย ๆ บางเบา สดชื่นโปร่งโล่ง พร้อมกับการสูดลมหายใจอย่างยาว นิ่มนวลแล้วก็หนักแน่น แล้วจึงพ่นลมออกมายาว ๆ อย่างอ่อนโยน แผ่วเบาเป็นรสชาติ กลิ่นไอแห่งธรรมชาติที่เราได้ดื่มด่ำ ลิ้มรสมันอย่างที่บางคนอาจจะคิดว่า เราไม่เคยได้รับสัมผัสกลิ่นไอแบบนี้มาก่อน แล้วเราก็จะเกิดประสบการณ์ทางจิตวิญญาณของเราที่มีลักษณะเฉพาะตนซึ่งแต่ละคนไม่เหมือนกัน………."
ขยายความ……….หลวงปู่บอกว่า หลักจากที่ยืนสัมผัสกลิ่นไอเสร็จแล้ว ให้ขับเคลื่อนลมปราณพร้อมกับเคลื่อนไหวร่างกายอย่างผ่อนคลาย เบาสบาย สดชื่นโปร่งโล่งขณะเดียวกันก็ให้ฝึกฐานที่ 1 ของลม 7 ฐาน หรือหายใจแบบโกลัมปะ ถ้าเป็นฆราวาสอย่างตัวผม ผมคงให้การร่ายรำมวยไท้เก๊กของผมบรรลุเคล็ดวิชาในข้อนี้ของหลวงปู่ หากผู้ใดหัดหทะโยคะมาก็น่าจะใช้ท่า "สุริยนมัสการ" บรรลุเคล็ดวิชาในข้อนี้ได้เหมือนกัน หลวงปู่ยังบอกอีกว่า หากได้ทำเช่นนี้แล้วผู้นั้นจะเกิด "ประสบการณ์ ทางจิตวิญญาณ" ที่มีลักษณะเฉพาะตนของคนผู้นั้นด้วย
(3) "มันเป็นประสบการณ์ของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จงสูดลมหายใจเข้าลึก ๆ ยาว ๆ ให้เต็มปอด แล้วผ่อนลมออกมาอย่างแผ่วเบา ยาว ๆ นิ่มนวลสักหลาย ๆ ครั้งเท่าที่เราสามารถทำได้ ลองสำเนียกดูซิว่าตัวเองมีอารมณ์อะไรลึก ๆ ตรงนี้บ้าง ถ้ายังมีคนอื่นไม่ว่าจะเป็นลูก เมีย ผัว บ้าน ญาติ พ่อ แม่ เพื่อน อยู่ในหัวใจรวมทั้งการงานให้โยนมันทิ้งไป เหลือไว้แต่ตัวเราล้วน ๆ ผู้มีอารมณ์อันสดใส แช่มชื่น เบิกบาน แล้วเราจะรู้ว่า กลิ่นอายของธรรมชาติช่างเป็นการเสริมสร้างชีวิตวิญญาณของเราให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่นได้อย่างเยี่ยมยอด บรรยากาศของธรรมชาติช่างเป็นความเร่งเร้าไฟในร่างกายของเราให้ลุกกระพือ เพื่ออยากจะได้ทำกิจกรรมยามเช้าอันสดชื่นต่อไปอย่างชนิดไม่คิดเหนื่อย เมื่อย เบื่อ เซ็ง…………"
เท่าที่ตัวผมได้ค้นคว้ามาในช่วงหกปีมานี้ "หลวงปู่" ได้ถ่ายทอดเคล็ดวิชาลม 7 ฐานให้แก่ลูกหลานเพียง 2 ครั้งเท่านั้น ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2536 ครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2540 ระหว่างที่พวกผมไปบวชชีพราหมณ์ที่ถ้ำไก่หล่น เนื่องจากวิชาลม 7 ฐานนี้เป็นวิชาศักดิ์สิทธิ์ ท่านคงเลือกถ่ายทอดในบรรยากาศศักดิ์สิทธิ์ ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และตัวผู้รับก็อยู่ในสภาวะ กาย-จิตศักดิ์สิทธ์ หรือในสภาวะ "ผู้บวช "เท่านั้น เพราะฉะนั้นการถ่ายทอดวิชาลม 7 ฐานของ "หลวงปู่" จึงมีความหมายยิ่งในแต่ละครั้ง หาก "หลวงปู่" จะไปจากพวกเราจริงในปี พ.ศ.2542 ตามที่ผมได้รับทราบจากมาจากศิษย์ผู้ใกล้ชิด บางทีการถ่ายทอดเคล็ดวิชาลม 7 ฐาน ให้แก่พวกผมตอนปลายปี พ.ศ. 2540 อาจจะเป็นครั้งสุดท้ายก็เป็นได้ ดังนั้นผมขอถอดเทปการถ่ายทอดเคล็ดวิชาลม 7 ฐานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2536 มาลงในที่นี้อย่างละเอียด เพื่อให้เป็นหลักฐานสมบูณ์ที่มีค่ายิ่งสำหรับอนุชนคนรุ่นหลังที่คงไม่ได้มีโอกาสสัมผัสใกล้ชิดกับ "หลวงปู่" เหมือนพวกผม….
"หลวงปู่"ได้ถ่ายทอดดังนี้
(1) "ปราชญ์โบราณเขาบอกว่าตื่นเช้าขึ้นมา คนที่มีความคิดก้าวไกล ผู้นำที่ยิ่งใหญ่และผู้ที่มีปัญญาฉลาดหลักแหลมผ่องใส เขาจะมีวิธีการเจริญปัญญา ทำให้สมองแจ่มใสและใช้งานได้สมบูรณ์ตลอดทั้งวัน… ตื่นเช้าขึ้นมาต้องเช้าๆนะ ไม่ใช่เช้าแก่ๆ ยังไม่เห็นแสงอาทิตย์ มีแต่แสงสว่างแต่ยังไม่มีแสงอาทิตย์ ให้เงยหน้ามองไปในท้องฟ้า แล้วก็ปล่อยความคิด จิตวิญญาณให้เปิดกว้างไกล ใช้สายตาสำรวจองศาในการมองให้ครบ 180 องศา นั่นคือ เปิดตาให้มองกว้าง รับสัมผัสเสียงทั้งหมดที่มีอยู่รอบๆกายให้ครบทุกชนิด สูดกลิ่นรอบๆกายที่มีอยู่รอบๆให้ครบทุกอย่างครบถ้วน ผิวหนังเปิดกว้างรับสัมผัสกลิ่นไอของธรรมชาติและบรรยากาศรอบๆ ทำให้อวัยวะทั้งหลายตื่นตัว ตื่นตน เตรียมที่จะเป็นคนที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่นใน 24 ชั่วโมงข้างหน้า เมื่อฝึกอย่างนี้ทุกๆวัน นั่นคือ คุณสมบัติของผู้นำ ผู้ยิ่งใหญ่ มันจะสั่งสอน สั่งสม อบรมสมอง และเซลล์ประสาททั้งหลายให้ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ และเตรียมการที่จะทำงานหนักในเวลาต่อไป เหมือนกับเราติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้เพื่อจะให้มันสูบฉีดน้ำมันไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์จนเห็นว่าพอสมควรแก่เวลา เราก็เดินเครื่องยนต์ทำงาน มันจะไปได้อย่างนิ่มนวลคล่องแคล่วแล้วก็กระฉับกระเฉง….."
ขยายความ…….หากจำได้ว่าในปี พ.ศ. 2540 "หลวงปู่" ได้สอนพวกผมว่า วิชาลม 7 ฐานหมายถึง ศิลปะในการดำรงชีวิต สิ่งที่หลวงปู่ถ่ายทอดข้างต้นก็คือ สำเนียกรับทราบแบบมีศิลปะ ดูแบบมีศิลปะ ฟังแบบมีศิลปะ และสัมผัสซึมสิงแบบมีศิลปะอันเป็นฐานขั้นต่อๆ ไปจากการหายใจอย่างมีศิลปะซึ่งเป็นฐานที่ 1 ของลม 7 ฐาน นั่นเอง!! "หลวงปู่" ท่านกล่าวไว้ชัดเจนว่า แต่ละเช้าในช่วงที่ไม่ใช่เช้ามืด คือพอเห็นแสงสว่างแต่ยังไม่เห็นแสงอาทิตย์ ให้เราเงยหน้ามองขึ้นไปในท้องฟ้า ปล่อยความคิด ความรู้สึกให้เปิดกว้างไกล ใช้สายตาสำรวจไปโดยรอบ มองให้กว้าง รับฟังเสียงต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบกายให้ครบถ้วน สูดกลิ่นรอบ ๆ กายให้ครบทุกอย่าง หายใจด้วยผิวหนังจนมันสัมผัสซึมสิงกลิ่นไอของธรรมชาติและบรรยากาศรอบ ๆ ได้หมด "หลวงปู่" บอกว่าวิธีการข้างต้นนี้จะทำให้ตัวเราพร้อมที่จะเป็น "พุทธะ" ตลอดทั้งวันของวันนั้นได้ ดุจการติดเครื่องยนต์เพื่อเตรียมให้มันใช้งานหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดวันนั้น ท่านยังบอกว่านี่แหละคือ เคล็ดในการดำรงชีวิตของ "มหาบุรุษ" ฐานที่ 1 ของลม 7 ฐาน เราต้องฝึกทุกครั้งที่คิดถึงมันด้วยการหายใจแบบโกลัมปะ แต่ฐานอื่น ๆ อย่างน้อยอีก 4 ฐานของลม 7 ฐาน ควรฝึกทุกเช้าในเวลาเช้าตรู่ ตามเคล็ดข้างต้น
(2) "เมื่อเรายืนสัมผัสต่อกลิ่นไอเรียบร้อยแล้ว เธอจงยกแข้งยกขาแบบชนิดที่มีจิตใจกำกับควบคุมในการยก ควบคุมพลังที่หมุนเวียนไปตามกระบวนการของการเคลื่อนไหวแขนขาที่สบาย ๆ บางเบา สดชื่นโปร่งโล่ง พร้อมกับการสูดลมหายใจอย่างยาว นิ่มนวลแล้วก็หนักแน่น แล้วจึงพ่นลมออกมายาว ๆ อย่างอ่อนโยน แผ่วเบาเป็นรสชาติ กลิ่นไอแห่งธรรมชาติที่เราได้ดื่มด่ำ ลิ้มรสมันอย่างที่บางคนอาจจะคิดว่า เราไม่เคยได้รับสัมผัสกลิ่นไอแบบนี้มาก่อน แล้วเราก็จะเกิดประสบการณ์ทางจิตวิญญาณของเราที่มีลักษณะเฉพาะตนซึ่งแต่ละคนไม่เหมือนกัน………."
ขยายความ……….หลวงปู่บอกว่า หลักจากที่ยืนสัมผัสกลิ่นไอเสร็จแล้ว ให้ขับเคลื่อนลมปราณพร้อมกับเคลื่อนไหวร่างกายอย่างผ่อนคลาย เบาสบาย สดชื่นโปร่งโล่งขณะเดียวกันก็ให้ฝึกฐานที่ 1 ของลม 7 ฐาน หรือหายใจแบบโกลัมปะ ถ้าเป็นฆราวาสอย่างตัวผม ผมคงให้การร่ายรำมวยไท้เก๊กของผมบรรลุเคล็ดวิชาในข้อนี้ของหลวงปู่ หากผู้ใดหัดหทะโยคะมาก็น่าจะใช้ท่า "สุริยนมัสการ" บรรลุเคล็ดวิชาในข้อนี้ได้เหมือนกัน หลวงปู่ยังบอกอีกว่า หากได้ทำเช่นนี้แล้วผู้นั้นจะเกิด "ประสบการณ์ ทางจิตวิญญาณ" ที่มีลักษณะเฉพาะตนของคนผู้นั้นด้วย
(3) "มันเป็นประสบการณ์ของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จงสูดลมหายใจเข้าลึก ๆ ยาว ๆ ให้เต็มปอด แล้วผ่อนลมออกมาอย่างแผ่วเบา ยาว ๆ นิ่มนวลสักหลาย ๆ ครั้งเท่าที่เราสามารถทำได้ ลองสำเนียกดูซิว่าตัวเองมีอารมณ์อะไรลึก ๆ ตรงนี้บ้าง ถ้ายังมีคนอื่นไม่ว่าจะเป็นลูก เมีย ผัว บ้าน ญาติ พ่อ แม่ เพื่อน อยู่ในหัวใจรวมทั้งการงานให้โยนมันทิ้งไป เหลือไว้แต่ตัวเราล้วน ๆ ผู้มีอารมณ์อันสดใส แช่มชื่น เบิกบาน แล้วเราจะรู้ว่า กลิ่นอายของธรรมชาติช่างเป็นการเสริมสร้างชีวิตวิญญาณของเราให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่นได้อย่างเยี่ยมยอด บรรยากาศของธรรมชาติช่างเป็นความเร่งเร้าไฟในร่างกายของเราให้ลุกกระพือ เพื่ออยากจะได้ทำกิจกรรมยามเช้าอันสดชื่นต่อไปอย่างชนิดไม่คิดเหนื่อย เมื่อย เบื่อ เซ็ง…………"
ขยายความ………."หลวงปู่" บอกว่า เราต้องสลัดอารมณ์ในเชิงลบทั้งหลายทั้งปวงทิ้งให้หมด ให้ในตัวเราเหลือแต่อารมณ์อันสดใส แช่มชื่น เบิกบานเท่านั้น นอกจากนี้ท่านยังบอกให้เราในขณะนั้นจงสลัดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ทั้งหลายให้หมดไปจากใจ ให้ "เหลือแต่เราล้วน ๆ" นี่คือความหมายที่แท้จริงของ "เอกบุรุษ" หรือ "เอกสตรี" ที่แปลว่า "ผู้มาคนเดียว" หรือ "ผู้อยู่คนเดียว" บนทางสายเอกหากเราทำได้เช่นนี้แล้ว "หลวงปู่" ยืนยันว่า เราจะเข้าถึงประสบการณ์ของ "พุทธะ" ได้ ท่านยังบอกเราอีกว่า พลังของธรรมชาติหรือจักรวาล (พลังจักรวาล) หรือ "กลิ่นไอของธรรมชาติ" หรือ "ปราณ" คือแหล่งพลังงานที่ไม่มีวันหมดสิ้นที่จะมาช่วยเสริมสร้างชีวิตและจิตวิญญาณของเราได้อย่างเยี่ยมยอดที่สุด
(4) "รูปลักษณ์แห่งธรรมชาติที่ดวงตาเราได้เก็บข้อมูลรอบ ๆ ไว้ ช่างเป็นกระบวนการที่ปลุกเราให้เป็นผู้ที่มีวิญญาณอันแจ่มใสและเบิกบานอย่างยิ่งใหญ่ บรรยากาศที่กระทบและแตะต้องผิวหนังทั้งหลายในกายเรา ช่างเป็นบรรยากาศที่เติมแต้มกลิ่นอาย สี เสียง แสงให้กับชีวิตเราอย่างเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานและแจ่มใส ช่างเป็นชีวิตวิญญาณที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขสมบูรณ์แห่งอารมณ์ สันติ เยือกเย็น แล้วก็สงบ ถ้าเราไม่ได้รสชาติเหล่านี้ก็เท่ากับว่าเราใช้ธรรมชาติจักรวาล และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งชีวิตอย่างไม่เป็นสาระ ถือว่าเราได้ครึ่งเดียวหรือไม่ถึงครึ่งด้วยซ้ำ จำไว้นะลูกจงอย่างพยายามก้มหน้าเมื่อตื่นขึ้นมายามเช้าคนที่ก้มหน้าตอนเช้าเขาถือว่า เป็นพวกโดนธรณีสาป คือเป็นพวกที่ค่อนข้างจะไม่เอาถ่าน ไม่เอาโลก ไม่เอาเรื่อง แล้วก็มีความคิดสั้น ๆ ต่ำ ๆ สมองปัญญาไม่แจ่มใสเป็นคนเจ้าทุกข์ อมโรค มีจิตใจที่ค่อนข้างจะหวาดระแวง วิตกกังวล หวาดผวา สะดุ้งกลัว พวกที่นั่งก้มหน้า เดินก้มหน้า ยืนก้มหน้า จึงเป็นกระบวนการของการสาปแช่งตัวเอง………."
ขยายความ…คนส่วนใหญ่ยังใช้พลังของธรรมชาติ ของจักรวาล ของสิ่งแวดล้อมไม่เป็น ช่างเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเหลือเกิน
(5) "เราดูลูกนกซิลูก ตื่นเช้ามาปุ๊ป สิ่งที่มันทำก่อนเบื้องต้น คือ มองไปในทิศเบื้องบนแล้วมองดูในทิศท่ามกลาง สายตามองตรงไปข้างหน้า แล้วเก็บสิ่งแวดล้อมของธรรมชาติ ดื่มด่ำกับกลิ่นอายของมันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ตอนนี้ถ้าจะเปรียบร่างกายเราก็จะเหมือนกับตุ่มว่าง ๆ ที่ยังไม่มีอะไรอยู่ในตุ่มนั้น แล้วก็เปิดกว้างให้มันรับกลิ่นอายของอากาศ และอะไร ๆ ในความสดชื่นแจ่มใส ใส่เข้าไปใสชีวิตวิญญาณ เติมแต้มพลังของเราให้มากมวลไปด้วยสภาวะของความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน คิดทำการงานหน้าที่ต่อไปอย่างกระฉับกระเฉงเต็มเม็ดเต็มหน่วย รวดเร็ว เร่งรีบ รวบรัด แล้วให้ทุกอย่างมันเรียบร้อยด้วยการใช้พลังให้เป็นถูกต้องตรงบริสุทธิ์ต่อชีวิตวิญญาณที่เราได้รับประโยชน์…….."
ขยายความ…..คำสอนตรงนี้ของหลวงปู่คล้ายกับคำสอนของเล่าจื่อในคัมภีร์ "เต๋าเตอจิง" บทที่ 5 ที่กล่าวว่า "ช่องว่างระหว่างฟ้าดิน คงเหมือนกับเครื่องเป่าลมใส่เตาไฟกระมัง? แม้ข้างในจะดูเหมือนว่างเปล่า แต่แฝงไว้ซึ่งพลังที่ไม่รู้จบสิ้น" อันเป็นเคล็ดวิชากำลังภายในที่เป็นที่มาของ "พลังที่ไม่รู้จบสิ้น"
(6) "เดี๋ยวหลวงปู่จะสอนลม 7 ฐานให้เรานิดหนึ่ง ดูว่าเราจะเรียนรู้ได้แค่ไหน ผู้ชายนั่งขัดสมาธิ ยืดอกขึ้นไม่ใช่ยืดคอ สำรวจตรวจดูสันหลังของเราว่า กระดูกข้อต่อของเรานั้นมันตรงทุกข้อ ขบกับหรือเปล่า ค่อย ๆ หลับตาด้วยความนิ่มนวลและเต็มเปี่ยมไปด้วยความรู้เนื้อรู้ตัว…..ลองดูซิ……ใช้ความรู้สึกสำรวจดูตั้งแต่ข้อต่อ ต้นคอ ยันกระดูกสันหลังทุกท่อนว่ามันขบกันไหม ? มันเบี้ยวมันตั้งตรงมั้ย ขยับตัวให้ได้ตรงๆ นะลูก ถ้ามันไม่เข้าที่ก็ขยับให้เข้าที่นะ"
(7) "หลวงปู่ได้เขียนไว้ในคัมภีร์ 12 ราศีว่า จุดกำเนิดพลังในกายคือ การทำท่อส่งพลังให้ตรง โครงสร้างกระดูกในร่างกายเรา คือ ท่อส่งพลัง แต่ถ้ามันขบ มันเบี้ยวก็เหมือนกับสายยางที่หักงอน้ำก็จะไหลช้า เพราะฉะนั้นจงทำท่อส่งพลังให้ตรง อย่าเงยหน้า อย่าคว่ำหน้า อย่าเงยคอ หรือแหงนคอ สายตาทอดลงต่ำแล้วก็หลับตา…..เมื่อจัดระเบียบของกายให้เข้าที่เข้าทางแล้ว สูดลมหายใจเข้าลึก ๆ ยาว ๆ แผ่วเบา นิ่มนวลให้เต็มปอด เมื่อรู้สึกตัวว่ามันเต็มแล้ว ก็ผ่อนลมออกมาอย่างแผ่วเบา ยาว ๆ ช้า ๆ คราใดที่เราผ่อนลมหายใจออก มันเป็นการผ่อนความร้อน ความเครียด ความเบื่อ ความเมื่อย ความเซ็งทุกอย่างออกมากับลม จงคิดอย่างนั้นแล้วสูดลมเข้าไปใหม่ เมื่อผ่อนลมออกมาหมดแล้ว จงเอากลิ่นอายแห่งพลังเข้าไปปรุงแต่งชีวิตวิญญาณ และเซลล์ประสาทของเราให้สดชื่นแจ่มใสอย่างเนิบนาบ ช้าๆ เต็มเปี่ยมไปด้วยความหนักแน่น แล้วผ่อนคลายลมออก…….."
(8) "ทำอย่างนี้โดยไม่ให้มีอะไรเข้ามาอยู่ในกาย ไม่ว่าจะเป็นญาติ งาน อารมณ์อื่น ความเครียด ความง่วง ความสับสนวุ่นวาย ระแวงสงสัยต้องไม่มี ให้มีแต่ลมหายใจกับการขับไล่ของเสียในกายเท่านั้น จงสูดลมหายใจอย่างแผ่วเบา ยาวเชื่องช้า แต่หนักหน่วง เต็มเปี่ยม แล้วก็ผ่อนคลายพ่นออกมาด้วยความเนิบนาบนิ่มนวล หมดจด หากมีความรู้สึกว่า เรามีจุดใดในร่างกายบ้างที่เราเครียด เราเหนื่อย เราเมื่อย เราเพลีย ก็ทำความรู้สึกให้ลมมันเดินไปสู่จุดนั้น ๆ แล้วขับไล่มันออกมาพร้อมกับลมหายใจออก เวลาสูดลมหายใจเข้ามีเทคนิคอยู่นิดหนึ่งว่า ถ้าเรารู้สึกเหนื่อยให้พักสักนิดด้วยการหายใจธรรมดา เมื่อหายเหนื่อยแล้ว ก็เริ่มหายใจยาว ๆ เบา ๆ เชื่องช้าเข้าไปใหม่ ไม่ใช่หายใจแบบปั๊มลม หรือหมาหอบ เป็นการปล่อยลมออกแบบนุ่มนวลเนิบนาบ เชื่องช้าหนักแน่น และหมดจด…..ลองทำแบบนี้สักพักหนึ่งนะ ใครที่สามารถขับไล่อะไรออกไปจากกายได้ถือว่าใช้ได้………"
(9) "อย่าให้ท่อส่งพลังของเรางอนะลูก ยืดอกขึ้น ถ้าเรานั่งงอกระดูก มันจะเป็นผลเสียต่อความคิดต่อสมอง สมองของเราจะไม่โลดแล่น ปัญญาเราจะไม่เปิดกว้างจิตใจเราจะไม่กล้าแข็ง พลังมันจะเข้าไปสู่ร่างกายได้ไม่สมบูรณ์ สุดท้ายก็กลายเป็นคนเกียจคร้านไม่เอาโลก ไม่เอาเรื่อง โครงสร้างของกระดูกนี่เป็นส่วนสำคัญของร่างกายนะลูก หากชักกระดูกออกก็เหลือแต่เนื้อกับหนังกองอยู่เหมือนหมูก้อนหนึ่งเท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ฝึกบริหารกระดูกก็เท่ากับว่าร่างกายขาดชีวิตที่มีพลังไป……"
(10) "เอาใหม่ เริ่มต้น ตั้งลมหายใจให้มันสบาย ๆ แบบแผ่วเบาแล้วไม่มีอะไรอยู่ในหัวใจ ใครที่ง่วงอยู่ต้องทำลายความง่วงให้ได้ เอาชนะให้ได้แบบผู้เข้มแข็งและเป็นผู้ตื่น เริ่มต้นใหม่ ยืดอกขึ้นให้เต็มที่ สายตาทอดลงต่ำ อย่าเงยหน้าหลับตาแบบนิ่มนวล และแผ่วเบาแบบสนิท เสร็จเรียบร้อยแล้วสำรวจโครงสร้างของร่างกายให้ตรงในส่วนบนตั้งแต่กระดูกสันหลังยันลำคอให้เป็นแนวดิ่ง และตั้งฉากกับกระดูกขาและหน้าตัก ทอดแขนลงแบบเบา ๆ สบาย ๆ ไม่ต้องเกร็งหัวไหล่ ไม่ใช่ห่อหรือไม่เกร็งให้มันตั้ง แต่ปล่อยแบบสบาย ๆ ไม่มีอะไรในร่างกายเราที่เป็นความหนัก ต้องเป็นภาระ แม้แต่ลูกตาก็หลับแบบพักผ่อนสนิท หูไม่ต้องรับสัมผัสอะไร นอกจากเสียงที่ได้ยินได้ฟังแล้วได้ประโยชน์ เวลานี้จมูกไม่ต้องแสวงหา กลิ่นอะไร ๆ นอกจากลมหายใจที่เข้าแบบเนิบนาบ นิ่มนวล เชื่องช้า และยาวสนิทเต็มที่…….."
(11) "สูดลมหายใจเข้าให้เต็มปอด เต็มหน้าอก แล้วพ่นลมออกมายาว ๆ แผ่วเบา ช้า ๆ แล้วก็สูดเข้าไปใหม่ แบบชนิดเริ่มชีวิต สดชื่น แจ่มใส ให้เต็มที่เต็มปอดเต็มหน้าตา แล้วก็รวบรวมความเลวร้ายขัดข้องทั้งหลายที่มีอยู่ รวมทั้งปัญหากองอยู่กับลมที่จะพ่นออก แล้วก็ผลักดันมันออกมาพร้อมกับลมหายใจออกความขัดข้องปัญหาทั้งหลายทั้งปวง รวมไว้เป็นกองในกายส่วนปลายจมูกหรือที่หน้าอก เมื่อสูดเข้าไปให้ลมมันเข้าไปอยู่ในช่องท้องและปอดให้เต็มที่ แล้วก็ขับมันออกมาด้วยความเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง เชื่องช้า นิ่มนวล เนิบนาบ แล้วหมดจด แผ่วเบา ยาวสนิท ถ้าทำได้วิธีนี้ก็จะเหมือนกับการเดินลมปราณในหนังจีนกำลังภายใน เป็นสุดยอดวิชากำลังภายในของไท้เก๊ก คนที่ฝึกกำลังภายในไท้เก๊กจะต้องฝึกการเดินลมอย่างนี้เป็นขั้นที่ 1 ยาว แผ่วเบา เชื่องช้า เนิบนาบ หนักแน่น และหมดจด นี่คือ เคล็ดของการเดินลมปราณ…….."
ขยายความ…..ตรงนี้ "หลวงปู่" พูดเอาไว้อย่างชัดเจนว่า วิธีหายใจของวิชาลม 7 ฐาน เหมือนกับสุดยอดวิชาลมปราณของไท้เก๊ก ซึ่งไม่ใช่เรื่องบังเอิญอย่างแน่นอน !
(12) "คนที่ทำได้จะมีดวงตาอันแจ่มใส สมองปลอดโปร่ง จะมีชีวิตใหม่ในแต่ละวันที่สดชื่น มีชีวิตชีวา สุขสมบูรณ์ แถมยังมีพลังชีวิตที่เหลือเฟือที่จะใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง มีสมองและความคิดอันก้าวไกล ลิ้นรับรสได้อย่างสมบูรณ์และเต็มเปี่ยม หูฟังเสียงได้อย่างหมดจดและไกลกว่าใครอื่น จมูกได้กลิ่นมากกว่าคนอื่นได้ กายของตนก็จะตื่น ทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบเลือดลมในกายก็จะขับถ่ายของเสียได้อย่างปกติ…….อย่าลืมว่า วิชานี้เราไม่ได้ฝึกกายแต่เรากำลังฝึกลมในกาย ผู้หญิงก็นั่งขัดสมาธิได้ลูก ไม่จำเป็นต้องนั่งพับเพียบลูก แต่นั่งให้ดีก็แล้วกัน…….."
(13) "สรุปอีกทีนะว่า เวลาหายใจต้องมั่นใจว่า การสูดลมเข้าของตนทำให้ปอดของตัวเองขยายใหญ่ให้มากที่สุด แล้วเวลาพ่นลมออก ปอดและถุงลมจะแฟบได้มากที่สุด เท่านั้นแหละลูก นี่แหละคือเคล็ดวิธี แต่จะต้องเป็นการกระทำที่นิ่มนวล เนิบนาบ ยืนยาว หนักแน่น หมดจด จงอย่าลืมว่าต้องไม่มีอารมณ์อะไร นอกจากลมหายใจนะลูก หากเริ่มมีกระบวนการคลื่นแห่งความคิดเข้ามาอีก และเป็นกระบวนการความคิดที่ทำลายสันติและพลังของเรา ถ้าขืนปล่อยให้ตัวเองเล่นกับ "ความคิด" ต่อไป ชีวิตไม่มีวันได้ดีหรอกลูก จงอย่าทำตนเป็นคนส้องเสพความคิด ความคิดที่ฟุ้งซ่านเป็นมารที่กำจัดความสำเร็จและความสมบูรณ์ของชีวิต ใครบ้างที่เล่นกับความคิดจงรู้ตัวไว้นะ คนเรานี่มีกลิ่นอายของมารและเทพอยู่ในตัว มันเป็นกลิ่นอายที่แสดงออกเป็นแสงและสีที่ไม่เหมือนกัน เหมือนกับเรามีประจุไฟฟ้าอยู่รอบ ๆ ในร่างกายเรา แล้วก็ฉายแววออกมาทางผิวหนัง คนที่มีคลื่นและพลังที่สามารถรับสัมผัสประจุไฟฟ้าเหล่านั้นได้ เขาจะบอกเราได้ว่า เรากำลังคิดอะไร…………"
(14) "เพราะฉะนั้นเราจะรู้ตัวของเราว่า เรามีความสุขสมบูรณ์ไหม กับการที่เราเริ่มเดินลมและเราได้อะไรจากมัน ไม่มีใครในโลกรักตัวเราเท่ากับตัวเราเอง ตัวเราต้องแสวงหาดิ้นรนขวนขวายสิ่งที่เป็นประโยชน์เพื่อที่จะปิดประตูแห่งอบายภูมิให้ได้วิธีจะปิดประตูอบายภูมิ พวกเราต้องเปิดประตูวิญญาณของตนให้ได้ก่อน สิ่งที่หลวงปู่สอนพวกเราเมื่อครู่นี้แหละ คือกุญแจสำคัญที่จะไขประตูวิญญาณของเรา…… การฝึกลมอย่างนี้แหละ คือการเตรียมตัวเดินทางไกลได้ไกลที่สุด เพราะไม่มีอะไร ๆ นอกจากลมหายใจและความว่าง ๆ สบาย ๆ มันจะไกลจนถึงนิพพานทีเดียวแหละ ต้องการเลือกสวรรค์ยังได้เลย…….หลวงปู่กำลังสอนสุดยอดวิชาพระพุทธศาสนา คือวิชาลม 7 ฐานให้แก่พวกเรา จำได้แล้วอย่าลืมกลับไปฝึกให้ได้ทุกเช้านะ………….."
(4) "รูปลักษณ์แห่งธรรมชาติที่ดวงตาเราได้เก็บข้อมูลรอบ ๆ ไว้ ช่างเป็นกระบวนการที่ปลุกเราให้เป็นผู้ที่มีวิญญาณอันแจ่มใสและเบิกบานอย่างยิ่งใหญ่ บรรยากาศที่กระทบและแตะต้องผิวหนังทั้งหลายในกายเรา ช่างเป็นบรรยากาศที่เติมแต้มกลิ่นอาย สี เสียง แสงให้กับชีวิตเราอย่างเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานและแจ่มใส ช่างเป็นชีวิตวิญญาณที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขสมบูรณ์แห่งอารมณ์ สันติ เยือกเย็น แล้วก็สงบ ถ้าเราไม่ได้รสชาติเหล่านี้ก็เท่ากับว่าเราใช้ธรรมชาติจักรวาล และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งชีวิตอย่างไม่เป็นสาระ ถือว่าเราได้ครึ่งเดียวหรือไม่ถึงครึ่งด้วยซ้ำ จำไว้นะลูกจงอย่างพยายามก้มหน้าเมื่อตื่นขึ้นมายามเช้าคนที่ก้มหน้าตอนเช้าเขาถือว่า เป็นพวกโดนธรณีสาป คือเป็นพวกที่ค่อนข้างจะไม่เอาถ่าน ไม่เอาโลก ไม่เอาเรื่อง แล้วก็มีความคิดสั้น ๆ ต่ำ ๆ สมองปัญญาไม่แจ่มใสเป็นคนเจ้าทุกข์ อมโรค มีจิตใจที่ค่อนข้างจะหวาดระแวง วิตกกังวล หวาดผวา สะดุ้งกลัว พวกที่นั่งก้มหน้า เดินก้มหน้า ยืนก้มหน้า จึงเป็นกระบวนการของการสาปแช่งตัวเอง………."
ขยายความ…คนส่วนใหญ่ยังใช้พลังของธรรมชาติ ของจักรวาล ของสิ่งแวดล้อมไม่เป็น ช่างเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเหลือเกิน
(5) "เราดูลูกนกซิลูก ตื่นเช้ามาปุ๊ป สิ่งที่มันทำก่อนเบื้องต้น คือ มองไปในทิศเบื้องบนแล้วมองดูในทิศท่ามกลาง สายตามองตรงไปข้างหน้า แล้วเก็บสิ่งแวดล้อมของธรรมชาติ ดื่มด่ำกับกลิ่นอายของมันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ตอนนี้ถ้าจะเปรียบร่างกายเราก็จะเหมือนกับตุ่มว่าง ๆ ที่ยังไม่มีอะไรอยู่ในตุ่มนั้น แล้วก็เปิดกว้างให้มันรับกลิ่นอายของอากาศ และอะไร ๆ ในความสดชื่นแจ่มใส ใส่เข้าไปใสชีวิตวิญญาณ เติมแต้มพลังของเราให้มากมวลไปด้วยสภาวะของความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน คิดทำการงานหน้าที่ต่อไปอย่างกระฉับกระเฉงเต็มเม็ดเต็มหน่วย รวดเร็ว เร่งรีบ รวบรัด แล้วให้ทุกอย่างมันเรียบร้อยด้วยการใช้พลังให้เป็นถูกต้องตรงบริสุทธิ์ต่อชีวิตวิญญาณที่เราได้รับประโยชน์…….."
ขยายความ…..คำสอนตรงนี้ของหลวงปู่คล้ายกับคำสอนของเล่าจื่อในคัมภีร์ "เต๋าเตอจิง" บทที่ 5 ที่กล่าวว่า "ช่องว่างระหว่างฟ้าดิน คงเหมือนกับเครื่องเป่าลมใส่เตาไฟกระมัง? แม้ข้างในจะดูเหมือนว่างเปล่า แต่แฝงไว้ซึ่งพลังที่ไม่รู้จบสิ้น" อันเป็นเคล็ดวิชากำลังภายในที่เป็นที่มาของ "พลังที่ไม่รู้จบสิ้น"
(6) "เดี๋ยวหลวงปู่จะสอนลม 7 ฐานให้เรานิดหนึ่ง ดูว่าเราจะเรียนรู้ได้แค่ไหน ผู้ชายนั่งขัดสมาธิ ยืดอกขึ้นไม่ใช่ยืดคอ สำรวจตรวจดูสันหลังของเราว่า กระดูกข้อต่อของเรานั้นมันตรงทุกข้อ ขบกับหรือเปล่า ค่อย ๆ หลับตาด้วยความนิ่มนวลและเต็มเปี่ยมไปด้วยความรู้เนื้อรู้ตัว…..ลองดูซิ……ใช้ความรู้สึกสำรวจดูตั้งแต่ข้อต่อ ต้นคอ ยันกระดูกสันหลังทุกท่อนว่ามันขบกันไหม ? มันเบี้ยวมันตั้งตรงมั้ย ขยับตัวให้ได้ตรงๆ นะลูก ถ้ามันไม่เข้าที่ก็ขยับให้เข้าที่นะ"
(7) "หลวงปู่ได้เขียนไว้ในคัมภีร์ 12 ราศีว่า จุดกำเนิดพลังในกายคือ การทำท่อส่งพลังให้ตรง โครงสร้างกระดูกในร่างกายเรา คือ ท่อส่งพลัง แต่ถ้ามันขบ มันเบี้ยวก็เหมือนกับสายยางที่หักงอน้ำก็จะไหลช้า เพราะฉะนั้นจงทำท่อส่งพลังให้ตรง อย่าเงยหน้า อย่าคว่ำหน้า อย่าเงยคอ หรือแหงนคอ สายตาทอดลงต่ำแล้วก็หลับตา…..เมื่อจัดระเบียบของกายให้เข้าที่เข้าทางแล้ว สูดลมหายใจเข้าลึก ๆ ยาว ๆ แผ่วเบา นิ่มนวลให้เต็มปอด เมื่อรู้สึกตัวว่ามันเต็มแล้ว ก็ผ่อนลมออกมาอย่างแผ่วเบา ยาว ๆ ช้า ๆ คราใดที่เราผ่อนลมหายใจออก มันเป็นการผ่อนความร้อน ความเครียด ความเบื่อ ความเมื่อย ความเซ็งทุกอย่างออกมากับลม จงคิดอย่างนั้นแล้วสูดลมเข้าไปใหม่ เมื่อผ่อนลมออกมาหมดแล้ว จงเอากลิ่นอายแห่งพลังเข้าไปปรุงแต่งชีวิตวิญญาณ และเซลล์ประสาทของเราให้สดชื่นแจ่มใสอย่างเนิบนาบ ช้าๆ เต็มเปี่ยมไปด้วยความหนักแน่น แล้วผ่อนคลายลมออก…….."
(8) "ทำอย่างนี้โดยไม่ให้มีอะไรเข้ามาอยู่ในกาย ไม่ว่าจะเป็นญาติ งาน อารมณ์อื่น ความเครียด ความง่วง ความสับสนวุ่นวาย ระแวงสงสัยต้องไม่มี ให้มีแต่ลมหายใจกับการขับไล่ของเสียในกายเท่านั้น จงสูดลมหายใจอย่างแผ่วเบา ยาวเชื่องช้า แต่หนักหน่วง เต็มเปี่ยม แล้วก็ผ่อนคลายพ่นออกมาด้วยความเนิบนาบนิ่มนวล หมดจด หากมีความรู้สึกว่า เรามีจุดใดในร่างกายบ้างที่เราเครียด เราเหนื่อย เราเมื่อย เราเพลีย ก็ทำความรู้สึกให้ลมมันเดินไปสู่จุดนั้น ๆ แล้วขับไล่มันออกมาพร้อมกับลมหายใจออก เวลาสูดลมหายใจเข้ามีเทคนิคอยู่นิดหนึ่งว่า ถ้าเรารู้สึกเหนื่อยให้พักสักนิดด้วยการหายใจธรรมดา เมื่อหายเหนื่อยแล้ว ก็เริ่มหายใจยาว ๆ เบา ๆ เชื่องช้าเข้าไปใหม่ ไม่ใช่หายใจแบบปั๊มลม หรือหมาหอบ เป็นการปล่อยลมออกแบบนุ่มนวลเนิบนาบ เชื่องช้าหนักแน่น และหมดจด…..ลองทำแบบนี้สักพักหนึ่งนะ ใครที่สามารถขับไล่อะไรออกไปจากกายได้ถือว่าใช้ได้………"
(9) "อย่าให้ท่อส่งพลังของเรางอนะลูก ยืดอกขึ้น ถ้าเรานั่งงอกระดูก มันจะเป็นผลเสียต่อความคิดต่อสมอง สมองของเราจะไม่โลดแล่น ปัญญาเราจะไม่เปิดกว้างจิตใจเราจะไม่กล้าแข็ง พลังมันจะเข้าไปสู่ร่างกายได้ไม่สมบูรณ์ สุดท้ายก็กลายเป็นคนเกียจคร้านไม่เอาโลก ไม่เอาเรื่อง โครงสร้างของกระดูกนี่เป็นส่วนสำคัญของร่างกายนะลูก หากชักกระดูกออกก็เหลือแต่เนื้อกับหนังกองอยู่เหมือนหมูก้อนหนึ่งเท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ฝึกบริหารกระดูกก็เท่ากับว่าร่างกายขาดชีวิตที่มีพลังไป……"
(10) "เอาใหม่ เริ่มต้น ตั้งลมหายใจให้มันสบาย ๆ แบบแผ่วเบาแล้วไม่มีอะไรอยู่ในหัวใจ ใครที่ง่วงอยู่ต้องทำลายความง่วงให้ได้ เอาชนะให้ได้แบบผู้เข้มแข็งและเป็นผู้ตื่น เริ่มต้นใหม่ ยืดอกขึ้นให้เต็มที่ สายตาทอดลงต่ำ อย่าเงยหน้าหลับตาแบบนิ่มนวล และแผ่วเบาแบบสนิท เสร็จเรียบร้อยแล้วสำรวจโครงสร้างของร่างกายให้ตรงในส่วนบนตั้งแต่กระดูกสันหลังยันลำคอให้เป็นแนวดิ่ง และตั้งฉากกับกระดูกขาและหน้าตัก ทอดแขนลงแบบเบา ๆ สบาย ๆ ไม่ต้องเกร็งหัวไหล่ ไม่ใช่ห่อหรือไม่เกร็งให้มันตั้ง แต่ปล่อยแบบสบาย ๆ ไม่มีอะไรในร่างกายเราที่เป็นความหนัก ต้องเป็นภาระ แม้แต่ลูกตาก็หลับแบบพักผ่อนสนิท หูไม่ต้องรับสัมผัสอะไร นอกจากเสียงที่ได้ยินได้ฟังแล้วได้ประโยชน์ เวลานี้จมูกไม่ต้องแสวงหา กลิ่นอะไร ๆ นอกจากลมหายใจที่เข้าแบบเนิบนาบ นิ่มนวล เชื่องช้า และยาวสนิทเต็มที่…….."
(11) "สูดลมหายใจเข้าให้เต็มปอด เต็มหน้าอก แล้วพ่นลมออกมายาว ๆ แผ่วเบา ช้า ๆ แล้วก็สูดเข้าไปใหม่ แบบชนิดเริ่มชีวิต สดชื่น แจ่มใส ให้เต็มที่เต็มปอดเต็มหน้าตา แล้วก็รวบรวมความเลวร้ายขัดข้องทั้งหลายที่มีอยู่ รวมทั้งปัญหากองอยู่กับลมที่จะพ่นออก แล้วก็ผลักดันมันออกมาพร้อมกับลมหายใจออกความขัดข้องปัญหาทั้งหลายทั้งปวง รวมไว้เป็นกองในกายส่วนปลายจมูกหรือที่หน้าอก เมื่อสูดเข้าไปให้ลมมันเข้าไปอยู่ในช่องท้องและปอดให้เต็มที่ แล้วก็ขับมันออกมาด้วยความเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง เชื่องช้า นิ่มนวล เนิบนาบ แล้วหมดจด แผ่วเบา ยาวสนิท ถ้าทำได้วิธีนี้ก็จะเหมือนกับการเดินลมปราณในหนังจีนกำลังภายใน เป็นสุดยอดวิชากำลังภายในของไท้เก๊ก คนที่ฝึกกำลังภายในไท้เก๊กจะต้องฝึกการเดินลมอย่างนี้เป็นขั้นที่ 1 ยาว แผ่วเบา เชื่องช้า เนิบนาบ หนักแน่น และหมดจด นี่คือ เคล็ดของการเดินลมปราณ…….."
ขยายความ…..ตรงนี้ "หลวงปู่" พูดเอาไว้อย่างชัดเจนว่า วิธีหายใจของวิชาลม 7 ฐาน เหมือนกับสุดยอดวิชาลมปราณของไท้เก๊ก ซึ่งไม่ใช่เรื่องบังเอิญอย่างแน่นอน !
(12) "คนที่ทำได้จะมีดวงตาอันแจ่มใส สมองปลอดโปร่ง จะมีชีวิตใหม่ในแต่ละวันที่สดชื่น มีชีวิตชีวา สุขสมบูรณ์ แถมยังมีพลังชีวิตที่เหลือเฟือที่จะใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง มีสมองและความคิดอันก้าวไกล ลิ้นรับรสได้อย่างสมบูรณ์และเต็มเปี่ยม หูฟังเสียงได้อย่างหมดจดและไกลกว่าใครอื่น จมูกได้กลิ่นมากกว่าคนอื่นได้ กายของตนก็จะตื่น ทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบเลือดลมในกายก็จะขับถ่ายของเสียได้อย่างปกติ…….อย่าลืมว่า วิชานี้เราไม่ได้ฝึกกายแต่เรากำลังฝึกลมในกาย ผู้หญิงก็นั่งขัดสมาธิได้ลูก ไม่จำเป็นต้องนั่งพับเพียบลูก แต่นั่งให้ดีก็แล้วกัน…….."
(13) "สรุปอีกทีนะว่า เวลาหายใจต้องมั่นใจว่า การสูดลมเข้าของตนทำให้ปอดของตัวเองขยายใหญ่ให้มากที่สุด แล้วเวลาพ่นลมออก ปอดและถุงลมจะแฟบได้มากที่สุด เท่านั้นแหละลูก นี่แหละคือเคล็ดวิธี แต่จะต้องเป็นการกระทำที่นิ่มนวล เนิบนาบ ยืนยาว หนักแน่น หมดจด จงอย่าลืมว่าต้องไม่มีอารมณ์อะไร นอกจากลมหายใจนะลูก หากเริ่มมีกระบวนการคลื่นแห่งความคิดเข้ามาอีก และเป็นกระบวนการความคิดที่ทำลายสันติและพลังของเรา ถ้าขืนปล่อยให้ตัวเองเล่นกับ "ความคิด" ต่อไป ชีวิตไม่มีวันได้ดีหรอกลูก จงอย่าทำตนเป็นคนส้องเสพความคิด ความคิดที่ฟุ้งซ่านเป็นมารที่กำจัดความสำเร็จและความสมบูรณ์ของชีวิต ใครบ้างที่เล่นกับความคิดจงรู้ตัวไว้นะ คนเรานี่มีกลิ่นอายของมารและเทพอยู่ในตัว มันเป็นกลิ่นอายที่แสดงออกเป็นแสงและสีที่ไม่เหมือนกัน เหมือนกับเรามีประจุไฟฟ้าอยู่รอบ ๆ ในร่างกายเรา แล้วก็ฉายแววออกมาทางผิวหนัง คนที่มีคลื่นและพลังที่สามารถรับสัมผัสประจุไฟฟ้าเหล่านั้นได้ เขาจะบอกเราได้ว่า เรากำลังคิดอะไร…………"
(14) "เพราะฉะนั้นเราจะรู้ตัวของเราว่า เรามีความสุขสมบูรณ์ไหม กับการที่เราเริ่มเดินลมและเราได้อะไรจากมัน ไม่มีใครในโลกรักตัวเราเท่ากับตัวเราเอง ตัวเราต้องแสวงหาดิ้นรนขวนขวายสิ่งที่เป็นประโยชน์เพื่อที่จะปิดประตูแห่งอบายภูมิให้ได้วิธีจะปิดประตูอบายภูมิ พวกเราต้องเปิดประตูวิญญาณของตนให้ได้ก่อน สิ่งที่หลวงปู่สอนพวกเราเมื่อครู่นี้แหละ คือกุญแจสำคัญที่จะไขประตูวิญญาณของเรา…… การฝึกลมอย่างนี้แหละ คือการเตรียมตัวเดินทางไกลได้ไกลที่สุด เพราะไม่มีอะไร ๆ นอกจากลมหายใจและความว่าง ๆ สบาย ๆ มันจะไกลจนถึงนิพพานทีเดียวแหละ ต้องการเลือกสวรรค์ยังได้เลย…….หลวงปู่กำลังสอนสุดยอดวิชาพระพุทธศาสนา คือวิชาลม 7 ฐานให้แก่พวกเรา จำได้แล้วอย่าลืมกลับไปฝึกให้ได้ทุกเช้านะ………….."
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น